ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กทม.สำรวจรอยร้าวอาคาร ปลอดภัย 1.7 หมื่นราย ไม่ปลอดภัย 34 ราย

สังคม
9 เม.ย. 68
10:42
321
Logo Thai PBS
กทม.สำรวจรอยร้าวอาคาร ปลอดภัย 1.7 หมื่นราย ไม่ปลอดภัย 34 ราย
อ่านให้ฟัง
04:40อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วันที่ 8 เม.ย.2568 นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการแจ้งเหตุอาคารมีรอยร้าวจากประชาชนใน Traffy Fondue รวมทั้งสิ้น 18,857 เคส แบ่งเป็น ปลอดภัยต่อการใช้งาน (เขียว) 17,210 เคส เหลือง 387 เคส สีแดง 34 เคส (2 อาคาร) อยู่ระหว่างการตรวจสอบ 1,590 เคส

ทั้งนี้ มีหนังสือแจ้งเข้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร ให้ดำเนินการประสานผู้ตรวจสอบอาคารเข้าตรวจสอบ โดยแจ้งเจ้าของอาคารแล้วกว่า 5,000 โครงการ แจ้งว่าปลอดภัยต่อการใช้งานสะสม 2,330 โครงการ รายงานซ่อมแซมเฉพาะจุด 140 โครงการ

และมีหนังสือแจ้งเข้าของอาคาร ผู้รับเหมาให้ระงับการใช้เครน จนกว่าจะมีการตรวจสอบ ซึ่งเครนมีจำนวน 201 โครงการ รายงานว่า ปลอดภัยแล้ว 123 โครงการ

ด้านการดูแลช่วยเหลือประชาชน และการเยียวยา/การช่วยเหลือ สถานะล่าสุด ยอดรวมที่ดำเนินการลงเบียนกับ Airbnb แล้ว จำนวน 613 ครัวเรือน 1.คอนโดไลฟ์ ลาดพร้าว แวลลีย์ เขตจตุจักร - คอนโดสกายไรส์ อเวนิว สุขุมวิท 64 เขตพระโขนง จำนวน 436 ครัวเรือน

2.คอนโด/ที่พักอื่น ๆ คัดเลือกจากกลุ่มเปราะบาง และความจำเป็น เช่น ผู้ประสบภัยที่เข้าอาคารไม่ได้ อาศัยอยู่จริงก่อนเกิดเหตุ แผ่นดินไหว คนพิการ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ดูแลบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ขาดความสามารถ ในการหาที่อยู่ โรคประจำตัว รายได้ อาชีพ จำนวนคนในครัวเรือน เป็นต้น จำนวน 177 ครัวเรือน

รวมทั้งศูนย์พักพิง โรงเรียนวัดเสมียนนารี เขตจตุจักร รองรับได้ 150 คน ว่าง 150 ที่ และศูนย์พักคอยญาติ เขตจตุจักร จำนวน 1 แห่ง รองรับได้ 82 คน เข้าพัก 82 คน เต็มจำนวน ทั้งนี้ ศูนย์พักคอยญาติผู้ประสบภัย วันนี้เพิ่ม 5 ราย รวมจำนวนสะสม 156 (ไทย 108 คน, เมียนมา 32 คน, กัมพูชา 8 คน และลาว 3 คน) ยอดวันที่ 7 เม.ย.2568 จำนวน 11 คน

สำหรับการเยียวยาตามระเบียบ กทม. ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2564 ผู้ประสบภัย สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ทุกแห่ง ภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ (ภายในวันที่ 27 เม.ย.2568) โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวก รับแจ้งความที่สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต ในเวลาราชการ

โดยการประเมินเป็นไปตามการประเมินของคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินการสำรวจและประเมินความเสียหายโดยรายงานไปยังสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่อไป

ในส่วนของเจ้าของรถที่จอดอยู่ในที่เกิดเหตุ สามารถมาติดต่อขอรับรถคืนได้ที่กองอำนวยการร่วมภายในห้าง เจ เจ มอลล์ โดยปฏิบัติดังนี้ 1.เจ้าของกรรมสิทธิ์/ ผู้ครอบครอง/ ผู้มีส่วนได้เสีย นำเอกสารหลักฐาน แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ

2.นำสำเนาบันทึกประจำวัน / เอกสารหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของและที่เกี่ยวข้อง มาติดต่อที่จุด ประสานงาน ลงทะเบียน เพื่อแจ้งความประสงค์ขอรับรถ หรือ โทร.02-279-3764 และ 086-035-2455 (ข้อมูล ณ วันที่ 8 เม.ย.2568 เวลา 16.00 น.)

อ่านข่าว : ผู้ว่าฯ กทม.ระบุยังค้นหาผู้สูญหายตลอดเวลา เคลียร์ซากตึกออกได้แล้ว 10,000 ตัน

รื้อซาก สตง.วันที่ 13 ยังไม่พบผู้สูญหาย นายกฯ สั่ง 90 วันหาสาเหตุ

วิธีเอาตัวรอด เซฟชีวิต เมื่อต้องอยู่ใน "ฝูงชนเบียดเสียด"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง