ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“นวัตกรรม” ทางรอดอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย หลังถูก “จีน” ตีตลาด

เศรษฐกิจ
30 ต.ค. 67
15:40
433
Logo Thai PBS
“นวัตกรรม” ทางรอดอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย หลังถูก “จีน” ตีตลาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย กำลังถูกท้าทายด้วยต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น บวกกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองตลาดในปัจจุบันได้เร็วกว่า และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะสินค้าจากต่างประเทศ

หากไทยไม่เร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตจากแบบดั้งเดิม (Traditional) ที่เป็นอยู่ ที่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีต่อเศรษฐกิจไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทางรอดของอุตสาหกรรมฯ คือ การใส่นวัตกรรมให้กับสินค้า การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว หนีคู่แข่งรอบด้าน

การใช้AIและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องน่งห่มและสิ่งทอ

การใช้AIและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องน่งห่มและสิ่งทอ

การใช้AIและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องน่งห่มและสิ่งทอ

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด และ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่ง 9 เดือน(ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 160,000 ล้านบาท ทั้งปีไทยน่าจะส่งออกอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ 210,000 ล้านบาทหรือบวก 2% ซึ่งลดลงจากปี 2566 โดยกลุ่มการ์เม้น ส่งออกบวกเกือบ 9 % ขณะที่กลุ่มสิ่งทอ ผ้าผืน กลับติดลบ 1% เนื่องจาก ถูกสินค้าจีนเข้ามาตีตลาด เพราะจีนเองส่งออกทั้งวัตถุดิบ เส้นด้วย เสื้อผ้า จำนวนมากซึ่งทำให้ต้นทุนสินค้าของจีนมีราคาถูกหากเทียบกับสินค้าไทย

อย่างไรก็ตาม สินค้าเครื่องนุ่งห่มที่ผู้ประกอบการไทยผลิต เป็นการผลิตให้กับแบรนด์ใหญ่ๆ มีคอนแทร็กที่ทำอยู่ต่อเนื่อง ทำให้การเติบโตในอุตสาหกรรมดังกล่าวยังคงเติบโต ซึ่งหากแบ่งสัดส่วน พบว่า กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ไทยส่งออกปีละประมาณ 90,000 ล้านบาท และกลุ่มสิ่งทอ มูลค่า 120,000 ล้านบาท แต่พบว่า ช่วงหลังกลุ่มสิ่งทอกลับส่งออกติดลบ จากถูกสินค้าต่างประเทศตีตลาดทำให้ดึงภาพรวมการส่งออกลดลงตามไปด้วย

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานบริหาร บริษัท เฮลท์แคร์ ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัดและ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานบริหาร บริษัท เฮลท์แคร์ ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัดและ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย

นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานบริหาร บริษัท เฮลท์แคร์ ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัดและ อดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย

นายยุทธนากล่าวอีกว่า ที่น่าสนใจ คือ การนำเข้าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึง 12% เป็นการนำเข้าใกล้เคียงกับตัวเลขส่งออกของกลุ่มสิ่งทอ ดังนั้นเชื่อว่าไม่เกินปี2568 จะเป็นปีแรกที่ไทยนำเข้าเสื้อกลุ่มสิ่งทอมากกว่าส่งออก

โดยคาดว่าปีหน้าไทยจะนำเข้ากลุ่มสิ่งทอมากกว่าการส่งออก โดยในช่วง 9 เดือนไทยนำเข้า บวก 11% ซึ่ง 49% เป็นสินค้าที่มาจากจีน รอลงมาเป็น เวียดนาม และอิตาลี 5-6% ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพ   สาเหตุเป็นเพราะสินค้านำเข้าถูกกว่าผลิตเองในประเทศ ซึ่งเมื่อสินค้ามีราคาถูกกว่าผู้ประกอบไทยก็นำเข้าดีกว่าผลิตเองที่ต้นทุนที่สูง ทั้งค่าแรง ลงทุนเครื่องจักร เป็นต้น

จากนี้ไปไทยจะเป็นเทรดเดอร์และผู้ซื้อ ไม่ใช่ผู้ขาย ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการไทยเองย้ายฐานการผลิต ประมาณ 21-22 โรงงาน ส่วนใหญ่ไปเวียดนาม รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว และมีย้ายฐานการผลิตไปที่ยุโรปตะวันออก แอฟริกาใต้ อียิปต์ เพราะเวลาส่งออกไปยุโรปไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

แนะผู้ประกอบการชูนวัตกรรมบนสินค้า

นายยุทธนา กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวคือ ถ้าเป็นในส่วนของผู้ผลิต ต้องทำสินค้าที่มีมูลค่าสูง ขึ้น มีนวัตกรรม ฟังค์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและตอบโจทย์ เปลี่ยนหมวดสินค้าที่ทำไม่ใช่ทำแต่เสื้อยืดคอกลม ซึ่งไม่สามารถแข่งกับจีน และอินเดียที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปหมวดอื่นที่ยากขึ้น ผลิตจำนวนน้อยลง มีความเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ทำสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น

ล่าสุด บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ ผ้ากราฟีน ถือว่าเป็นเจ้าแรกของไทย ที่ผลิตจากธาตุใหม่ของโลกสกัดจากแร่ธาตุกราไฟท์ ที่มีจุดเด่นหลายด้าน จนเรียกว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคต ที่มาแทนสินค้าหลายๆตัวในโลก เพราะผ้ากราฟินช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดกระตุ้นให้ร่างกายมีออกซินเจนเพิ่มขึ้น สามารถตอบระแสเทรน์รักสุขภาพของผู้บริโภคในยุคนี้ได้

Graphenix เป็นการใส่นวัตกรรมเข้าไปในใยผ้า ถือเป็นจุดเล็กๆให้ตลาดสิ่งทอ และทำให้ตลาดเห็นว่า ไทยเองสามารถพัฒนานวัตกรรมระดับโลกได้ซึ่งอาจจะจุดประกายให้ผู้ประกอบการอื่นสนใจที่จะพัฒนาผลิตไทยให้แข่งขันกับประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง
วัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ ผ้ากราฟีน

วัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ ผ้ากราฟีน

วัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ ผ้ากราฟีน

นายยุทธนา กล่าวอีกว่า เดิมบริษัทผลิตเสื้อผ้ายูนิฟอร์มป้อนให้กับอุตสาหกรรมต่างๆและหน่วยงาน แต่หลังจากช่วงวิกฤตโควิด มีการทำงานเวิร์คฟอรม์โฮมมากขึ้นทำให้ตลาดชุดยูนิฟอร์มชะลอตัวลง ส่งผลให้ต้องปรับโมเดลธุรกิจ โดยมองหานวัตกรรม เพื่อสร้างจุดเด่น ประกอบกับหลังโควิดทั่วโลกเริ่ม ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นควบคู่กับรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโจทย์มีการออกแบบนวัต กรรมและปรับโมเดลธุรกิจมาผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ function garment นับเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้างจุดเปลี่ยนให้กับธุรกิจ Graphenix จึงเป็นนวัตกรรมแรกของไทย

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องทำ นอกจากการใส่นวัตกรรมลงไปในสินค้า การหาตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อยังคงมีความจำเป็น เช่น ตลาดยุโรปที่ยังคงมีกำลังซื้อ แต่พฤติกรรมของผู้ค้าและผู้บริโภคในฝั่งยุโรป คือ ซื้อจำนวนน้อย แบบหมุนเวียนเร็ว มองว่ายังสามารถเข้าตลาดได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องหาตลาดที่เหมาะกับไลน์การผลิต

“ต้นทุน”สูง จุดอ่อนผู้ประกอบไทย 

สำหรับจุดอ่อนของผู้ประกอบการไทยในขณะนี้ที่ทำให้แข่งขันยาก คือ “ต้นทุน” ที่สูง โดยเฉพาะ “ค่าแรง” ที่มีแนวโน้มจะปรับเปน 400 บาทต่อวัน และอุตสาห กรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันยาก ทั้งนี้แนวโน้มปี2568 มองว่า ผู้ผลิตไทยที่ผลิตให้แบรนด์ใหญ่ๆ จะยังคงใช้ฐานการผลิตต่างประเทศมากขึ้น เพราะมีการย้ายฐานการผลิตในต่างประเทศแล้ว ทำให้การผลิตหดตัวในไทย แต่ไปโตในต่างประเทศ

สิ่งที่ไทยยังเหลืออยู่ คือ การเป็นเซ็นเตอร์การรับงานที่เป็นเทรด การออกแบบ บริการจัดการสินค้า ซึ่งจะอยู่ไทยเพราะมีความชำนาญ ส่วนภาคการผลิตจะใช้ฐานการผลิตในต่างประเทศมากขึ้น
แรงงานกำลังตัดเย็บ

แรงงานกำลังตัดเย็บ

แรงงานกำลังตัดเย็บ

นายยุทธนา บอกว่า อยากให้รัฐบาล ช่วยในเรื่อง การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆผ่านหน่วยงานรัฐที่มีบุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือ ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรม New S-Curve และ อุตสาหกรรม S-Curve ทั้งหมด ในขณะที่อุตสาหกรรมเก่าแบบดั้งเดิมที่หาเงินให้รัฐปีละ 200,000 ล้านบาท รัฐกลับไม่มีตัวช่วยผู้ประกอบการ การที่ไปช่วยเทรน์นิ่ง ตัดเย็บเร็วขึ้นถือหมดยุคแล้ว

ดังนั้นรัฐบาลต้องมาช่วยเรื่องการวิจัย การสร้างนวัตกรรม รูปแบบดีไซน์ หรือแพลตฟอร์มที่จะช่วยร่นระยะเวลาในการทำงานต่างๆให้มีมูลค่าสูงขึ้น ไทยยังขาดอีโคซิสเต็ม ให้นวัตกรรมเกิด ไทยยังไม่พร้อมซึ่งหากไทยยังไม่มีนวัตกรรมเพื่อแข่งขันในตลาดโลกได้ ก็ทำให้ผู้ประกอบการเหนื่อย

หากไทยยังไม่พัฒนาปรับตัว อุตสาหกรรมเสี่ยงที่จะถดถอย เช่น ฟิลิปปินส์เคยเป็นผู้นำส่งออกเสื้อผ้า พอไม่มีการสนับสนุนจากรัฐ ส่งผลให้ต้องนำเข้าเพียงอย่างเดียว ประเทศไทยไม่เคยเป็นผู้นำด้านส่งออกแต่ไทยเป็นเพียงผู้รักษาให้อุตสาหกรรมยังคงอยู่เท่านั้น

สำหรับปัจจัยลบที่รมเร้าต่างๆ ทั้ง เศรษฐกิจโลก ค่าแรง อัตราดอกเบี้ย ค่าเงิน ต้นทุนพลังงานต่างๆ ทั้งค่าไฟ น้ำมัน การแข่งขันกับประเทศอื่นๆมีผลกระทบกับไทย ผู้ประกอบการไทยต้องปรับแผนงานให้ทันกับเหตุการณ์

นายยุทธนา กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือของภาครัฐ ซึ่งมีงบประมาณผ่านกระทรวงต่างๆไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ การใช้ทรัพยากรช่วยเหลือของภาครัฐและเอกชนไม่สอดคล้องกัน รัฐทุ่มเงินไปกับโครงการต่างๆที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจโต ซึ่งไม่ได้สร้างอนาคต แต่เป็นเพียงแค่พยุงสถานะปัจจุบันแค่นั้น

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 70ปี ที่มีอุตสาหกรรมนี้ อยู่นานเกินไป เพราะรัฐช่วยเพียงเรื่องเดียวคือ ฝึกอบรม ตัดเย็บ ทำให้ยืดอายุให้ตายช้าลง เป็นการช่วยที่ไม่ถูกต้อง

จีนแห่ลงทุนไทย หนีกีดกันการค้า

นายยุทธนา กล่าวอีกว่า การย้ายฐานการผลิตของโรงงานไทยปัจจุบันไม่มีเพิ่มขึ้นจาก 21-22 โรงงาน ที่ย้ายฐานการผลิตไปแถบประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อ 20ปี เหลือเพียงรายเล็กเท่านั้น ส่วนทุนต่างชาติที่สนใจเข้าใจเข้ามาลงทุนไทย คือ จีน เพราะโดนกีดกันจากประเทศอื่น โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ซึ่งทุนจีนที่มาลงทุนไทยมี 2 แบบ คือมาสร้างงาน สร้างฐานการผลิตเอาเงินมาลงทุน ทำให้ไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานในไทย และอีกรูปแบบ คือ การเข้ามาสวมสิทธิ ซึ่งก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ

สินค้าเสื้อผ้า ที่มีการผลิตจำนวนจนล้นโลก เมื่อขายไม่ได้ ส่วนใหญ่จะกลายเป็นขยะแฟชั่น ต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเป็นอุตสาหกรรมที่โลกประณามว่าทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รองจากอุตสาหกรรมปิโตเคมี เพราะทั่วโลกผลิตมากกว่าความต้องการของคน เกือบ 20 เท่าทุกปี ทำให้เกิดเสื้อผ้าล้นโลก และการรีไซเคิลเสื้อผ้าโดยการนำเสือเก่ามาผลิตเป็นเสื้อใหม่ มีต้นทุนการสูงกว่าผลิตเสื้อใหม่ 1ตัว ถึง 1 เท่าของเสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นใหม่ เพราะกระบวนการอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาที่ค่อนข้างซับซ้อน

แฟชั่นจากจีน

แฟชั่นจากจีน

แฟชั่นจากจีน

เสื้อคอกลมสีขาว 100 บาท ถ้ารีไซเคิล ก็กลายเป็น 200 บาท ดังนั้นผลิตใหม่ต้นทุนถูกกว่าแต่ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนขยะมากขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคก็ต้องคิดว่ทุกอย่างมีต้นทุนแต่ถ้าไม่ช่วยกันก็ไปไม่ถึงจุดที่ราคาลดลง 

อนาคตหากไทยจะผันตัวเองเป็นเทรดเดอร์ ไทยต้องมีนวัตกรรมในการเป็นเทรดเดอร์ จะเป็นเทรดเดอร์ที่ซื้อมาขายไปแบบอดีตอยู่ไม่รอดในตลาด

อุตสาหกรรมสิ่งทอ ถ้าจะอยู่รอดได้ ต้องชู นวัตกรรม เพิ่มสกิลการผลิต เพราะโลกการค้าในปัจจุบัน ทั้งจีน สหรัฐฯ มีโอเวอร์ซัพพลาย สินค้าที่เกิดพอดีถูกส่งมายังแถบอาเซียนมากขึ้น
โรงงานตัดเย็บผ้า

โรงงานตัดเย็บผ้า

โรงงานตัดเย็บผ้า

ไทยเป็นประเทศที่รับจ้างผลิต หรือ OEM ซึ่งความเสี่ยงของ OEM ไทย คือ สภาพการแข่งขัน ค่าแรงที่สูงขึ้น ความเสี่ยงรอบด้าน ในขณะที่การทำแบรนด์มีความเสี่ยงไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพการแข่งขัน ราคา ดีไซน์ สต๊อกสินค้า มูลค่าของแบรนด์ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการไทยอยากรอดในตลาดต้องออกไปรับจ้างผลิตในต่างประเทศ

เช่นเดียวกับแบรนด์ไทยล้มหายตายจากไปมากเพราะสู้แบรนด์จากต่างประเทศไม่ไหว เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ คือ ดีไซน์ต้องเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เร็ว และมีจุดเด่นของแบรนด์ ถึงจะอยู่รอดได้ในตลาด

ปี 2568 น่าจะได้เห็นการส่งออก-นำเข้ามีปริมาณ เท่าๆกัน เพราะแค่ 9 เดือน ไทยส่งออกเสื้อผ้ามีมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ห่างกันเพียง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า อนาคตไทยจะกลายเป็นผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ก็จะค่อยๆหายไป

อ่านข่าว:

 ทีทีบี ชี้ขาลง “สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย” แนะเร่งปรับตัวหนีคู่แข่ง

เลือกตั้งสหรัฐฯ "ทรัมป์-แฮร์ริส" 5 พ.ย.ใครชนะการค้าโลกอ่วม ?

ลุ้น 3 เดือนสุดท้าย ส่งออกไทยพุ่ง สนค.หวังทั้งปีโต 2% ตามเป้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง