ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ว่าเสี่ยง! แรงงานในอิสราเอลไม่กลับไทย หาเงินใช้หนี้-รายได้สูง

สังคม
2 พ.ย. 67
09:36
423
Logo Thai PBS
รู้ว่าเสี่ยง! แรงงานในอิสราเอลไม่กลับไทย หาเงินใช้หนี้-รายได้สูง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้ว่าเสี่ยง! แรงงานในอิสราเอลไม่ขอเดินทางกลับไทย หลังพบเสียชีวิตเพิ่มอีก 4 คน หวังหาเงินใช้หนี้-แลกรายได้สูงกว่าทำงานในเมืองไทย คาดอีก 10 วันนำศพกลับบ้านเกิด

กรณีสถานการณ์สู้รบในตะวันออกกลางยังคงรุนแรง ล่าสุดมีแรงงานไทย 4 คน เสียชีวิต และบาดเจ็บ 1 คน โดยบางคนพึ่งเดินทางกลับไป ทำงานเพื่อใช้หนี้สินได้ไม่นานก็เสียชีวิต สร้างความเสียใจให้ครอบครัวอย่างมาก

เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2567 บรรยากาศที่บ้านของนายประหยัด พิลาศรัมย์ อายุ 42 ปี หนึ่งใน 4 แรงงานไทยที่เสียชีวิตในอิสราเอล ชาวบ้านนำฝ้ายมาผูกแขนครอบครัว เพื่อเรียกขวัญและให้กำลังใจ โดยมีเพื่อบ้านที่รู้ข่าวเดินทางมาให้กำลังใจ พ่อ แม่ พี่สาว ภรรยา และลูก 3 คน อย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าว กต.กำชับอิสราเอลห้ามอนุญาต "แรงงานไทย" เข้าเขตปิดทหาร 

ครอบครัว เล่าว่า นายประหยัด ขับรถสองแถวรับส่งนักเรียน พอช่วงโควิด-19 จึงไปทำงานที่อิสราเอล ตั้งแต่ปี 2564 โดยแม่กู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสกรณ์ (ธกส.) และเงินนอกระบบเป็นค่าเดินทางกว่า 100,000บาท

กระทั่งปีที่แล้วมีการสู้รบก็กลับมา แต่นายจ้างติดต่อมา และสัญญายังไม่ครบ จึงกลับไปอีกครั้งใหม่ แม้ครอบครัวจะไม่อยากให้ไป แต่เขายืนยันจะเดินทางไปทำงาน เพราะอยากได้เงินมาใช้หนี้

นางประไพ บุหงา  ภรรยาผู้เสียชีวิต กล่าวว่า ช่วงแรก นายประหยัด ทำงานในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งไม่อันตรายมาก แต่เพื่อนชวนไปทำงานทางตอนเหนือ เพราะค่าแรงสูงกว่า สามีจึงเลือกไปทำงานที่นั่น

ทั้งที่รูว่าเป็นพื้นที่สีแดง ตอนที่เขาไปทำจุดนี้ ครอบครัวเป็นห่วงมาตลอดอยากให้ย้ายกลับไปทีเดิมปลอดภัย กระทั่งเกิดเหตุและทำให้สามีเสียชีวิต 
นางประไพ บุหงา  ภรรยาผู้เสียชีวิตนายประหยัด พิลาศรัมย์ อายุ 42 ปี หนึ่งใน 4 แรงงานไทยที่เสียชีวิตในอิสราเอล

นางประไพ บุหงา ภรรยาผู้เสียชีวิตนายประหยัด พิลาศรัมย์ อายุ 42 ปี หนึ่งใน 4 แรงงานไทยที่เสียชีวิตในอิสราเอล

นางประไพ บุหงา ภรรยาผู้เสียชีวิตนายประหยัด พิลาศรัมย์ อายุ 42 ปี หนึ่งใน 4 แรงงานไทยที่เสียชีวิตในอิสราเอล

ส่วนที่ จ.อุดรธานี เจ้าหน้าที่จัดหางานจังหวัดและเจ้าหน้าที่ประกันสังคม แจ้งสิทธิประโยชน์ให้กับพ่อแม่ของ นายอรรคพล วรรณไสย อายุ 29 ปี แรงงานไทยที่เสียชีวิตในอิสราเอล ที่บ้านมีญาติพี่น้องและชาวบ้าน บ้านดงหมากหลอด มาร่วมแสดงความเสียใจ

เบื้องต้น พบว่านายอรรคพล กลับบ้านช่วงการสู้รบปีที่แล้ว จากนั้นกลับไปทำงานกับนายจ้างเดิม โดยซื้อตั๋วเครื่องบินกลับไปเอง จะต้องตรวจสอบว่ายังเข้าเงื่อนไข กองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ หรือไม่

คาดอีก 10 วันนำศพแรงงานกลับไทย

ขณะที่กระทรวงแรงงาน จะนำหลักฐานการทำงาน ไปดำเนินการตามสิทธิ ทั้งนี้ผู้เสียชีวิตจะได้เงินตามสิทธิประโยชน์ของอิสราเอล โดยพ่อแม่และลูก จะเงินเยียวยาทุกเดือน เจ้าหน้าที่จะจัดการเรื่องนำศพกลับบ้าน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน

เหตุความสูญเสียงดังกล่าว ทำให้นาย พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แสดงความเสียใจ กรณีแรงงานไทยเสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บสาหัส 1 ราย จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล พร้อมสั่งอพยพ แรงงานทางภาคเหนือทั้งหมดให้อพยพไปทำงานทางภาคใต้ทันที

นายอุบล นามแสน แรงงานไทย ทำงานในโมชาฟ บริเวณชายแดนตอนเหนือ อิสราเอล ติดชายแดนเลบานอน

นายอุบล นามแสน แรงงานไทย ทำงานในโมชาฟ บริเวณชายแดนตอนเหนือ อิสราเอล ติดชายแดนเลบานอน

นายอุบล นามแสน แรงงานไทย ทำงานในโมชาฟ บริเวณชายแดนตอนเหนือ อิสราเอล ติดชายแดนเลบานอน

แรงงานไทยเสี่ยงทำงานใน "กาซา" แลกรายได้ดี 

ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้ สอบถามถึงสถานการณ์ความรุนแรง กับนายอุบล นามแสน แรงงานไทย ที่ยังคงทำงานในโมชาฟ บริเวณชายแดนตอนเหนือ อิสราเอลติดเลบานอน ห่างจุดที่คนไทยเสียชีวิตประมาณ 60 -70 กิโลเมตร เขาบอกว่าคนไทยกลุ่มล่าสุดเสียชีวิตในพื้นที่ทางการทหาร

ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานบริเวณนั้นอีกครั้ง เพราะนายจ้างเสนอให้ค่าจ้างเพิ่มเพื่อสร้างแรงจูงใจขณะที่จุดที่คุณอุบลอยู่ สถานการณ์ยัง ถือว่าปลอดภัย หลังจากมีข่าวคนไทยเสียชีวิต ครอบครัวก็โทรมาสอบถาม แต่คุณอุบล ยอมรับว่า ยังจำเป็นต้องอยู่เพราะเรื่องรายได้เป็นหลัก

สถานทูตได้เสนอกับแรงงานไทยว่ามีใครต้องการเดินทางกลับไทยหรือไม่ แต่ยังไม่มีใครกลับ เพราะปัจจัยหลักเรื่องเงินที่จะส่งให้กับครอบครัว และค่าจ้างยังต่างกับการทำงานในเมืองไทยหลายเท่า

อ่านข่าว "แอ่วเหนือคนละครึ่ง" ยังเหลือ 9,098 สิทธิ รอลุ้นเฟส 2

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า ช่วงก่อนเกิดสงครามในกาซา มีแรงงานไทยในอิสราเอลประมาณ 30,000 คนในช่วงกลุ่มฮามาสโจมตี เมื่อเดือนต.ค.2566 มีแรงงานไทยเสียชีวิต 46 คน และถูกจับเป็นตัวประกัน 30 คน ตอนนี้คาดว่ายังมีตัวประกันคนไทยเหลืออีก 6 คน

สาเหตุที่แรงงานไทยที่เสียชีวิตและบาดเจ็บครั้งนี้ เกิดจากการโจมตีด้วยจรวด จากฝั่งเลบานอนเข้าไปที่เมืองเมทูลา ทางตอนเหนือของอิสราเอล เบื้องต้นทราบว่า นายจ้างได้ขออนุญาตนำแรงงานกลุ่มนี้เข้าไปในพื้นที่ ซึ่งทางการอิสราเอลได้อนุญาตให้เข้าไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทำให้นายจ้าง และแรงงานไทยอีก 4 คน เสียชีวิต

อ่านข่าวอื่นๆ

นำร่าง "แรงงาน" เสียชีวิตเหตุระเบิดอิสราเอล ถึงไทย 22 ต.ค.

4 แรงงานไทยเสียชีวิตในอิสราเอล ประสานอพยพจากทางเหนือไปใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง