ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พี่น้องทะเลาะกันไม่เลิก รอยร้าว "เกาหลี" ทำไม "รวมชาติ" ไม่ได้ ?

ต่างประเทศ
17 ต.ค. 67
15:01
1,282
Logo Thai PBS
พี่น้องทะเลาะกันไม่เลิก รอยร้าว "เกาหลี" ทำไม "รวมชาติ" ไม่ได้ ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เป็นเรื่องจริงที่ "เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้" ยังเป็น 2 ประเทศสุดท้ายในโลก ที่แยกตัวออกจากกัน และยังไม่ "รวมชาติ" กัน นักวิชาการด้านเกาหลีศึกษาระบุยังมีความพยายามที่จะนำทั้ง 2 ดินแดนโสมกลับมาเป็นหนึ่งเดียว แม้มหาอำนาจทั้งหลายในโลกจะไม่ต้องการก็ตาม

พฤษภาคม 2567 เริ่มเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อเกาหลีเหนือส่งบอลลูนที่เต็มไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูลข้ามฝั่งไปยังเกาหลีใต้ อีก 1 สัปดาห์ถัดมาเกาหลีใต้ตรวจพบบอลลูนขยะอีกมากกว่า 700 ลูกที่ข้ามฝั่งมายังแดนโสมขาว เหตุการณ์ดังกล่าว "คิม โย-จอง" น้องสาวของ "คิม จอง-อึน" ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ ประกาศเตือนว่าหากเกาหลีใต้ยังคงดำเนินการแจกใบปลิวและกระจายเสียงผ่านลำโพง ซึ่งถือเป็นการยั่วยุข้ามพรมแดน อาจเผชิญการตอบโต้ครั้งใหม่จากเกาหลีเหนือ และยังบอกอีกว่าเกาหลีใต้จะต้องอับอายจากการไล่เก็บขยะทุกวันโดยไม่ได้หยุดพัก

อ่านข่าว : เกาหลีเหนือส่ง "บอลลูนขยะ" โจมตีเกาหลีใต้

บอลลูนขยะที่ลอยข้ามแดนไปมา

บอลลูนขยะที่ลอยข้ามแดนไปมา

บอลลูนขยะที่ลอยข้ามแดนไปมา

และก็คงจะไม่ได้พักกันจริง ๆ จนถึงตอนนี้ ก็ยังมีข่าวการโจมตีกันไปมา ทั้งโปรยใบปลิวดิสเครดิตผู้นำทางจิตวิญญาณเกาหลีเหนือ คิม จอง-อึน ผ่านโดรน ปล่อยบอลลูนบรรจุสิ่งปฏิกูลลอยข้ามแดน กระทั่งล่าสุด เกาหลีเหนือระเบิดเส้นทาง 2 เส้นทาง ของถนนที่เชื่อมระหว่างสองชาติที่เส้นขนานที่ 38 ส่งสัญญาณตัดขาด ระวังสิ้นสุดทางเชื่อม! 

อ่านข่าว : ตัดสัมพันธ์! เกาหลีเหนือระเบิดถนนเชื่อมสองเกาหลี

เขาก็คงจะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เหมือนเป็นการยั่วยุ เป็นสงครามทางจิตวิทยา กวนกันไปกวนกันมา แต่คงไม่ถึงขั้นที่จะรบกันเพื่อยุติปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำประโยคนี้อยู่ 2-3 รอบขณะที่เลกเชอร์ให้ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ฟัง 

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในมุมมองของคนทั้งโลกอาจเห็นว่า เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ เป็นคู่ขัดแย้ง คู่สงครามกันอย่างที่ คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดแดนโสมแดงประกาศกร้าวไว้ไม่นานมานี้ แต่กลับกัน ในสิ่งที่ชาวเกาหลีทั้งเหนือและใต้รุ่นอาจุมม่าทั้งหลายถูกปลูกฝังมาตั้งแต่สมัยแยกดินแดนออกเป็น 2 ฝั่งบนล่างตอนปี 1953 คือ

เราเป็นพี่น้องที่ทะเลาะกัน งอนกัน วันหนึ่งเราจะกลับมาคืนดีกัน

พี่น้องทะเลาะอะไรกัน ?

"สงครามเกาหลี" เกิดจากความขัดแย้งระหว่าง เกาหลีเหนือ ที่สนับสนุนโดยสหภาพโซเวียต และ เกาหลีใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา สงครามปะทุขึ้นในปี 1950 เมื่อเกาหลีเหนือบุกเข้ารุกล้ำเกาหลีใต้ สงครามยืดเยื้อนาน 3 ปี จนกระทั่งลงนามในข้อตกลงหยุดยิงในปี 1953 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยมีเขตปลอดทหารกั้นกลาง หรือที่เรียกว่า "แนวขนานที่ 38"

เส้นขนานที่ 38 ความหวังของคนเกาหลีที่อยากกลับมารวมชาติ

เส้นขนานที่ 38 ความหวังของคนเกาหลีที่อยากกลับมารวมชาติ

เส้นขนานที่ 38 ความหวังของคนเกาหลีที่อยากกลับมารวมชาติ

ในการลงนามข้อตกลงหยุดยิงปี 1953 แต่พี่น้องทั้งสองไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ทำให้เกาหลีทั้งสองยังคงอยู่ในสถานะสงครามมาจนถึงปัจจุบันนี้ หรือพูดภาษาชาวบ้านคือ เขายังทำสงครามกันอยู่ ไม่มีใครแพ้หรือชนะในตอนนี้ แต่แค่ไม่ยิงใส่กัน ภาวะสงครามแบบนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมือง ไม่เฉพาะเกาหลีทั้งสอง แต่รวมถึงเหล่าประเทศมหาอำนาจที่ "ชักใย" อยู่เบื้องหลังของทั้งสองพี่น้อง

และปัจจุบันอีกเช่นกันที่ทั้งสองฝ่ายยังคงพยายามที่จะ "รวมชาติ" แม้จะมีอุปสรรคมากมาย และดูเหมือนไม่มีใครอยากให้พี่น้องเขากลับมาดีกัน 

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แต่พี่น้องไม่พึ่งกัน 

รู้กันดีไปทั้งโลกอยู่แล้วว่ามหาอำนาจใหญ่ ๆ เลือกเข้าข้าง "เกาหลี" ตามระบอบการปกครอง รัสเซีย จีน อยู่ฝั่งเกาหลีเหนือ คอยสนับสนุนทั้งอาวุธ กำลังทหาร วันดีคืนดีก็จะเห็นข่าวผู้นำเกาหลีเหนือนั่งรถไฟขึ้นไปทางมอสโก ไซบีเรีย ไปเจอ ปธน.ปูติน บ้าง ไปเจอ ปธน.สี จิ้นผิง บ้าง 

อ่านข่าว : "รัสเซีย-เกาหลีเหนือ" ลงนามสนธิสัญญาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

ส่วนเกาหลีใต้ ก็มีสหรัฐฯ และเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่นจับมือแน่น จัดงานมีตติ้งพบปะกันประจำปีผ่านการซ้อมรบร่วมกันของทหารทั้ง 2 ชาติ คล้าย ๆ กับการฝึกคอบร้าโกลด์ที่ จ.อุดรธานี ประเทศไทย 

อ.ไพบูลย์ เล่าว่า "รัฐบาล" ของเกาหลีใต้ ถือว่ามีผลต่อการส่งสัญญาณจากเกาหลีเหนือเป็นอย่างมาก ที่เกาหลีใต้จะมีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคคือ "พรรคอนุรักษ์นิยม" ซึ่งบริหารประเทศอยู่ ณ ตอนนี้ ปธน.ยุน ซ็อก-ย็อล ผู้เคยเป็นอัยการสูงสุด มีแนวคิดเข้าหาสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย และไม่ค่อยตอบสนองกับจีน และ รัสเซีย 

การทดสอบทางอาวุธของเกาหลีเหนือ

การทดสอบทางอาวุธของเกาหลีเหนือ

การทดสอบทางอาวุธของเกาหลีเหนือ

การฝึกซ้อมทางทหารของสหรัฐฯ และ เกาหลีใต้ จัดขึ้นทุกปี แต่ถ้าเป็นยุคของพรรคอนุรักษ์นิยม เกาหลีใต้จะทำแบบยิ่งใหญ่ เหมือนเอาใจสหรัฐฯ มาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกาหลีเหนือมองว่า ทำไมพี่น้องของฉันต้องไปแสดงความชื่นชอบคนที่ฉันไม่ชอบด้วย ก็เลยส่งสัญญาณออกมา 

อย่างปีที่แล้ว ผู้นำคิมก็สั่งโชว์อาวุธ สั่งซ้อมยิงนิวเคลียร์ ยิงระเบิดลงคาบสมุทรเกาหลี ไปถึง 19 ครั้ง แม้จะดูว่ารุนแรงและใหญ่โต แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยกระทบต่อชีวิตคนในเกาหลีเหนือและใต้ เพราะเขามองว่าประชาชนไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของผู้นำ 

อ่านข่าว : ล้มเหลว! จรวดปล่อยดาวเทียม "เกาหลีเหนือ" ระเบิดกลางอากาศ

แต่ถ้าเป็นยุคที่พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยก้าวหน้าขึ้นมาบริหารประเทศ เช่น ในยุคของ อดีต ปธน.มุน แจ-อิน เกาหลีใต้ก็ยังมีจุดยืนเดิมคืออยู่ฝ่ายสหรัฐฯ เพียงแต่จะไม่ทำอะไรออกนอกหน้าจนเกินงาม ที่ทำให้ผู้นำคิมรู้สึกหงุดหงิดใจ บ่อยครั้งที่นัดพูดคุยเพื่อหาทางประสานรอยร้าวในอดีตของสองพี่น้อง และ อดีต ปธน.มุน เองก็เคยเป็นผู้ประสานให้ อดีต ปธน.ทรัมป์ และ ผู้นำคิม ได้พบปะกันตัวเป็น ๆ เพื่อหาข้อเจรจาเรื่องปลดอาวุธนิวเคลียร์ มาแล้วด้วย

การเจอหน้ากันของเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ที่มีเกาหลีใต้เป็นผู้ประสานให้

การเจอหน้ากันของเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ที่มีเกาหลีใต้เป็นผู้ประสานให้

การเจอหน้ากันของเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ที่มีเกาหลีใต้เป็นผู้ประสานให้

ซึ่งนี่เป็นข้อสังเกต ถ้าพรรคเสรีนิยมฯ ขึ้นมาบริหารประเทศ ผู้นำคิมจะเงียบมาก 

ไม่มีใครอยากให้พี่น้องปรองดองกัน 

"อาจจะไม่มีใครอยากให้เขาดีกันก็ได้" เป็นคำตอบที่ อ.ไพบูลย์ ให้ไว้ ยิ่งทำให้คาใจเข้าไปอีก เมื่อถามคำถามว่า แล้วเมื่อไหร่พี่น้องจะคืนดีกัน 

ในแง่ของการเมือง มหาอำนาจของโลกทั้งทางฝั่งประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ อาจเห็นเป็นทางเดียวกันคือ ถ้าสองเกาหลีรวมชาติกัน แล้วเลือกระบอบการปกครองอย่างใดอย่างหนึ่งไปเลย อีกฝ่ายก็กลายเป็นสูญเสียเพื่อสมาชิกไปอีกหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนสมาชิกที่มีคุณภาพ

ถ้ารวมชาติแล้วเลือกเป็นประชาธิปไตย จีน รัสเซีย คงไม่ยอม
ถ้ารวมชาติแล้วเลือกเป็นคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ก็คงไม่ยอมเหมือนกัน  

ในแง่ของเศรษฐกิจ ในช่วงที่เกาหลีทำสงครามกัน พื้นที่ทางเกาหลีใต้ถูกทำลายเสียส่วนใหญ่ ทรัพยากรต่าง ๆ แทบไม่เหลือ แต่เกาหลีใต้ใช้เวลาไม่กี่สิบปี พัฒนาตัวเองขึ้นมาจนนำหน้าหลายประเทศใหญ่ ๆ ในโลกไปได้ ติด Top 10 ประเทศเศรษฐกิจดีของโลก

ส่วนเกาหลีเหนือเอง ยังเต็มไปด้วยทรัพยากรใต้ดิน โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นเคยสร้างไว้สมัยที่เคยเข้ามายึดครองเกาหลีอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต ก็ไม่ได้ถูกทำลาย และเกาหลีเหนือยังมีประชากรกว่า 30 ล้านคนที่สามารถเป็นแรงงานพัฒนาประเทศได้ ซึ่งสามารถทดแทนกับภาวะการเกิดที่ต่ำลงเรื่อย ๆ ของเกาหลีใต้

ถ้าทั้งสองฝั่งรวมชาติกัน อ.ไพบูลย์เชื่อว่าไม่เกิน 20 ปี มีโอกาสที่จะแซงหน้าเพื่อนบ้าน "ญี่ปุ่น" ได้แน่นอน

และนั่นคืออีกความเห็นของ "คนนอก" ที่มองไปในทางเดียวกัน ของมหาอำนาจที่มีความขัดแย้งกัน ส่วน "คนใน" อย่างประชากรเกาหลี หรือ "ฮันกุก ซารัม" อ.ไพบูลย์ ให้ข้อมูลอีกมุมหนึ่งว่า "กระทรวงการรวมชาติ" ของเกาหลีใต้เคยทำโพลพบว่า ประชากรตั้งแต่เจน Y จนถึงรุ่นปัจจุบัน บางส่วนไม่มีความคิดอยากรวมชาติ และบางส่วนยังตัดสินใจไม่ได้ ในขณะที่ประชากรกลุ่มเจน Baby Boomer เจน X และ Y บางส่วน กลับยังรู้สึกอยากให้พี่น้องกลับมาปรองดองกัน

ประชาชนยืนมองทิวทัศน์จากฝั่งเกาหลีใต้

ประชาชนยืนมองทิวทัศน์จากฝั่งเกาหลีใต้

ประชาชนยืนมองทิวทัศน์จากฝั่งเกาหลีใต้

กระทรวงการรวมชาติ ความหวังเดียวที่ยังหลงเหลือ 

ลองนึกภาพเด็กอายุ 10 ขวบตอนปี 1953 ที่ถูกแยกจากครอบครัวและไม่มีโอกาสได้พบเจอกันอีก ผ่านไปหลายสิบปี เขาอาจจะเป็นผู้โชคดีได้รับการสุ่มเลือกให้กลับไปพบญาติที่อาศัยอยู่อีกฝั่งของประเทศ 

ถ้านับมาจนถึงปี 2024 เด็ก 10 ขวบคนนั้นคงอายุ 81 ในปีนี้ ถ้าความโชคดีมาถึงมือเขาอีกครั้ง ได้กลับไปหาญาติอีกครั้งแต่พบว่า ญาติไม่อยู่ให้เจอแล้ว หรือญาติอาจไม่ได้โชคดีได้มาเจอ ความห่างหายของสายสัมพันธ์ของครอบครัวก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป 

คนเหล่านี้ยังมีความหวังเช่นเดียวกับกระทรวงการรวมชาติ ที่หวังว่าวันหนึ่งพวกเขาจะได้กลับมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัว ไม่ต้องถูกตัดขาดกันไปแทบทั้งชีวิตแบบนี้  

ภาพครอบครัวของชาวเกาหลีที่ถูกแยกออกจากกัน

ภาพครอบครัวของชาวเกาหลีที่ถูกแยกออกจากกัน

ภาพครอบครัวของชาวเกาหลีที่ถูกแยกออกจากกัน

แต่สมาชิกอีกคนที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน และไม่เคยได้พบเจอญาติที่ห่างหายกันไปทั้งชีวิต เป็นธรรมดามาก ๆ ที่เขาจะไม่มีความรู้สึกผูกพันและอยากจะตามหาญาติอีกฝ่ายที่หายไป 

นั่นคือข้อกังวลใจของกระทรวงการรวมชาติ ที่มองว่า หากในอนาคต ประชากรกลุ่มที่ไม่เคยเจอหน้าญาติ พวกเขาก็จะไม่รู้สึกว่าการรวมชาติเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ รอยร้าวระหว่างสองชาติที่ค่อย ๆ หยั่งลึกลงเรื่อย ๆ วันหนึ่งอาจขาดสะบั้นอย่างถาวร

เมื่อก่อนเกาหลีสอนให้คิดถึงชาติมาเป็นอันดับ 1 ครอบครัวอันดับ 2 และตัวเองเป็นที่ 3 
แต่ปัจจุบันกลับกัน ตัวเองมาก่อน และชาติคืออันดับที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้แล้วด้วยซ้ำ 
ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน และได้กลับมาพบกันในรอบหลายสิบปี

ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน และได้กลับมาพบกันในรอบหลายสิบปี

ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน และได้กลับมาพบกันในรอบหลายสิบปี

งานหลักของกระทรวงการรวมชาติ คือ ขจัดปัญหาครอบครัวที่แยกจากกัน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเชลยศึกและผู้ถูกลักพาตัวของเกาหลีใต้ เจรจาอย่างสร้างสรรค์กับเกาหลีเหนือเพื่อแก้ไขปัญหาที่ค้างอยู่ทั้งหมดด้วยความจริงใจ โดยมีเงื่อนไข ผู้นำของทั้งสองเกาหลีสามารถพบกันได้ทุกเมื่อหากพวกเขาทำด้วยความจริงใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับชาวเกาหลีทั้ง 70 ล้านคน 

หมากเกมนี้ใคร ๆ ก็รู้ว่าลงเอยอย่างไร

ไม่ใช่ว่าทั้งสองเกาหลีจะไม่รู้ตัวว่าเป็นหมากในเกมสงครามตัวแทนของชาติมหาอำนาจ แต่ทั้งสองก็เต็มใจเพราะยังต้องพึ่งพากองกำลังทางทหารและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ 

ทุกคนในเกาหลีเหนือคือทหาร นั่นหมายถึง คิม จอง-อึน มีกองทัพที่ขนาดใหญ่มาก ยังไม่รวมแสนยานุภาพจากอาวุธ ยุทโธปกรณ์ คลังแสงนิวเคลียร์ อีกมากมาย แบ็กหนุนหลังอย่างรัสเซีย และ จีน แต่คำถามคือ เกาหลีเหนือกล้ามากน้อยแค่ไหนที่จะยิงหรือรบกับเกาหลีใต้ 

กองทัพทหารของคิม จอง-อึน

กองทัพทหารของคิม จอง-อึน

กองทัพทหารของคิม จอง-อึน

ส่วนฝั่งเกาหลีใต้ ก็มีกองทัพสหรัฐฯ หนุนหลังอย่างเต็มที่ และยังมีพันธมิตรอีกจำนวนมากที่ยืนอยู่ข้างสหรัฐฯ ไม่ต้องเรียกว่าเกาหลีเหนืออาจต้องคิดหนักถ้าจะยิงเกาหลีใต้สักตู้มสองตู้ม แต่ต้องบอกว่า เกาหลีเหนือคงไม่คิดจะทำอย่างแน่นอน ส่วนที่สำคัญคือ "ประชาชนไม่เกี่ยวข้อง" ต่อมาคือมหาอำนาจเองไม่ต้องการให้เกิดการปะทะ เพราะรบกันทีก็เสียทั้งทรัพยากร อาวุธ เศรษฐกิจ 

แต่ถามว่าแล้วพี่น้องเขาจะยียวนส่งบอลลูนข้ามกันไปมาแบบนี้อีกนานแค่ไหน อ.ไพบูลย์ก็ปิดท้ายไว้ว่า ก็คงทำไปเรื่อย ๆ และคงบ่อยมากขึ้น แต่คงไม่รุนแรงไปมากกว่านี้ เพราะเขาเป็นพี่น้องแค่หยอกเอินกัน ฉิ่งจ๊ะ?! 

ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน

ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน

ครอบครัวที่ต้องแยกจากกัน

อ่านข่าวอื่น :

"อ.อ๊อด" แจ้งความ "อดีตผู้ประกาศ" โยงระบบสินค้าดิไอคอน

"ขุนคลัง" ชี้ลดดอกเบี้ย 0.25% ลดภาระประชาชน

พบ "ลูกช้างป่า" พลัดหลง​แก่งหางแมว​ ขาหน้าขวามีรอยเชือกรัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง