วันนี้ (8 ต.ค.2567) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเรื่องทบทวนหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 โดยเปลี่ยนเป็นให้การช่วยเหลือแบบเหมาจ่ายอัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท ภายใต้กรอบวงเงินเดิมตามมติ ครม.17 ก.ย.2567 วงเงิน 3,045 ล้านบาท
- เชียงใหม่น้ำลด เริ่ม Big Cleaning คาดเศรษฐกิจเสียหาย 2 พันล้าน
- ถ่ายทอดสด พิธีพระราชทานเพลิงศพ 23 ครู-นร. เหตุไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันนี้
นอกจากนี้ ศปช.ส่วนหน้าได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน จ.เชียงใหม่ และเชียงรายต่อ ครม.ดังนี้ สั่งการให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่วางกรอบไทม์ไลน์ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งทุกหน่วยงานได้รายงานผล และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงาน
อ่านข่าว ครม.เคาะที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อ "ชัยเกษม" - "ฉัตรชัย" เลขาฯ สมช.
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ส่วนในอ.เมือง และอ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ปางช้าง ที่มีช้างเสียชีวิต กำลังพลทหารได้เคลื่อนย้ายช้างที่เสียชีวิต 2 เชือกออกจากพื้นที่แล้ว รวมถึงเคลื่อนย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งมีเตรียมอาหารสัตว์ และเครื่องนุ่งห่มอย่างเพียงพอ
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ข้อกังวลที่น้ำจากเชียงใหม่จะไหลไปท่วมที่ จ.ลำปาง ได้รับการรายงานว่า ปัจจุบันระดับน้ำที่จ.เชียงใหม่ และเชียงรายระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่งแล้ว และลำปางยังสามารถรับน้ำ น้ำจากเชียงใหม่ ยังสามารถระบายต่อไปยังที่เขื่อนภูมิพล และแม่น้ำโขงได้ ตลอดจนที่ลำปาง ได้มีการจัดเตรียมกำลังพล และความช่วยเหลือต่างๆ ไปล่วงหน้าแล้ว
น้ำท่วมบ้านในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
เช่นเดียวกับในส่วนของ กทม. แม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถรองรับน้ำได้ และได้สั่งการให้สทนช. วางแผนจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ รวมถึงพื้นที่ท้ายเขื่อน เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำที่มากเกินไป
ทั้งนี้ ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือทั้งในด้านของอุปกรณ์ อาหาร และพาหนะต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือพี่น้อง โดยจะมีการนัดประชุมคณะกรรมการ คอส. เพื่อติดตามความคืบหน้า ตลอดจนวางแผนในการป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคตทั้งระบบ โดยที่รวมถึงระยะเร่งด่วน และในระยะยาว
สำหรับตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่ได้รับการอนุมัติทบทวนครั้งนี้ จะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งกรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่งไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 7 วัน ให้ได้รับเงินช่วยเหลืออัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท
ส่วนผู้ประสบภัยได้รับเงินช่วยเหลือตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ครบ 9,000 บาทต่อไป
สภาพน้ำพัดบ้านของชาวบ้านในพื้นที่อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
เช็กเกณฑ์เยียวยาน้ำท่วม
ด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ข้อมูล ณ วันที่ 3 ต.ค.นี้ พบว่า มีประชาชนยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือฯ แล้ว ในพื้นที่ 50 จังหวัด รวม 67,296 ครัวเรือน จากพื้นที่อุทกภัยในฤดูฝนปี 2567 ทั้งหมด 57 จังหวัด
โดยมีบางส่วนที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ส่งบัญชีรายชื่อครัวเรือนที่ขอรับความช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินและได้โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่เชียงราย และเชียงใหม่จำนวน 6,363 ครัวเรือน เป็นเงิน 31.8 ล้านบาท กลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับโอนเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ซึ่งจะต้องโอนเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ครบ 9,000 บาทต่อไป
สำหรับขอบเขตพื้นที่ให้การช่วยเหลือนั้นยังคงเดิมคือ จังหวัดที่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบพื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด ได้แก่ จ.กระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นนทบุรี นครนายก นครปฐม นครพนม นครสวรรค์ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยธยา พังงา พะเยา พิจิตรพิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร
แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ราชบุรี ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุทัยธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน
น้ำท่วมบ้านในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
สำหรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เดิม ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา มี 3 อัตรา ได้แก่ 1.กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกนำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท และกรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกับกันกว่า 60 ขึ้นไป ให้ความต่วมช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท
อ่านข่าว ดรามา! ปมช้างจมน้ำตาย-ช้างเลี้ยงคน-คนเลี้ยงช้าง
น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงมติครม.เยียวยา 9,000 บาท โดยไม่มีหลักเกณฑ์ว่า สามารถจ่ายได้เลยทันที เพราะมีการอนุมัติแล้ว
มท.4 ยันเยียวยา 9,000 จ่ายได้เลยทันที
น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีอนุมัติเงินเยียวยา 9,000 บาทโดยไม่มีหลักเกณฑ์สำหรับผู้ประสบอุทกภัยว่า สามารถจ่ายได้เลยทันที เพราะมีการอนุมัติแล้ว เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดของประชาชนทั้งส่วนที่ได้รับไปแล้ว 5,000 บาท ก็จะได้รับเพิ่มเติมให้ครบเป็น 9,000 บาท คาดว่าจะจำนวนครอบครัวเพิ่มเติมอีกพอสมควร
ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการสำรวจ จึงไม่สามารถบอกตัวเลขที่ชัดเจนได้ ยืนยันว่า อยู่ในวงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากไม่พอ อาจจะมีการขอเพิ่มเติม ขอให้ประชาชนไม่ต้องกลัวว่าจะได้ช้า จะพยายามทำให้ครอบคลุมทุกบ้าน
อ่านข่าว
“Deepfake” มุมมืด AI ล้อเล่น-หลอกลวง สู่ “อนาจาร”
"อนุทิน" รับพา "เนวิน" เข้าจันทร์ส่องหล้า กินมื้อเย็นฉลองวันเกิด