ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ใครบ้างเหยื่อโจรออนไลน์ปีเดียวพุ่ง 3.4 แสนเคส สูญ 1.9 หมื่นล้าน

อาชญากรรม
14 พ.ย. 67
16:55
156
Logo Thai PBS
ใครบ้างเหยื่อโจรออนไลน์ปีเดียวพุ่ง 3.4 แสนเคส สูญ 1.9 หมื่นล้าน
สายด่วน 1441 โชว์ผลงานปราบโจรออนไลน์ ระงับบัญชีต้องสงสัยแล้วกว่า 340,000 เคส อายัดบัญชีม้าได้ภายใน 10 นาที มูลค่าความเสียหาย 19,000 ล้านบาท พบกลุ่มอายุ 20-49 ปี มีสูงสุด 145,302 เคส เสียหาย 8,223 ล้านบาท

วันนี้ (14 พ.ย.2567) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แถลงข่าวผลการแก้ไขปัญหาอาชญา กรรมออนไลน์และภาพรวม ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออน ไลน์ (AOC) ว่า ช่วง 1 ปี ศูนย์ AOC 1441 มี 100 คู่สายให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สามารถระงับอายัดบัญชีม้าให้แก่ผู้เสียหายได้ทันทีภายหลังจากรับสาย เฉลี่ยภายใน 10 นาที และส่งข้อมูลต่อให้ตำรวจ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย เป็นการช่วยเหลือผู้เสียหาย ไม่ต้องติดต่อหรือเดินทางไปแจ้งอายัดกับธนาคาร รวมถึงการติดตามสถานะการแก้ไขปัญหาให้ผู้เสียหาย

แจ้งเคสกว่า 1 ล้านระงับ 3.4 แสนบัญชีม้า

สถิติการแจ้งเหตุโทรเข้า 1441 ทั้งหมด 1,176,512 สาย และระงับบัญชีที่ต้องสงสัย 348,006 เคส แสดงถึงปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ที่รุนแรงและขยายวงกว้างโดยมีมูลค่าความเสียหายรวม 19,000 ล้านบาท 

แถลงผลงานปราบโจรออนไลน์ พบมูลค่าความเสียหาย 19,000 ล้านบาท

แถลงผลงานปราบโจรออนไลน์ พบมูลค่าความเสียหาย 19,000 ล้านบาท

แถลงผลงานปราบโจรออนไลน์ พบมูลค่าความเสียหาย 19,000 ล้านบาท

กลุ่มอายุของผู้เสียหาย 

  • กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็น 9,800 เคส มูลค่าความเสียหาย 193 ล้านบาท ผู้หญิงมีสัดส่วน 61.44 % ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกขายสินค้าบริการที่ไม่เป็นขบวนการ และแก๊งคอลเซ็นเตอร์
  • กลุ่มอายุ 20-49 ปี มีจำนวนสูงสุด 145,302 เคส มูลค่าความเสียหาย 8,223 ล้านบาท ผู้หญิงเป็นเหยื่อ 64.05% ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกโอนเงินเพื่อการหารายได้พิเศษ และการหลอกลงทุนออนไลน์
  • กลุ่มอายุ 50-64 ปี และอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดรวมเป็น 41,901 เคส มูลค่าความเสียหาย 7,769 ล้านบาท ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลงทุนออนไลน์ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุยังคงมีความเสี่ยงสูงในการถูกหลอกในลักษณะนี้

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือกลุ่ม 20-49 ปี มีจำนวนสูงถึง 145,302 เคส รองลงมาคือกลุ่ม 50-64 ปี โดยพบว่าคดีที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้คือ คดีหลอกโอนเงินเพื่อหารายได้พิเศษ และคดีหลอกลงทุนออนไลน์ บ่งบอกถึงความสนใจ และความเชื่อมั่นในโอกาสในการหารายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มในวัยนี้ และทำให้กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของมิจฉาชีพ

ช่องทางเฟชบุ๊ก-กทม.แชมป์

สำหรับช่องทางการหลอกลวงที่พบมากที่สุด พบว่าเป็นช่องทางโซเชียลมีเดีย

  • เฟซบุ๊ก 26,804 เคส มูลค่าความเสียหาย 718 ล้านบาท
  • คอลเซนเตอร์ มี 22,299 เคส มูลค่าความเสียหาย 945 ล้านบาท
  • เว็บไซต์ 16,510 เคส  1,148 ล้านบาท
  • TikTok 994 เคส มูลค่า 65 ล้านบาท
  • ช่องทางอื่นๆ 20,518 เคส มูลค่าความเสียหาย 1,262 ล้านบาท

โดยจังหวัดที่มีการรับแจ้งเหตุ และระงับบัญชีมากที่สุด

  • กทม.มีการแจ้งเหตุ 84,241 ครั้ง และระงับบัญชี 48,558 บัญชี
  • สมุทรปราการ แจ้งเหตุ 17,853 ครั้ง ระงับบัญชี 10,968 บัญชี
  • จันนทบุรี, ชลบุรี, ปทุมธานี ตามลำดับ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง