ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มศว ทำศูนย์พักพิงต้นแบบ “สอนระเบียบวินัยชีวิต”

สังคม
3 พ.ย. 54
11:59
47
Logo Thai PBS
มศว ทำศูนย์พักพิงต้นแบบ “สอนระเบียบวินัยชีวิต”

จัดเสื้อผ้าแจกน้ำท่วมเป็นแผนกให้ผู้ประสบภัยเลือกใช้ เน้นบรรยากาศห้างสรรพสินค้า เตรียมเสนอรมต.ศธ. ทำโครงการฟื้นฟูจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิง

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าขณะนี้มศว องครักษ์เปิดป็นศูนย์พักพิงให้กับผู้ประสบอุทกภัยจำนวน 270 คน แต่ละคนอพยพจากศูนย์พักพิงอื่นๆ ที่น้ำเริ่มสูงขึ้น มีจำนวนไม่น้อยที่ย้ายสถานที่พักพิงอื่นๆมาแล้ว 3 -4 ศูนย์  และจากการลงพ้นที่ดูความเรียบร้อยของศูนย์พักพิงที่มศว องครักษ์ นั้นพบว่าทีมงานผู้บริหารเจ้าหน้าที่ อาจารย์ และนิสิตแพทย์ร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการเข้ามาใช้บริการศูนย์พักพิง ต้องแจ้งชื่อ นามสกุลก่อนจะเข้าพักทุกครั้ง เพราะป้องกันมิชฉาชีพที่จะเข้ามา นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเรื่องการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบอุทกภัย มีแพทย์เวรประจำการยังศูนย์พักพิงตลอดเวลา การจัดระบบเข้าพักพิง ณ มศว องครักษ์ นิสิตคณะแพทย์ช่วยวางระบบไว้อย่างดีมาก อีกทั้งนิสิตแพทย์ส่วนใหญ่จะเรียนและพักอยู่ที่องครักษ์อยู่แล้วจึงทำให้มีเวลาในการเป็นอาสาสมัครศูนย์พักพิง มศว ซึ่งในวันที่ 7 พ.ย. 2554 นิสิตแพทย์มศว เปิดเรียน จึงได้จัดวางระบบให้นิสิตคณะอื่นๆ ที่มีจิตอาสาที่ต้องการทำงานป็นอาสาสมัคร โดยจะสอนงานให้ก่อนเข้าเป็นอาสาสมัครจริงอีกด้วย

“จากประสบการณ์การบริหารงานศูนย์พักพิง มศว องครักษ์ ทำให้เรามองเห็นว่า จะขยายแนวคิดศูนย์พักพิงต้นแบบขึ้น เพราะเห็นพัฒนาการของผู้ประสบภัย ตอนนี้การบริหารงานจะใช้หัวหน้าตอนดูจากการเรียงแถวที่นอนให้หัวหน้าตอนดูแลสมาชิกเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย การทำอาหารก็ช่วยกันทำ การจะให้ผู้ประสบภัยนั่ง ๆนอน เขาก็เครียด ให้คนที่มีจิตอาสาเขามาช่วยกันทำกับข้าว ร่วมกันรับผิดชอบภาชนะของตัวเองโดยมศว ได้แจกจาน ชาม ช้อนและแก้วน้ำให้ทุกคน จากนั้นให้ใช้และนำไปล้าง เพราะการใช้ถุงพลาสติกหรือ กล่องโฟมเป็นการสร้างขยะจำนวนมาก เมื่อเปลี่ยนมาใช้ภาชนะของตัวเองขยะลดลง ทั้งนี้เสื้อผ้าที่มีคนนำมาบริจาคเป็นถุงๆ เราก็นำมาพับและทำเป็นร้านเสื้อผ้าขึ้น ผู้ประสบภัยคนใดต้องการเสื้อผ้าก็มาเลือกหยิบได้ ตามความชอบ ดูขนาดดูสีที่ชอบ แต่ใส่แล้วต้องซัก ไม่ใช่เอาไปทิ้ง มศว จัดที่ซักเสื้อผ้าให้ ตลอดถึงเรื่องการกินอาหารในแต่ละมื้อก็จัดเป็นเวลา ผู้ประสบภัยได้มาเรียนรู้เรื่องของระเบียบวินัย วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้วางระบบระเบียบชีวิตให้ มีผู้ประสบภัยจำนวนมากเห็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเอง จากเดิมเข้าแถวไม่เป็น แซงคิวคนอื่นตลอด ชีวิตไม่มีระเบียบวินัย ก็เริ่มมีระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ผมได้ให้นโยบายว่าผู้ประสบภัยจะอยู่กันเฉยๆ ไม่ได้ เมื่อเข้ามาศูนย์พักพิงมศว ต้องมีความรู้กลับไป จึงได้ให้หัวหน้าตอนไปคุยกับสมาชิกประจำแถวว่า อยากเรียนวิชาชีพอะไร มศว จะจัดสอนให้ ตอนนี้เริ่มที่การเรียนภาษาอังกฤษ ประดิษฐ์ดอกไม้ วาดภาพ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะมนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์รับผิดชอบในเรื่องนี้”

ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่าจากประสบการณ์ของคณะจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตมศวที่ทำงานด้านการบำบัดจิตใจ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในหลายๆ สถานที ๆได้ออกไปให้บริการด้วยจิตอาสา ทำให้มศว คิดโครงการฟื้นฟูจิตใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงโดยนำศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ศิลปะ มนุษยวิทยา จิตวิทยา เข้ามาช่วยผู้ที่ประสบปัญหา ฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะนำโครงการนี้เสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในโครงการนี้ มศว จะทำการอบรม แนะนำวิธีการตลอดถึงมอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์พักพิงอื่นๆ ด้วยเพื่อให้เขามีความรู้ ทักษะในการใช้ฟื้นฟูจิตใจ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงต่างๆ ด้วย ถือเป็นการเตรียมตัวเองเพื่อรับมือต่อปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง