- วันแรกคิกออฟโอนจ่ายไร่ละ 1,000 บาท ชาวนาภาคเหนือแห่กดเงิน
- ปฏิทินวันหยุดมกราคม 2568 เฉลิมฉลองปีใหม่อย่างสนุกสนาน
วันนี้ (13 ธ.ค.2567) น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เพื่อแก้หนี้ จำนวน 2.1 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านคน และมียอดหนี้รวมประมาณ 890,000 แสนล้านบาท
โดยเปิดใหลงทะเบียนวันแรกเมื่อ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ลดลงมากว่า 10%
ขณะนี้มีประชาชนเข้ามาลงทะเบียนโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" จำนวนมาก อาจทำให้การเข้าใช้บริการสายด่วน 1213 ธปท.และระบบลงทะเบียนมีความล่าช้า แต่ประชาชนเข้าลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านข่าว เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 12 ธ.ค. ช่วยลูกหนี้ 1.9 ล้านราย ยอดหนี้ 8.9 แสนล้าน
เช็กขั้นตอนการลงทะเบียน "คุณสู้ เราช่วย"
- ตรวจสอบรายละเอียด: เข้าไปที่เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo และตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
- สมัครใช้งานด้วยระบบอีเมล หรือ ThaiID โดยสแกน QR บนแอปพลิเคชัน ThaiID เพื่อยืนยันตัวตน
- กรอกข้อมูลการลงทะเบียน: ใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล
- ส่งคำขอแก้หนี้ โดยเลือก ผู้ให้บริการที่ต้องการเข้าร่วม และผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเข้าร่วม หากมีผู้ให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเข้าร่วมมากกว่า 1 แห่ง หรือ ประเภท สามารถกดเพิ่มได้
- ยืนยันการลงทะเบียน: เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วน ให้ลูกหนี้เก็บหมายเลขคำร้องไว้ ระบบจะแสดงหมายเลขคำร้องให้เก็บไว้เพื่อติดตามสถานะ
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถจัดการภาระหนี้ได้อย่างยั่งยืน โดยลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 ก.พ.2568
ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนทุกคน ที่ลงทะเบียนในระยะเวลาดังกล่าว และมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิ์เท่ากันทุกคน โดยสถาบันการเงินจะเริ่มติดต่อกลับตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2568 และสามารถตรวจสอบสถานะคำร้องผ่าน เว็บไซต์ www.bot.or.th/khunsoo หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสายด่วนธนาคารแห่งประเทศไทยที่เบอร์ 1213 สำหรับเงื่อนไขเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้มีดังนี้
มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์
เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินหนี้ไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและลดภาระดอกเบี้ย โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดเงินต้น รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ
- ลดค่างวดเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยลูกหนี้ชำระค่างวดขั้นต่ำที่ 50% 70% และ 90% ของค่างวดเดิม ในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ ซึ่งค่างวดทั้งหมดจะนำไปตัดเงินต้น
- พักดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับยกเว้นทั้งหมด หากลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขได้ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่อยู่ภายใต้มาตรการ
ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถชำระมากกว่าค่างวดขั้นต่ำที่กำหนดไว้ได้ เพื่อตัดเงินต้นเพิ่มและปิดจบหนี้ได้ไวขึ้น โดยคุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ มีวงเงินสินเชื่อรวมต่อสถาบันการเงินไม่เกินที่กำหนด โดยพิจารณาแยกวงเงินตามประเภทสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน ดังนี้
- สินเชื่อบ้าน บ้านแลกเงิน วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท
- สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท
- สินเชื่อเช่าซื้อ จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท
- สินเชื่อธุรกิจ SMEs วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท
ส่วนกรณีสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต หากมีหนี้บ้านหรือรถที่เข้าเงื่อนไขข้างต้น สามารถพิจารณาเข้ามาตรการรวมหนี้ได้ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่สถาบันการเงินรับได้ โดยวงเงินเมื่อรวมแล้วไม่เกินเงื่อนไขที่กำหนด
- เป็นสินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 ม.ค.2567
- มีสถานะหนี้ ณ วันที่ 31 ต.ค.2567 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ เป็นหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 365 วัน
- เป็นหนี้ที่ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน แต่เคยมีประวัติการค้างชำระเกิน 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565
มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ”
รูปแบบการช่วยเหลือ ปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนและชำระหนี้ปิดบัญชีได้เร็วขึ้น หนี้ที่เข้าร่วมได้ : สินเชื่อทุกประเภท (ทั้งมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน)
ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการได้ : ลูกหนี้บุคคลที่มียอดหนี้ (รวมดอกเบี้ย) ไม่เกิน 5,000 บาทต่อบัญชี มีสถานะบัญชี ณ วันที่ 31 ต.ค.67 ค้างชำระเกิน 90 วันโดยคุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกหนี้บุคคลธรรมดา ที่มีสถานะค้างชำระเกินกว่า 90 วัน (NPL) ณ วันที่ 31 ต.ค.2567
- มีภาระหนี้ต่อบัญชี ไม่เกิน 5,000 บาท โดยไม่จำกัดประเภทสินเชื่อ (สามารถเข้าร่วมมาตรการได้มากกว่า 1 บัญชี)
ในระยะต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม Non-Bank อื่น ๆ จะมีความช่วยเหลือออกมาเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างไป ลูกหนี้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการศึกษารายละเอียดของมาตรการ www.bot.or.th ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.2567 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568
อ่านข่าวอื่นๆ
เช็กจุดเสี่ยง-วิธีเอาตัวรอดช้างป่าภูกระดึงตกมัน
"ภรรยา สจ.โต้ง" ยื่นกองปราบขอโอนคดี-คุ้มครองพยาน