ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พาณิชย์ รุกตลาดเอเชียใต้ ฟื้นเวทีประชุม JTC ในรอบ 10 ปี

เศรษฐกิจ
6 ม.ค. 68
15:36
67
Logo Thai PBS
พาณิชย์ รุกตลาดเอเชียใต้ ฟื้นเวทีประชุม JTC ในรอบ 10 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พาณิชย์ จับมือปากีสถาน ฟื้นเวทีประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า JTC ครั้งแรกในรอบ 10 ปี รุกตลาดใหญ่เอเชียใต้ประชากร 240 ล้านคน

วันนี้ (6 ม.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการพบหารือกับ นางรุคซานา อัฟซอลเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย ว่าทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะกลับมาประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ปากีสถาน (ระดับรัฐมนตรี) หลังจากห่างหายไปกว่า 10 ปี

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ นางรุคซานา อัฟซอลเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ นางรุคซานา อัฟซอลเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ นางรุคซานา อัฟซอลเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย

เพื่อหารือแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและบริบทการค้าปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การกลับเข้าสู่การเจรจาความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ไทย-ปากีสถาน การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และการพัฒนาความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ

ได้แก่ อาหาร สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ ประมง และการท่องเที่ยว อันจะช่วยส่งเสริมโอกาสทางการค้าและห่วงโซ่อุปทานระหว่างกัน รวมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศในระยะยาว โดยไทยยินดีเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ปากีสถาน ครั้งที่ 4 ในปี 2568

รมว.พาณิชย์ กล่าวอีกว่า ปากีสถานเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรกว่า 240 ล้านคน มากเป็นอันดับ 5 ของโลก มีประชากรวัยทำงานที่มีกำลังซื้อมากถึง 80 ล้านคน ซึ่งการค้าระหว่างกันมีความเกื้อกูลกันและมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากเนื่องจากสินค้าหลายรายการเป็นสินค้าขั้นกลางจากไทยที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของปากีสถานเพื่อรองรับตลาดภายในและส่งออกไปต่างประเทศ

เช่น ใยสังเคราะห์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่ปากีสถานมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ที่สามารถเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยได้ เช่น สัตว์น้ำ อัญมณี ถ่านหิน และแร่เหล็ก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกัน

โดยไทยได้เชิญชวนให้ผู้ประกอบการปากีสถานเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ My Karachi ระหว่างวันที่ 1-3 ส.ค. 2568 ที่เมืองการาจี ขณะที่ปากีสถานได้เชิญผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน Pakistan ASEAN Trade Development Conference ระหว่างวันที่ 6-9 ส.ค. 2568 ณ กรุงจาการ์ตา

ทั้งนี้ ไทยและปากีสถานยังยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน โดยปากีสถานได้มีการจัดตั้งสภาอำนวยความสะดวกการลงทุนพิเศษ(Special Investment Facilitation Council) เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติใน 5 สาขาหลัก

ได้แก่ เกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงานหมุนเวียน การทำเหมืองแร่ และท่องเที่ยว ในขณะที่ไทยได้เชิญชวนให้ปากีสถานเข้ามาลงทุนจัดตั้ง Data Center ในไทย โดยไทยมีความพร้อมด้านระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีรองรับการลงทุนอย่างเต็มที่ อาทิ ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะไฟฟ้าและน้ำ

สำหรับปากีสถานเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยในช่วง 11 เดือนของปี 2567 (ม.ค. – พ.ย.) การค้าระหว่างไทยกับปากีสถานมีมูลค่า 1,031.76.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกของไทยไปปากีสถานมูลค่า 781.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เส้นใยประดิษฐ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และยางพารา และการนำเข้าของไทยจากปากีสถานมูลค่า 250.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป น้ำมันดิบ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 530.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อ่านข่าว:

 น้ำมัน อาหาร-เครื่องดื่มขึ้น ดันเงินเฟ้อปี67 พุ่ง 0.4%

ตรุษจีนนี้ รัฐบาลแจก 10,000 "กลุ่มผู้สูงวัย" รับเงินผ่านพร้อมเพย์

นาทีทองคนตัวเล็ก คต.ปลดล็อกขั้นตอนส่งออกข้าวเริ่มแล้ว 3 ม.ค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง