"ผังเมือง" ถูกนำมากล่าวถึงทุกครั้งที่เกิดปัญหาน้ำท่วมหนัก ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในหลายจังหวัดทุกภูมิภาค เมื่อเมืองเข้าไปรุกพื้นที่มีการก่อสร้าง อาคาร สถานที่ หรือแม้กระทั้ง การสร้างถนนขวางทางน้ำ การทับถมเพื่อเปลี่ยนเส้นทางน้ำไหล คือ อุปสรรคสำคัญ ต่อการระบายน้ำ หรือน้ำรอการระบาย ไม่เพียงฝีมือมนุษย์ในการวางผังเมิืองเท่านั้น แต่ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิด ปัญหาฝนตกน้ำท่วม ซ้ำซาก ครั้งแล้วครั้งเล่า
หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ผู้ที่เดือดร้อนที่สุด คงหนีไม่พ้นประชาชนที่ทุกครั้งนอกจากสูญเสียทรัพย์สินไปกับสายน้ำแล้ว อาจยังต้องเสียชีวิตจากอุทกภัยด้วย ยังไม่รวมความเสียหายด้านเศรษฐกิจและการเกษตร
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภาคกทม. ในฐานะนักวิชาการด้านวิศวกรรม วิเคราะห์ปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ว่า นับจากนี้จะเกิดทุกปีและที่ผ่านมาเคยเตือนเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มีหน่ายงานใดสนใจทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล และเชื่อว่าในปีต่อ ๆไปความเสียหายจะเพิ่มขึ้นทุกปี
ที่หนักคือเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ อาจารย์เสรี ศุภราทิตย์ บอกว่า หากหน่วยงานรัฐไม่จัดการเรื่องน้ำให้มีประสิทธิภาพ คนกรุงเทพฯได้พายเรือกันไปทำงานแน่นอน รัฐบาลทุกยุคพูดว่าจะจัดการเรื่องน้ำสุดท้ายก็ไม่มีใครทำ ซึ่งหากมีการจริงจังจะไม่เกิเดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปภาคใต้เลย
ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภาคกทม. และนักวิชาการด้านวิศวกรรม
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า น้ำท่วมปีนี้ถือว่าหนักกว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ลงมาจนถึงภาคใต้ แต่สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการคือชดเชย และชดเชยซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การที่รัฐบาลชดเชยทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติหากทำเช่นนี้ต่อไปจะทำให้จีดีพีประเทศติดลบได้ เพราะถ้าชดเชยทำได้แต่ควรมีมาตรการป้องกันควบคู่ที่เป็นรูปธรรม
ต้องแก้ที่ต้นเหตุอย่างจริจัง เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นบ่อยและทุกปี ถ้านับตั้งแต่ปี2554 ก็13 ปี ที่มีมีการแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง สักครั้ง
ศ.ดร.สุชัชวีร์ ชี้ว่า ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่มาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และกรุงเทพฯมีการทรุดตัวลงเรื่อยๆ ดังนั้นด้วยลักษณะของภูมิอากาศและภูมิประเทศจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำเกิดน้ำท่วม
2. พฤติกรรมการเติบโตของเมืองการใช้พื้นที่ของคน เช่นพื้นที่นาก็กลายเป็นบ้านจัดสรร มีการสร้างที่อยู่อาศัยขวางทางน้ำ ถมทาง เป็นทั้งมาจากธรรมชาติบวกกับคนที่ทำให้เมื่อมีมวลน้ำไหลมาไม่มีทางออกก็เกิดการท่วมใหญ่ และสุดท้ายการบริหารจัดการของผู้นำทุกยุคทุกสมัยและทุกระดับชั้นที่ให้ความสนใจในเรื่องภัยพิบัติน้อยมาก
ทางออก คือ การสร้างเขื่อน และคลองกั้นน้ำ หรือแก้มลิง เพราะมีประโยชน์ทั้งควบคุมระดับน้ำและชลประทาน การสร้างแก้มลิงเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะน้ำต้องมีที่พัก และคนที่เสียสละคนแรกที่รัฐ เพราะสามารถใช้ที่ดินของรัฐก่อนได้ แต่ถ้าเป็นที่ดินของประชาชนถ้าชดเชยได้สมเหตุสมผลประชาชนก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ
ขณะที่ภาคใต้3 จังหวัดชายแดน หรือแม้แต่สงขลา สิ่งที่ต้องทำคือทางน้ำไหลผ่าน(วอเตอร์เวย์) ซึ่งมีน้อยมาก เพราะบ้านเมืองสร้างขวางทางน้ำ ตัวอย่างเห็นได้จากหาดใหญ่ที่น้ำท่วมแทบทุกปีก็ไม่เคยได้รับการจัดการเรื่องผังเมืองที่ดี
“เราควรใช้โอกาสที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองให้รองรับภัยพิบัติ ยกตัวอย่าง ที่แม่สายที่เจอน้ำท่วมหนักเพราะผังเมือง ซึ่งควรจะปรับผังเมืองใหม่และทำเป็นคูระบายน้ำแบบญี่ปุ่น ด้วยการสร้างคูคู่ขนานพหลโยธินและแม่สายลงมาเพราะเมียนมาเองทำทำนบกั้นน้ำเพราะรัฐบาลเมียนมาปกป้องคนของเขา แต่ไทยทำอะไรบ้าง? ไม่ทำเลย เสียเวลาไป2-3 ปีน่าเสียดายมาก”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ส่วนทางภาคใต้ที่เกิดน้ำท่วมหนัก เป็นเรื่องของผังเมืองอย่างรุนแรง หน่วยงานรัฐหรือคนที่ดูแลเรื่องผังเมือง ไม่มีการวางแผนผังเมืองเพื่อรับมือกับภัยพิบัติเลย เช่น ที่สงขลา ทะเลสาบสงขลาน้ำไม่เคยไปถึง ลงมาก็อยู่ที่หาดใหญ่ ทางน้ำธรรมชาติไม่มี แก้มลิงธรรมชาติก็ไม่มี ไม่มีอะไรสักอย่างที่เป็นตัวรองรับมวลน้ำ
ผมเคยบอกว่า ผังเมืองถ้าแก้ไขได้ก็ควรแก้ แต่ถ้าแก้ยากอย่างน้อยที่สุด ที่สามารถทำได้พลาง คือทำทางระบายน้ำเพื่อให้น้ำมีที่ไป แต่จะทำอย่างไร? ก็ใช้พื้นที่ที่ข้างถนนหลวง พื้นที่ริมทางรถไฟ สามารถนำมาใช้ได้และการขุดราคาไม่แพงและได้ผลดีมากในการให้น้ำมีที่ไป
นอกจากนี้ รัฐบาลควรจัดเจ้าภาพขึ้นมาในการจัดการเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีเจ้าภาพ เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบกระจายไปอยู่หลายกระทรวง ควรมีรองนายกฯที่ใหญ่กว่ารัฐมนตรีมานั่งสั่งการเพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกันมากกว่ากระจัดกระจายเช่นทุกวันนี้
ขณะที่การขยายถนน ต้องศึกษาให้ดี เพราะถ้าไม่มีการปรับผังเมืองที่ดี ก็อาจจะกลายเป็นอย่างแม่สาย ถนนรามอินทรา สายไหม ร่มเกล้า ลาดกระบังที่มีการก่อสร้างขาวงทางน้ำจนเดือนร้อนเวลาฝนตกหรือมีปริมาณที่รอการระบายมากๆท่วม ที่ผ่านมาหน่วยงานไม่เคยนำบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นไปแก้ไขให้ตรงจุด
เช่น นครศรีธรรมราช ไม่มีผังเมืองที่ดีที่สามารถรองรับน้ำได้ หรือยะลา เคยเป็นจังหวดที่มีผังเมืองที่ดีที่สุดแต่ปัจจุบันมีการก่อสร้างขวางทางน้ำไปหมด บางจังหวัดมีการบุกรุกก่อสร้างอาคาร โรงแรม ที่อยู่อาศัย บนเขา-ตีนเขา สุดท้ายเกิดดินไสด์ มีการออกเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้องไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด เรียกได้ว่าพระแม่ธรนีเอาคืน บ้านเมืองอื่นไม่เป็นเช่นนี้ บทเรียนคือบทเรียนที่หลายฝ่ายต้องตระหนัก
อ่านข่าว:
น้ำท่วมใต้ วิบากกรรมซ้ำซาก ถึงเวลาธรรมชาติเอาคืน "มนุษย์"
“น้ำท่วมใต้” กกร.ชี้เศรษฐกิจเสียหาย 10,000 ล้านบาท