ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ติดตาม Thai PBS

SME หนีตายแข่งขันค้าโลก ใช้ FTA ลดเสี่ยงภาษีสูง "ทรัมป์ 2.0 "

เศรษฐกิจ
19 ธ.ค. 67
18:24
4
Logo Thai PBS
 SME หนีตายแข่งขันค้าโลก ใช้ FTA ลดเสี่ยงภาษีสูง "ทรัมป์ 2.0 "

สถานการณ์การค้าโลกปัจจุบัน มีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แต่ละประเทศต่างออกมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น เพื่อปกป้องไม่ให้ประเทศเสียเปรียบคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่ อย่าง สหรัฐ จีน ที่เปิดหน้าทำสงครามการค้าชัดเจน ส่งผลให้หลายประเทศได้และเสียประโยชน์จากความขัดแย้งของมหาอำนาจ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรการค้าของ 2 ยักษ์ใหญ่ จึงต้องวางตัวเป็น กลางที่สุด และพยายามมองหาโอกาสทางด้านการค้าให้กับสินค้าไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเวทีถกภาคเอกชน ประเด็นโอกาสและความท้าทายจากสถานการณ์ทางการค้าในยุค ทรัมป์ 2.0 FTA ทางรอดธุรกิจไทยในการส่งออก เพื่อกระจายความเสี่ยงการส่งออกไปยังตลาดใหม่และตลาดที่ไทยมี FTA

นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าในโลกการค้ามีความรุนแรงมากขึ้น นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอีไทยที่ต้องรับมือกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน กรมฯ เล็งเห็นว่า FTA จะเป็นทางรอดธุรกิจไทยที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงการส่งออกไปยังตลาดใหม่และตลาดที่ไทยมี FTA ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะมีแต้มต่อด้านภาษี พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการผลิตสินค้า

โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local content) ให้ได้ถิ่นกำเนิดไทยตามกฎว่าด้วย ถิ่นกำเนิดสินค้าที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการถูกเพ่งเล็งว่าเป็นสินค้าที่ปลอมแปลงหรือแอบอ้างถิ่นกำเนิดจากประเทศที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าแบบแข็งกร้าว

ความท้าทายจากสถานการณ์การค้าโลก ในยุค ทรัมป์ 2.0 เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมความพร้อมในด้านการแข่งขัน นโยบาย America First ของทรัมป์ หรือการคุ้มครองการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นซึ่งทางรอดของผู้ประกอบการไทย คือ การใช้สิทธิประโยชน์จากFTA
นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

ในปี 2567 (ม.ค.- ก.ย.) มีมูลค่าการส่งออกโดยขอใช้สิทธิ FTA รวม 63,501.81 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.2 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 2.11 คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ FTA ร้อยละ 85 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ โดยเป็นการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน จีน และ ญี่ปุ่น มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ ทุเรียน ยางสังเคราะห์และแฟกติชที่ได้จากน้ำมัน เนื้อไก่แปรรูปเป็นต้น

และปี 2568 คาดการณ์แนวโน้มการใช้สิทธิ FTA ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ผลมาจากนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการส่งออกผ่านการใช้สิทธิ FTA และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA ที่จะเป็นแต้มต่อให้สินค้าไทยในการรักษาตลาดและขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวการณ์แข่งขันของการค้าระหว่างประเทศที่มีความเข้มข้น

“การใช้สิทธิพิเศษจาก FTA ของผู้ประกอบการไทยยังน้อย แต่ก็เพิ่มขึ้นกว่าปี 2566 และคาดว่าในหน้าจะมียอดผู้ใช้สิทธิ FTA เพิ่ม 5% หรือ 70,000-80,000 ล้านเหรียญสหรัฐของการส่งออกที่มีสิทธิใช้ FTA อยากให้ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิดังกล่าว ในภาวะการแข่งขันของการค้าระหว่างประเทศที่มีความเข้มข้น

ผลักดันผปก.ไทยใช้สิทธิ FTA ปี 68 

นางอารดา กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์การค้าต่างประเทศที่เข้มข้น กรมฯ เร่งผลักดันการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างเต็มที่ โดยในปี 2568 พร้อมลุยจัดสัมมนาทั่วประเทศรวม 10 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ลำพูน หนองคาย นครพนม นครราชสีมา กาญจนบุรี บุรีรัมย์ และสงขลา โดยครั้งถัดไปเดือนม.ค. 2568 ปักหมุดที่จ.ระยอง

เพราะประโยชน์จากการใช้สิทธิฯ FTA จะช่วยลดภาษีนำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าลดลง เพิ่มผลกำไร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ SME ไทยมีทักษะและศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจเพื่อขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากกรมฯจะเจรจาด้านกฎถิ่นกำเนิดสินค้าให้เหมาะกับรูปแบบการผลิตสินค้าของไทยแล้ว การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่จะใช้ประกอบการลด หรือยกเว้นภาษีขาเข้าจากประเทศคู่ภาคี ปัจจุบันมีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการสูงสุดด้วย

ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการออกกฎระเบียบ และจัดทำระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการใช้บังคับความตกลง ทั้งความตกลงที่มีอยู่เดิม เช่น อาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ที่เพิ่มรูปแบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง และไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)ที่ให้มีการใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-CO ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2568 และความตกลง ฉบับใหม่ล่าสุด คือ FTA ไทย - ศรีลังกา (SLTFTA) ที่คาดว่าจะใช้บังคับในวันที่ 1 มี.ค. 2568

ปัจจุบันประเทศไทยมีFTA แล้ว ทั้งสิ้น 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศคู่ค้าทั้งในรูปแบบพหุภาคีภูมิภาค และทวิภาคีเช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน –จีน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน –อินเดีย ความตกลงการค้าเสรีไทย –ออสเตรเลีย ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น ความตกลง RCEP รวมถึงฉบับล่าสุดที่ประเทศไทยได้ลงนามแล้วได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย –ศรีลังกา เมื่อเดือน ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย

และความตกลงการค้าเสรีไทย – EFTA ที่เจรจา เสร็จแล้ว และมีกำหนดลงนามความตกลงในเดือนม.ค. 2568 โดย FTA ที่ประเทศไทยได้ไปทำความ ตกลงมานี้จะทำให้สินค้าไทยได้รับสิทธิพิเศษในการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง สร้างแต้มต่อทางการค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ส่งออกไทยในตลาดต่างประเทศได้

 “ทรัมป์ 2.0” ไม่ต่าง “ทรัมป์ 1.0” ขี้นภาษีเหมือนกัน

นายณัฐชนน จันทองปาน สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า หลังจากที่สหรัฐฯได้ประธานาธิบดีคนใหม่เป็น นายโดนัล ทรัมป์ นักลงทุนมีความกังวลบ้างว่าทรัมป์จะมีนโยบายอะไรที่ทำให้การค้าขายกับสหรัฐฯติดขัดหรือไม่ เพราะตลาดสหรัฐฯถือว่าตลาดเบอร์หนึ่งของสินค้าไทย มีมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งมีการหารือกับสมาชิกของสมาคมฯถึงทิศทางการค้าของสหรัฐฯ พบว่า ยอดส่งออกไปสหรัฐฯบางบริษัทเพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะมีการเร่งการส่งออกก่อนที่สหรัฐฯจะมีมาตรการด้านภาษีก็เป็นไปได้

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้มองว่ามาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯมีทั้งที่ไทยได้ประโยน์และมีความเสี่ยงบ้าง เพราะที่ผ่านมาในช่วงที่ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีมีการปรับขึ้นภาษีสมัยทรัมป์ 1.0 แล้วซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก

จีนโดนภาษี 60% ในขณะที่ไทยโดน10% ยังถือว่ามีช่องวางให้ส่งออกได้ เพราะบางสินค้ายังเป็นที่ต้องการในตลาดสหรัฐฯ ดังนั้นการใช้สิทธิประโยชน์ด้าน FTA จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

คงต้องติดตามนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐ ว่าจะออกมาทิศทางใด ไทยจะถูกมาตรการด้านภาษีเท่าไหร่ ซึ่งไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น ทุกประเทศทั่วโลกคงต้องจับตาว่า ท้ายที่สุดแล้ว ทรัมป์ จะใช้มาตรการด้านภาษีแรงมากน้อยอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ ผู้ประกอบการไทยควรใช้ FTA เป็นแต้มต่อในการทำการค้าในยุคที่การกีดกันทางการค้าที่เพิ่มความร้อนแรง

 อ่านข่าว:

ชี้เป้า SMEไทย ใช้ CBEC ดันสินค้ารุกตลาดจีน

“พิชัย นริพทะพันธุ์” วานิชย์ สู่ ธนกิจการเมือง คุมปากท้องชาวบ้าน

โยนหินถามทาง "ปรับ VAT 15%" รีดภาษีประชาชน ทางตันรัฐบาล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง