ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ป่วยฝุ่นพิษ 3 สัปดาห์ 144,000 คน เตือน 5 จว.จมฝุ่น 4 วันติด

สังคม
24 ม.ค. 68
13:47
1,234
Logo Thai PBS
ป่วยฝุ่นพิษ 3 สัปดาห์ 144,000 คน เตือน 5 จว.จมฝุ่น 4 วันติด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.กางตัวเลขเบื้องต้นคนป่วยจากปัญหาฝุ่น PM2.5 แค่ 3 สัปดาห์ของเดือนม.ค.พุ่ง 144,000 คนส่วนใหญ่ผิวหนัง ตาอักเสบ โรคหืด พบ 5 จังหวัดค่าฝุ่นเกิน 75 มคก.ต่อลบ.ม.ต่อเนื่องเกิน 3 ในระดับสีแดง

วันนี้ (24 ม.ค.2568) ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการแก้ปัญหาปัญหาฝุ่น PM 2.5 ว่า จากการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม มีการพิจารณาแนวทางในการประกาศพื้นที่ควบคุมโรคจากฝุ่น PM 2.5

โดยใช้หลักเกณฑ์ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง มากกว่า 75 มคก. ต่อลบ.ม.ติดต่อกันในระยะเวลาหนึ่ง และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอความเห็นชอบมาที่อธิบดีกรมควบคุมโรคพิจารณาประกาศ ซึ่งจะทำให้สามารถออกมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานและพื้นที่ ไม่กระทบทั้งธุรกิจของนายจ้างและรายได้ของลูกจ้าง โดยจะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย

ดร.นพ.วรตม์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ภาพรวมวันนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบจังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานรวม 60 จังหวัด แยกเป็นระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (37.6-75 มคก.ต่อลบ.ม) 45 จังหวัด และระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มากกว่า 75 มคก.ต่อลบ.ม. ขึ้นไป) จำนวน 15 จังหวัด จากเดิม 9 จังหวัด ได้แก่ ระยอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯ เพชรบุรี สระบุรี สุโขทัย ปทุมธานี ลพบุรี สมุทรสาคร ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นสีแดงติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป คือ เพชรบุรี สุโขทัย สระบุรี สมุทรสาคร และกทม. คาดการณ์ว่าช่วงวันที่ 24-27 ม.ค.นี้ พื้นที่ กทม.และปริมณฑล

นอกจากนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานในระดับสีส้ม จึงขอให้ประชาชนตรวจสอบค่าฝุ่นเป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

อ่านข่าว หน.อุทยานฯ ทับลาน แจงเผาป่า 600 ไร่ สร้างแหล่งอาหารช้าง

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

ป่วยฝุ่นพิษพุ่ง 3 สัปดาห์ 144,000 คน 

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ส่วนตัวผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ว่า ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ในช่วงเดือนม.ค.2567 ตัวเลขประมาณ 500,000 คนแบ่งเป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 214,180 คน กลุ่มโรคตาอักเสบ 190,889 คน กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 126,553 คน โรคหืด 11,221 คน และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2,171 คน

ส่วนข้อมูลที่รายงานผ่านระบบด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) รายสัปดาห์ที่เข้ารับบริการในเดือนม.ค.2568 ยังไม่เป็นปัจจุบัน แต่ภาพรวม 144,000 คน เป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบมากที่สุด รองลงมา กลุ่มโรคตาอักเสบ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

จังหวัดที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 75 มค.ก.ต่อลบ.ม

ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นเรียลไทม์ของเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาจะดูผ่านระบบแดชบอร์ด SMOG ดำเนินการร่วมกับระหว่างสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรมควบคุมโรค ,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเขตสุขภาพที่ 1

โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 1 และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียง ใหม่ เฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยในเดือน ม.ค.2567 มีผู้มารับบริการ 230,000 ครั้ง เชียงราย มากที่สุด 67,740 ครั้ง รองลงมาเป็นเชียงใหม่ และพะเยา  40,000 ครั้ง

อ่านข่าว วันนี้ 60 จว.ฝุ่นเกินมาตรฐาน คาด 1-2 วันข้างหน้าแนวโน้มฝุ่นเพิ่มขึ้น

วิธีทำห้องปลอดฝุ่นในบ้าน 

ส่วนนพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในภาวะที่มีฝุ่นละอองสูงในบรรยากาศ การทำห้องปลอดฝุ่นเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองภายในห้อง และลดโอกาสสัมผัสฝุ่นละอองภายในอาคาร โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 

หลักการสำคัญ คือ กันฝุ่นเข้า กรองฝุ่นในห้อง และดันฝุ่นออก ซึ่งมีแนวทางการจัดทำ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การปิดประตู-หน้าต่าง ช่วยป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้ามายังภายในห้อง รูปแบบที่ 2 ระบบฟอกอากาศ และรูปแบบที่ 3 ระบบแรงดันบวก

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถทำห้องปลอดฝุ่นได้เองโดย เลือกพื้นที่หรือห้องสำหรับทำห้องปลอดฝุ่น โดยเลือกที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดฝุ่น มีช่องว่าง ประตูหน้าต่างน้อย เก็บหรือทำความสะอาดวัสดุที่เป็นแหล่งสะสมฝุ่นในห้อง

แนะนำปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิด เพื่อลดช่องว่าง ป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในห้อง  ตรวจสอบรอยรั่วของห้อง เช่น บริเวณประตู หน้าต่าง และปิดช่องหรือรูที่อากาศภายนอกเข้าอาคารได้ด้วยวัสดุปิดผนึก เช่น พลาสติก ยิปซั่มบอร์ด เทป

ลดฝุ่นในห้องโดยใช้ระบบฟอกอากาศหรือการเติมอากาศ เพื่อดันฝุ่นออกจากห้อง และหมั่นดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด ไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย

อ่านข่าว หนีฝุ่น PM2.5 ศธ.สั่งยกเลิกงาน 103 ปี ยุวกาชาดไทย ที่สนามศุภฯ

กรณีที่ใช้เครื่องฟอกอากาศ ขอให้ตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้น เลือกเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะสมกับขนาดห้อง และดูค่าอัตราการจ่ายอากาศสะอาด (Clean Air Delivery Rate; CADR) ซึ่งจะระบุอยู่ที่ตัวเครื่อง/คู่มือ หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องและควรเปลี่ยนแผ่นกรองทุก 6 เดือน – 1 ปี

นอกจากทำห้องปลอดฝุ่นด้วยตนเองแล้ว ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าใช้บริการห้องปลอดฝุ่นได้ทั้งในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข 3,438 ห้อง ศูนย์พัฒนาเด็ก/โรงเรียน 1,003 ห้อง อาคารสำนักงาน 529 ห้อง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และอื่นๆ 426 ห้อง รวม 5,396 ห้อง ใน 62 จังหวัด

โดยค้นหาห้องปลอดฝุ่นใกล้บ้าน รวมทั้งค้นหาความรู้และวิธีการทำห้องปลอดฝุ่น ได้ที่เว็บไซต์ https://podfoon.anamai.moph.go.th/  หรือสอบถามสายด่วนกรมอนามัย 1478 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านข่าว 

ไขคำตอบ! กทม.จมฝุ่นพิษเร็ว อากาศปิด-เผาพื้นที่เกษตร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง