ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ลดขั้นตอนเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast รวดเร็ว-ป้องกันโกลาหล

สังคม
1 เม.ย. 68
13:36
299
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ลดขั้นตอนเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast รวดเร็ว-ป้องกันโกลาหล
อ่านให้ฟัง
08:05อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติ ระบุระบบ Cell Broadcast ช่วยให้กระบวนการส่งข้อความแจ้งเตือนภัยประชาชนรับข้อความได้รวดเร็ว ป้องกันความโกลาหล แนะถอดบทเรียนแผ่นดินไหวทำแผนความปลอดภัยสาธารณะในอนาคต

วันนี้ (1 เม.ย.2568) จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ศูนย์กลางประเทศเมียนมา ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา สิ่งที่คนพูดถึงกันมาก คือ ระบบการแจ้งเตือนภัย ที่ภาครัฐส่งถึงประชาชนได้ช้ามาก

ซึ่งเมื่อวานนี้ (31 มี.ค.) มีการประชุมกันเรื่องนี้ โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำ ถึงการแจ้งเตือนภัยผ่านการส่งข้อความสั้นด้วย SMS ก่อนที่ระบบ Cell Broadcast จะได้รับการอนุมัติใช้งานในกลางปีนี้ และใช้วิธีการส่งตรงจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และส่งถึงประชาชนโดยตรง เพื่อให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การแจ้งเตือนภัยพิบัติที่ต้องการความรวดเร็ว และครอบคลุมประชาชนจำนวนมาก ระบบ CBS หรือ Cell Broadcast Service (CBS ) ถือเป็นทางเลือกที่ประสิทธิภาพมากกว่า Short Message Service (SMS)

ดังนั้นมาดูลักษณะ ของ Cell Broadcast Service และการทำงานกัน โดย Cell Broadcast Service จะส่งข้อความถึงทุกเครื่องในพื้นที่พร้อมกันในครั้งเดียว (แบบ broadcast) มีเสียงเตือนดังพิเศษแม้เปิดโหมดเงียบ ข้อความจะ Pop-up ขึ้นมาบนหน้าจอทันที เจาะจงพื้นที่ได้ ส่งเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย ไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่ม และทุกเครื่องรับได้เลยแม้เครือข่ายจะหนาแน่น

ซึ่งการปรับวิธีการส่งข้อความสั้นเตือนภัย ดร.ศิรินันต์ สุวรรณโมลี นักวิจัยด้านการจัดการภัยพิบัติ ระบุว่าปัจจุบันที่ยังมีกลไกการส่งผ่าน กสทช.เพราะเนื่องจากอยู่ในระบบที่ส่งแบบ SMS ซึ่งในอนาคตตัวระบบโครงสร้างของ Cell Broadcast ที่สามารถส่งได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมี 3 ขั้นตอน คือเมื่อมีการตรวจจับได้ จะมีการส่งมาที่กรมอุตุนิยมวิทยา คือการส่ง message ผ่าน Cell Broadcast ให้กับผู้ใช้บริการผ่านเครือข่ายโดยตรงเลย

อ่านข่าว : รู้ทันที! "Cell Broadcast" เทคโนโลยีแจ้งเตือนภัยพิบัติใช้กันทั่วโลก

โดยประเทศญี่ปุ่นใช้มาตรฐานที่มีคณะกรรมการประเมินระดับสถานการณ์ภัย พร้อมกับร่างตัวข้อความล่วงหน้าสำหรับฉากทัศน์ และระบบ Cell Broadcast จะดึงข้อความอนุมัติเมื่อเกิดเหตุที่ต้องแจ้งเตือนภัย

สำหรับประเทศไทยความล่าช้า 1.ตัวโครงสร้างพื้นฐานระดับ 2.กระบวนการสร้างข้อความ ที่เหมาะสม 3.กระบวนการอนุมัติที่สามารถส่งได้ครั้งละ 200,000 ข้อความ

ทั้งนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้มีการตั้งคณะกรรมการ Cell Broadcast ได้มีการร่างข้อความอนุมัติไว้ เพียงแต่น่าจะยังอยู่ในกระบวนการประสานงานกับทาง ปภ. จึงมองว่าควรใช้โอกาสนี้ในการผลักดันให้เร็วขึ้น และนำมาทดลองใช้จริง จะช่วยทำให้กระบวนการสั้นขึ้น ที่ไม่ต้องรอการร่างข้อความแบบจากคน แต่สามารถใช้ข้อความอัตโนมัติที่ร่างไว้แล้ว และส่งอนุมัติเมื่อมีการแจ้งเตือน

สำหรับกรณีโทรศัพท์ Android และ IOS ต้องมีการพูดคุยกับทางผู้ให้บริการเครือข่ายในการแก้ระบบเทคนิค แต่ถ้าเป็นต่างประเทศผู้ให้บริการเครือข่ายมีการแก้ปัญหาระบบทางเทคนิคแล้ว ซึ่งสามารถรับข้อความแจ้งเตือนได้ทันที แม้กระทั่งแม้ไม่ได้ใส่ซิมโทรศัพท์แต่เปิดรับสัญญาณก็สามารถส่งได้ทันที 

อ่านข่าว : กทม.ยกเลิกประกาศเขตประสบภัยแผ่นดินไหว ชี้ภาพรวมคลี่คลาย

ขณะที่ระบบ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จะเริ่มใช้ช่วงเดือน ก.ค.ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้ระบบการเตือนภัย โดยต้องมีการประเมินความเสี่ยงแต่ละฉากทัศน์กันใหม่ เพราะความเสี่ยงต่างๆ ที่ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้กลับมาสู่การประเมินแต่อย่างใด และเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงใหม่แล้ว ต้องมีการสร้างข้อความอัตโนมัติที่ให้เหมาะสมกับแต่ละบริบทเพื่อเป็นการสื่อสารในภาวะวิกฤต

ซึ่งจะเห็นได้จากปรากฏการณ์วิ่งฟรีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค.2568 ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นถ้าก่อนหน้านั้นมีระบบที่เชื่อใจได้ว่าขณะนี้เกิดสถานการณ์ แล้วจะได้ออกไปข้างนอกได้อย่างปลอดภัย

ถ้ามียังไม่มีข้อความแจ้งเตือนจะเป็นการตื่นตระหนก และจะทำให้เกิดเหตุการณ์โกลาหลที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เกิดขึ้นเรื่อยการมีข้อความที่รวดเร็ว และเชื่อถือได้จะควบคุมความโกลาหลได้อย่างดี

สำหรับการรับมือด้านภัยพิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาล มองว่าต้องมีการประเมินขั้นที่ 1 ซึ่งยอมรับว่าระดับความรุนแรงของภัยที่ได้รับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากมีเหตุการณ์อาคารถล่มจึงทำให้รู้สึกว่ารุนแรงและไทยเองก็มีโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ปี 2555 เรื่องการควบคุมอาคารที่สร้างให้ทนกับเหตุแผ่นดินไหวอยู่แล้ว

แต่ที่ยังไม่ล้อมคอก คือเรื่องการจัดการความโกลาหลที่เกิดขึ้นตามมาของคน ด้วยความที่ไม่รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เรื่องของแพนิค เรื่องของคนวิ่งนำ ซึ่งยังไม่มีมาตรการเชิงสังคมที่จะเข้ามาควบคุม

อ่านข่าว : การสื่อสารจากรัฐในเหตุวิกฤต หรือ วิกฤตการสื่อสารของรัฐ

ดร.ศิรินันต์ ยังได้มีข้อเสนอ 1.ต้องมีการทำแผน public safety คือความปลอดภัยสาธารณะในอนาคต ความปลอดภัยในอนาคต ต้องมีการทำแผนการการคำนวณความหนาแน่นประชาชน เวลาในการอพยพ และจุดปลอดภัยหรือจุดรวมพลให้พ้นจากแนวอาคาร 2.คนไปอยู่จุดอพยพหรือจุดปลอดภัย แต่ถ้าไม่มีการซ้อมหรือการดูแลกลุ่มเปราะบางที่มีอาการเจ็บป่วยตามมา ซึ่งนอกจากรัฐบาลแล้ว ภาคเอกชนต้องตื่นตัวในการจัดทำแผนด้วย

หลังเหตุการณ์นี้ภาวะผู้นำของการจัดการภัยพิบัติที่ดีในตอนนี้นั้น ดร.ศิรินันต์ มองว่าไม่ใช่ภาวะของการไล่บี้คนกระทำผิด แต่เป็นภาวะของการถอดบทเรียนและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ควรทำ หรือช่องว่างที่ควรแก้ไข

นอกจากนี้หน้าที่และภาวะผู้นำคือการใช้ข้อมูลผลักดันในการแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้ที่มีความจำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงของอาคารเพื่อสร้างความมั่นใจ เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตระหนก และความโกลาหล รวมถึงการบัญชาการในเหตุภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการทำให้คนเกิดความเชื่อใจ ความมั่นคง และรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนข้างหน้าได้

อ่านข่าว :

"ทวิดา" เผยสแกนพบ 6 ร่างเกาะกลุ่ม เหตุอาคาร สตง.ถล่ม

"บิณฑ์" เผยผลสแกนตึก สตง.ถล่ม พบภาพสัญญาณมนุษย์กลุ่มใหญ่ ชั้น 17 - 21

ไขปม! แผ่นดินไหวไทย 22 ครั้ง จับตาอาฟเตอร์ช็อกต่อ 2 สัปดาห์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง