ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สัญญาณบ่งชี้ทางชีวภาพในชั้นบรรยากาศของ "ดาวเคราะห์ K2-18b"

Logo Thai PBS
สัญญาณบ่งชี้ทางชีวภาพในชั้นบรรยากาศของ "ดาวเคราะห์ K2-18b"
อ่านให้ฟัง
06:07อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ เผยสัญญาณบ่งชี้ทางชีวภาพในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b

วันนี้ (18 เม.ย.2568) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร. หรือ NARIT) เปิดเผยว่า ทีมนักดาราศาสตร์นำโดย ศาสตราจารย์ Nikku Madhusudhan มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (James Webb Space Telescope: JWST) ตรวจพบโมเลกุลสำคัญ ได้แก่ ไดเมทิลซัลไฟด์ (Dimethyl Sulfide, DMS) และ ไดเมทิลไดซัลไฟด์ (Dimethyl Disulfide, DMDS) ในชั้นบรรยากาศของ ดาวเคราะห์นอกระบบ K2-18b

การค้นพบดังกล่าวถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biosignatures) ที่สำคัญ งานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร The Astrophysical Journal Letters วันที่ 17 เมษายน 2025

ดาวเคราะห์ K2-18b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบประเภท Sub-Neptune มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 2.6 เท่า และมีมวลมากกว่าโลกประมาณ 8.6 เท่า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 124 ปีแสง โคจรรอบดาวฤกษ์อยู่ในเขตเอื้อต่อการอยู่อาศัย (Habitable Zone) ซึ่งอาจมีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวเคราะห์ ทำให้นักดาราศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ดาวเคราะห์ K2-18b อาจเป็นดาวเคราะห์แบบ Hycean Planet หรือดาวเคราะห์ที่มีมหาสมุทรปกคลุมภายใต้ชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน

นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาธาตุและองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบผ่านการสังเกตการณ์สเปกตรัมของแสงดาวฤกษ์ที่ส่องทะลุผ่านบรรยากาศของดาวเคราะห์ ขณะที่เคลื่อนที่ผ่านหน้า (Transit) เรียกว่า Transmission spectroscopy โดยขณะที่ดาวเคราะห์กำลังเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ โมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์จะดูดกลืนแสงของดาวฤกษ์บางส่วนไว้ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถระบุองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์ได้

ในปี 2019 ได้มีการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล พบว่าบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b ประกอบด้วย น้ำและมีเทน และจากการศึกษาเพิ่มเติมในปี 2023 ด้วยอุปกรณ์ NIRISS และ NIRSpec บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) พบว่า ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b มีองค์ประกอบของแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์อยู่ รวมถึงมีการตรวจพบสัญญาณโมเลกุลไดเมทิลซัลไฟด์ (Dimethyl Sulfide) อย่างอ่อนด้วย

N. Madhusudhan/University of Cambridge, shows the K2-18b super-Earth, a hycean world, such as exoplanet K2-18b which astronomers say they have found the strongest yet “hints” of the life outside this solar system.

N. Madhusudhan/University of Cambridge, shows the K2-18b super-Earth, a hycean world, such as exoplanet K2-18b which astronomers say they have found the strongest yet “hints” of the life outside this solar system.

N. Madhusudhan/University of Cambridge, shows the K2-18b super-Earth, a hycean world, such as exoplanet K2-18b which astronomers say they have found the strongest yet “hints” of the life outside this solar system.

จนกระทั่งในปี 2025 ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Nikku Madhusudhan ได้ใช้อุปกรณ์ MIRI บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดกลาง (Mid-Infrared) พบสัญญาณของโมเลกุลไดเมทิลซัลไฟด์ (Dimethyl Sulfide, DMS) และไดเมทิลไดซัลไฟด์ (Dimethyl disulfide, DMDS) ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b ที่ชัดเจน ด้วยความเชื่อมั่นที่ระดับ 99.7% ซึ่งเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงในการตรวจจับสัญญาณ และมีโอกาสที่บรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18b จะมีอัตราส่วนผสมของโมเลกุลทั้งสองในชั้นบรรยากาศสูงถึง 1% ซึ่งนับว่าสูงกว่าที่พบในชั้นบรรยากาศของโลกมาก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุอีกว่า การตรวจพบโมเลกุล DMS และ DMDS ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นหาสัญญาณบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biosignature) เนื่องจากบนโลกของเรานั้น DMS และ DMDS ผลิตได้จากกระบวนการทางชีวภาพเท่านั้น โดยเฉพาะจากสิ่งมีชีวิตอย่าง "แพลงก์ตอน" ในทะเล ดังนั้น การค้นพบ DMS และ DMDS บนดาว K2-18b จึงเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดในปัจจุบันที่อาจบ่งชี้ถึง การมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้ยังต้องการการยืนยันเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของการวัดซ้ำการอธิบายสัดส่วนโมเลกุล DMS และ DMDS ที่สูงกว่าที่พบในชั้นบรรยากาศของโลกมาก และการพิจารณาความเป็นไปได้ที่โมเลกุลเหล่านี้อาจมีแหล่งกำเนิดจากกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต

นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีมาว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์จะสามารถยืนยันสัญญาณนี้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า (ศ.Nikku Madhusudhan หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว)
(FILES) A handout artist's impression released on September 11, 2019, by ESA/Hubble shows the K2-18b super-Earth, the only super-Earth exoplanet known to host both water and temperatures that could support life

(FILES) A handout artist's impression released on September 11, 2019, by ESA/Hubble shows the K2-18b super-Earth, the only super-Earth exoplanet known to host both water and temperatures that could support life

(FILES) A handout artist's impression released on September 11, 2019, by ESA/Hubble shows the K2-18b super-Earth, the only super-Earth exoplanet known to host both water and temperatures that could support life

สำหรับประเทศไทย การวิจัยดาราศาสตร์ในสาขาดาวเคราะห์และสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะ เป็นหนึ่งในสาขาวิจัยหลักของ NARIT ที่ผ่านมานักดาราศาสตร์ของไทยได้ศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยใช้กล้อง โทรทรรศน์ของ NARIT เองสังเกตการณ์ดาวเคราะห์มากกว่า 10 ดวง และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ เช่น

  • การค้นพบท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าบนดาวเคราะห์ GJ3470b ตีพิมพ์ในวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society
  • การค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ KELT-11b ตีพิมพ์ในวารสาร The Astronomical Journal
  • การค้นพบน้ำในปริมาณสูงบนดาวเคราะห์ HAT-P-26b ตีพิมพ์ในวารสาร The Astronomical Journal

อ่านข่าว : "สี จิ้นผิง" เยือน "กัมพูชา" กระชับสัมพันธ์พันธมิตรแน่นแฟ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง