ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปภ.ยกระดับ "แผ่นดินไหว" สาธารณภัยระดับ 3 ห้ามใช้อาคาร 2 แห่ง

ภัยพิบัติ
30 มี.ค. 68
18:22
2,613
Logo Thai PBS
ปภ.ยกระดับ "แผ่นดินไหว" สาธารณภัยระดับ 3 ห้ามใช้อาคาร 2 แห่ง
อ่านให้ฟัง
07:49อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปภ.ยกระดับ "แผ่นดินไหว" เป็นสาธารณภัยระดับ 3 ตามแผนภัยพิบัติแห่งชาติ ผลสำรวจโครงสร้างอาคาร 155 แห่ง 2 แห่งระดับสีแดง (ห้ามใช้อาคาร) พร้อมตั้งงบฉุกเฉินจังหวัดละ 200 ล้านบาท

วันนี้ (30 มี.ค.2568) นายภาสกร บุญญลักษม์​ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ประเทศไทยรับรู้แรงสั่นไหว และได้รับผลกระทบหลายพื้นที่

ขณะนี้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประ กาศยกระดับการจัด การสาธารณภัยกรณีแผ่นดินไหวเป็นสาธารณภัยระดับ 3 (การจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่) มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ในฐานะ บกปภ.ช.เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564-2570

อ่านข่าว "อนุทิน" รับตรวจสอบสัญญาณชีพใต้ซากตึกพบค่อนข้างต่ำ

โดย น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และสั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะการบริหารสถานการณ์ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านกลไกของบกปภ.ช ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัด และศูนย์บัญชาการส่วนหน้ากรุงเทพมหานคร

การแจ้งเตือนภัยไปยังประชาชนที่ทุกหน่วย จะต้องร่วมมือกันในการแจ้งเตือนภัยให้รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ การคมนาคมและการจราจร จะต้องมีแผนรองรับกรณีต้องปิดเส้นทางการจราจรให้มีความปลอดภัย

การตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบและยืนยันความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน การเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และการประชา สัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และวิธีการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าว เปิดข้อมูล บริษัทร่วมลงทุนสร้างตึกใหม่ สตง.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ตรวจสอบตึก สตง.พังถล่ม

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ตรวจสอบตึก สตง.พังถล่ม

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ตรวจสอบตึก สตง.พังถล่ม

ห้ามใช้อาคารสีแดง 2 แห่ง

อธิบดี ปภ.กล่าวว่า ส่วนประเด็นของโครงสร้างอาคารที่เสียหาย หน่วยงานที่เกี่ยวของ และกทม.ร่วมกันตรวจสอบโครงสร้างอาคารอย่างต่อเนื่อง โดยเบื้องต้น กทม.ได้รวบรวมวิศวกรอาสากว่า 130 คน ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบ 155 แห่ง

จากการตรวจสอบพบว่ามีอาคารที่เสียหายในระดับสีแดง (ห้ามใช้อาคาร)  2 แห่ง ประชาชนที่พักอาศัยได้รับข้อมูลและออกจากพื้นที่แล้ว นอกจากนี้มีอาคารที่อยู่ในระดับสีเหลือง 33 แห่ง ระดับสีเขียว 102 แห่ง และอยู่ในระหว่างการรายงาน  18 แห่ง

ส่วนกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ตรวจสอบอาคารไปแล้ว 89 อาคาร จาก 28 หน่วยงานที่ประสานเรื่องเข้ามา โดยจากการตรวจสอบพบว่าสามารถใช้งานปกติ 73 อาคาร มีความเสียหายบางส่วน 13 อาคาร และมีความเสียหายที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม 3 อาคาร

อ่านข่าว "อนุทิน" คุยทูตจีนช่วยตึกถล่ม ตั้ง คกก.สอบหาสาเหตุขีดเส้น 7 วัน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยงานต่างๆยังทำงานแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาผู้สูญหายจากเหตุตึกถล่มแผ่นดินไหว

เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยงานต่างๆยังทำงานแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาผู้สูญหายจากเหตุตึกถล่มแผ่นดินไหว

เจ้าหน้าที่กู้ภัยและหน่วยงานต่างๆยังทำงานแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาผู้สูญหายจากเหตุตึกถล่มแผ่นดินไหว

ตั้งงบฉุกเฉินจังหวัดละ 200 ล้านบาท 

ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) แล้ว 2 จังหวัด คือ ปทุมธานี และจ.แพร่ รวมทั้งกทม.ที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติเต็มพื้นที่

โดยกรมบัญชีกลางได้อนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีแผ่นดินไหว) จำนวน 200 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำรงชีพและด้านการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน โดยปภ.ให้จังหวัดที่ได้รับผลกระทบเร่งตรวจสอบ และจัดทำบัญชีความเสียหาย รวมถึงให้ความช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว

โดยหากสำรวจแล้วพบว่าความเสียหายเกินวงเงินการอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้จังหวัดทำเรื่องขอขยายวงเงินมาที่ปภ.เพื่อให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด

สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดค้างในอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างถล่มลงมา ได้มีการวางระบบการดำเนินงาน รวมถึงกำหนดพื้นที่ค้นหาและกู้ภัย (Zoning) อย่างเป็นระบบและชัดเจน ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยทหาร หน่วยพลเรือน ตลอดจนอาสาสมัคร มูลนิธิ ร่วมกันดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะนี้ทีมงานในพื้นที่ อยู่ในระหว่างการให้ความช่วยเหลือของอย่างกำลัง นอกจากนี้ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหา และกู้ภัยจากต่างประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล เข้ามาสนับสนุนการค้นหาและผู้ประสบภัยที่ยังติดค้างในอาคาร 

อ่านข่าว เช็กอาการ! โรคสมองเมาแผ่นดินไหว-แผ่นดินไหวทิพย์

18 จังหวัดรับผลกระทบแผ่นดินไหว

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน มีรายงานประชาชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้  63 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา แพร่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร ศรีสะเกษ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี

ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี รวมถึง กรุงเทพมหานคร

ส่วนจังหวัดพื้นที่ได้รับผลกระทบ 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และจังหวัดชัยนาท รวมถึงกทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุด  

อ่านข่าว 

ไขคำตอบ! แรงสะเทือนใต้พิภพ กระทบน้ำพุสีขุ่น-หยุดไหล-ดินผุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง