ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รัฐบาลยอมถอย! รับ 4 ข้อเสนอ ยื่นค้าน "พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์"

สิ่งแวดล้อม
29 พ.ย. 67
14:41
294
Logo Thai PBS
รัฐบาลยอมถอย! รับ 4 ข้อเสนอ ยื่นค้าน "พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รัฐบาลยอมรับข้อเสนอ 4 ข้อ จากเครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า ยื่นค้าน "พ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์" 2 ฉบับ หลังกังวลกระทบสิทธิทำกินของชาาบ้าน กรมอุทยานฯ กางเหตุผลต้องประกาศ ยันพร้อมแก้ความเห็นต่าง

วันนี้ (29 พ.ย.2567) ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรนอกสถานที่จ.เชียงใหม่-เชียงราย สมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า (สชป.) รวมตัวกันบริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยืนยันคัดค้าน ให้ยกเลิกโครงการ พ.ร.ฎ. โครงการอนุรักษ์ ตามมาตรา 64 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 และร่างพ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตาม ม.121 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ห่วงว่าจะกระทบสิทธิประชาชน

โดยมีการส่งตัวแทนเข้าไปพูดคุยกับ นายประเสริฐ จันทรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พร้อมทั้งตัวแทนจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

อ่านข่าว เคาะ One Map สางที่ดิน ทส.ชงพ.ร.ฎ.ป่าอนุรักษ์เข้าครม.12 พ.ย.

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่า หากมีการยื่นหนังสือก็รับ และพร้อมชี้แจง ส่วนข้อทักท้วงที่ชาวบ้านไม่เห็นด้วย ยืนยันว่า กฎหมายมีทั้งผลดี และผลเสีย พร้อมรับฟัง

ส่วนนายอรรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยืนยันว่า ได้มีการพูดคุยกับเครือข่ายประชาสังคม ที่อาจจะเห็นไม่ตรงกันกับร่างพ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์ ซึ่งมีการประสานรับหนังสือจากเครือข่ายจากกลุ่มชาติพันธุ์

เท่าที่พูดคุยได้ดำเนินการตามหลักการ และเดินหน้าไปทั้งตามมาตรา 64 ตาม ม.121 แต่อนุบัญญัติ และกฎหมายแม่ที่ต้องปรับปรุง ต้องคณะทำงานร่วมกัน

ขณะที่ตัวแทนชาวบ้าน ระบุว่าจากการพูดคุยเจรจากับตัวแทนองรัฐบาลมีข้อเสนอ 4 ข้อโดยรองนายกรัฐมนตรี ได้รับหลักการที่จะนำไปพิจารณา และได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันว่า ผลการประชุมทางรัฐบาลจะนำเข้าอนุกรรมการ  นอกจากนี้เสนอกลไกคณะทำงานภาคประชาชนในการแก้ไขไขพ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์

กางเหตุผลชง พ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์ 

กรมอุทยานแห่งชาติ ออกเอกสารชี้แจงกรณี พ.ร.ฎ.โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติว่า เดิมการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เดิมพ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติพ.ศ.2504 และพ.ร.บ.สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ไม่มีบทบัญญัติใด ที่อนุญาตให้ประชาชนอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้ เดิมเป็นเพียงการผ่อนผันทางนโยบายให้ประชาชนอยู่อาศัยทำหรือทำกินภายใต้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมติครม.30 มิ.ย.2541 ที่แก้ไขปัญหาประชาชนที่อาศัยหรือทำกินมาก่อนปี 2545

ต่อมารัฐบาลมีคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 วางมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ภายหลังมติครม.30 มิ.ย.2541 แต่ต้องอยู่อาศัยก่อนปี พ.ศ.2557 และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เสนอครม.ให้มีมติเห็นชอบพื้นที่เป้าหมาย และกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท) และครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามมติ คทช.ดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2561

อ่านข่าว ทางหลวงชนบทแจ้ง 47 สายทางใน 5 จว.ใต้น้ำท่วม-รถผ่านไม่ได้

โดยกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดิน ของประชาชนในเขตป่าอนุรักษ์ ในกลุ่มที่ 4 ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ทั้งก่อนและหลังมติ ครม.30 มิ.ย.2541 กำหนดให้นำผลการสำรวจตามมติครม.30 มิ.ย.2541 และผู้ที่อยู่ภายหลังมติ ครม.30 มิ.ย.2541 แต่ก่อนปี 2557

ตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 มาตรวจสอบร่วมกับประชาชน และกำหนดเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำกินอันสอดคล้องกับการปรับปรุงกฎหมาย เป็นพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เพื่อให้นำพื้นที่ตามนโยบายของรัฐบาลมารับรองให้ประชาชน สามารถอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และกำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พร้อมทั้งให้มีแผนที่กำหนดแนวเขตที่ชัดเจนแนบท้าย

กรมอุทยานได้สำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนในเขตป่าอนุรักษ์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้วเสร็จได้จำนวนทั้งสิ้น 224 ป่าอนุรักษ์ จำนวน 4,042 หมู่บ้าน 314,784 ครอบครัว 466,307 แปลง เนื้อที่ 4.257 ล้านไร่

เหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินตราพระราชกฤษฎีกา ให้แล้วเสร็จภายใน
27 พ.ย.2567 ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ได้บัญญัติให้กฎหมายระดับพระราชบัญญัติต้องมีการออกกฎภายในระยะเวลา 2 ปี 

แต่ในกรณีที่บทบัญญัตินั้นให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับได้โดยไม่ต้องมีกฎ โดยระยะเวลา 2 ปี ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปีรวมเป็น 3 ปี

สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์ฯ มีผลใช้บังคับให้นับระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเพิ่มได้อีก 2 ปี รวมเป็น 5 ปี

ทั้งนี้ ประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับจากการแก้ไขปัญหา พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ประชาชนสามารถอยู่อาศัยหรือทำกิน เพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และสามารถกระทำการใด ๆ ในเขตพื้นที่โครงการตามพระราชกฤษฎีกาฯ โดยไม่ต้องรับโทษ

อ่านข่าวอื่นๆ

ยังน่าห่วง! ศปช.ใช้โมเดลน้ำท่วมเหนือ ลุยช่วยชายแดนใต้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง