เตือนภัย...พายุหมุนเขตร้อน “ไห่ถาง”" กระทบอีสาน-ใต้ คืนนี้ และไปรู้จักที่มากของรายชื่อ "พายุ"

26 ก.ย. 54
13:59
47
Logo Thai PBS
เตือนภัย...พายุหมุนเขตร้อน “ไห่ถาง”" กระทบอีสาน-ใต้ คืนนี้ และไปรู้จักที่มากของรายชื่อ "พายุ"

***  อ่าน ที่มาของวิธีการตั้งชื่อ "พายุ"

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 26 กันยายน 2554 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัย พายุโซนร้อน “ไห่ถาง” (Haitang) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 310 กิโลเมตรทางตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 16.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ

คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในคืนนี้ 26 ก.ย. 54  จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับ และจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันที่ 27 กันยายน 2554 ลักษณะเช่นนี้ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีลมแรง จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

วันที่ 26 กันยายน 2554 ในบริเวณจังหวัดมุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 27-28 กันยายน 2554 ในบริเวณจังหวัดนครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 26- 29 กันยายน 2554

ทั้งนี้ ที่มาอันเป็นชื่อของ "ไห่ถาง" มีจุดเริ่มต้น โดยแต่ละปี จะมีคณะกรรมการ กำหนดรายชื่อพายุ (ชุดใหม่) ซึ่งพายุที่เกิดซีกโลกเหนือ จะมีลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทวนเข็มนาฬิกา ส่วนพายุในซีกโลกใต้ลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลางตามเข็มนาฬิกา ในหลายท้องที่จะเรียกพายุไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดบริเวณทางตะวันตกชองมหาสมุทรแปซิฟิกและบริเวณทั้งหมด ของมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ จะเรียกว่าใต้ฝุ่น ถ้าเกดในมหาสมุทรแอตแลนติค ทะเลคาร์รีเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ จะเรียกว่า เฮอริเคน หากเกิดในมหาสมุทรอินเดีย จะเรียกว่า ไซโคลน แต่บางประเทศจะเรียกชื่อพิเศษออกไปอีก เช่น ออสเตรเลียเรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ ที่ฟิลิปปินส์เรียกว่า บาเกียว การตั้งชื่อพายุเริ่มแรกจะใช้หมายเลข 1,2,3,4,....

แต่ค่อนข้างสับสน องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกและสมาชิกเลยตั้งชื่อเป็นอักษณโรมันตั้งแต่ตัว A-Z ตามลำดับก่อนหลังตามวันและเวลาเกิดพายุ และใช้ชื่อผู้หญิง เพื่อจะได้ลดความเกี้ยวกราดลง แต่กลุ่มสตรในอเมริกาได้ประท้วงหาว่าเปรียบผู้หญิงโหดร้าย เลยมีการตั้งชื่อผู้ชายไปด้วย แต่ในปี พศ. 2543 ได้เกิดระบบตั้งชื่อพายุใหม่โดยใช้ภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศในแถบแปซิฟิคตอนบนกับทะเลจีนใต้ รวม 14 ประเทศได้ตกลงกับ องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกตั้งชื่อพายุเอง โดนแต่ละประเทศจะเสนอชื่อมาประเทศละ 10 ชื่อรวม 140 ชื่อ แล้วแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 28 ชื่อ เมื่อเกิดพายุก็จะใช้ชื่อกลุ่มแรกไปเรื่อยจนหมดจึงใช้กลุ่ม 2 ต่อไป

ส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดการออกเสียง ชื่อพายุเป็นภาษาไทย  ด้วยมีคณะกรรมการฯ ร่วมกำหนดเมื่อวันที่  9 พฤษภาคม 2543 มีการพิจารณารายชื่อพายุ และความหมายของชื่อพายุ ซึ่งได้กำหนดใช้เฉพาะกิจการอุตุนิยมวิทยา ให้เข้ากับการออกเสียงของราชบัณฑิตยสถานเพื่อใช้ในราชการ ซึ่งที่ประชุมฯได้ปรึกษาหารือและแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สมควรเผยแพร่ ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ทราบโดยทั่วกัน ในส่วนของประเทศไทย ได้เสนอชื่อพายุชุดใหม่ จำนวน 10 ชื่อ ได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา นิดา มรกต ชบา กุหลาบ และขนุน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง