ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เสี่ยงระเบิด! ก.อุตฯ สั่งปิด รง.น้ำตาล-โรงไฟฟ้าไทยอุดรฯ

เศรษฐกิจ
16 ม.ค. 68
10:21
0
Logo Thai PBS
 เสี่ยงระเบิด! ก.อุตฯ สั่งปิด รง.น้ำตาล-โรงไฟฟ้าไทยอุดรฯ
ด่วน! กระทรวงอุตสาหกรรม สั่งปิดสั่งโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าไทยอุดรฯ รับอ้อยเผาเข้าหีบสูงสุด 43% ของประเทศ แต่ขาดมาตรฐานความปลอดภัย ไม่มีระบบดับเพลิงและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

วันนี้ (16 ม.ค.2568) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้สั่งการให้ “ทีมตรวจการสุดซอย” นำโดยพนักงานเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี บูรณาการร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานน้ำตาลของบริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด และโรงไฟฟ้าของบริษัทไทยอุดรธานี เพาเวอร์ จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.คำบง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด มีการรับอ้อยเผาเข้าหีบสะสมสูงสุดจากโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 58 โรงงาน คิดเป็น 43.11% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด หรือ 4.1 แสนตัน เทียบเท่าการเผาป่ากว่า 41,000 ไร่

โดย จ.อุดรธานี มีสัดส่วนการรับอ้อยเผาเข้าหีบสูงสุดของประเทศ อีกทั้งยังพบว่า บริษัทไทยอุดรธานี เพาเวอร์ จำกัด ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำส่งให้กับโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี

ทั้งนี้ บริษัทฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัย มีการประกอบกิจการในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงถึงชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานและประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับโรงงาน

นอกจากนี้ บริษัท น้ำตาลไทยอุดรธานี จำกัด ยังมีการประกอบกิจการที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนแก่พนักงานหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับโรงงานในหลายประเด็น เช่น มีการจัดเก็บหรือการดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมี วัตถุอันตราย และกากอุตสาหกรรมที่ใช้และเกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ตู้ควบคุมไฟฟ้าอยู่ในสภาพชำรุดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

อีกทั้ง มีการติดตั้งระบบดับเพลิงที่ไม่พร้อมใช้งานในหลายจุด อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีจึงมีคำสั่งด่วนที่สุดให้บริษัทฯ ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายทั้งหมด จนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเข้มงวด

การประกอบการโรงงานต้องมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างกำไรจากการทำธุรกิจอุตสาหกรรมต้องไม่เบียดเบียนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและการทำธุรกิจของภาคส่วนอื่นด้วย

อ่านข่าวอื่นๆ

ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 60 พื้นที่ กทม. แนวโน้มเพิ่มขึ้นสลับลดลง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง