ชื่อของโซ มิน มินหนึ่งในสมาชิกพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยของพม่าถูกจำคุกในข้อหาเรียกร้องให้อองซานซูจีได้รับอิสระถูกเขียนลงบนฝ่ามือของอองซานซูจี ชื่อของเมียว มินไถ่ผู้นำนักศึกษาที่ถูกตัดสินจำคุก 52 ปีในปี 1998 โทษฐานเผยแพร่ใบปลิว และจัดการชุมนุมประท้วงซึ่งปัจจุบันถูกขังอยู่ในเรือนจำยิงฉั่งถูกเขียนลงบนฝ่ามือของเพื่อนที่ชือขิ่น โช มินท์อดีตนักโทษทางการเมืองผู้เคยเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยร่วมกับเมียว มิน ไถ่เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชื่อของนักโทษทางการเมืองของพม่าจำนวนมากถูกเขียนลงบนฝ่ามือของอดีตนักโทษการเมืองกว่า 200 คนที่ถูกปล่อยตัวออกมาซึ่งทุกคนอยู่ในท่ายืนและยกมือขวาขึ้นเป็นภาพในท่าที่คล้ายกับพระพุทธรูปปางประทานอภัย
ภาพเหล่านี้เป็นแนวคิดของเจมส์ แมคคายนักข่าว ช่างภาพสารคดีชาวอังกฤษที่อุทิศเวลากว่า 5 ปีในการตามถ่ายภาพอดีตนักโทษการเมืองของพม่าโดยเดินทางไปทั่วพม่าและประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่อดีตนักโทษเหล่านี้อาศัยอยู่ซึ่งเจมส์สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา และเรื่องอภัยมุทราซึ่งมีความหมายว่าปราศจากความกลัวตั้งแต่สมัยที่เขาทำวิทยานิพนธ์ที่อังกฤษ ข่าวศิลปวัฒนธรรมบันเทิงได้มีโอกาสไปพูดคุยสัมภาษณ์เจมส์ แมคคายเจ้าของแนวคิดนี้ซึ่งเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางกลับเข้าไปทำงานยังพม่าเจมส์จึงขอให้สัมภาษณ์แบบไม่เปิดเผยใบหน้า
เจมส์ แมคคาย กล่าวว่า สำคัญมากที่งานนี้ต้องใช้มือขวา และยืนในท่าอภัยมุทราเท่านั้น โดยมือขวาต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง การยืนในท่าอภัยมุทราเป็นหัวใจสำคัญสำหรับงานของเขาเพราะพระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในพม่าและเขาต้องการเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์นี้
งาน ABHAYA BURMA'S FEARLESSNESS ของเจมส์ แมคคายได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์นักรัฐศาสตร์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์เริ่มรณรงค์ใช้ภาพถ่ายที่บนฝ่ามือมีคำว่าอากงเพื่อปล่อยตัวอากง และรณรงค์ให้ส่งภาพถ่ายมาทาง facebook ซึ่งกลายเป็นกระแสมีผู้ถ่ายภาพเขียนชื่อของอากงบนฝ่ามือโดยเขียนลงบนมือซ้าย และมือขวาร่วมเคมเปญนี้ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำว่าอากงลงบนฝ่ามือ และเขียนคำว่า No Hatre for naked Heart ลงบนเรือนร่างเพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้อากง
แม้ผลงานศิลปะที่เขียนบนฝ่ามือและเขียนบนเรือนร่างเพื่อเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยอากงในประเทศไทยจะได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของเจมส์ แมคคายช่างภาพชาวอังกฤษ แต่แท้จริงแล้วผลงานทั้ง 2 อย่างมีความแตกต่างกันในรายละเอียดหลากหลายอย่างเลย
เจมส์ แมคคายถือเป็นเกียรติที่งานของตนเองสามารถเป็นแรงบันดาลใจเมื่อผลงานของตนได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้การรณรงค์ในประเทศไทย เพราะตัวเขาเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้คนที่เขาได้มีโอกาสพบเจอ รวมถึงผู้คนที่เขาทำงานด้วย อย่างไรก็ตาม Campaign ในประเทศไทย และงานของเจมส์นั้นมีความแตกต่างกันคือทุกๆ ภาพในงาน ABHAYA BURMA'S FEARLESSNESS เขาเป็นผู้ถ่ายภาพด้วยตัวเขาเองโดยเขาและทีมงานเป็นผู้เขียนชื่อลงบนฝ่ามือโดยเขาและเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อจะไปตามหาอดีตนักโทษทางการเมืองของพม่า ถือเป็นการเล่าเรื่องโดยผ่านมุมมองของเจมส์ แมคคายเพียงคนเดียว
ความแตกต่างที่สำคัญคือคนในภาพถ่ายของเขานั้นเป็นอดีตนักโทษทางการเมืองทั้งหมดที่เคยผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายซึ่งอันตรายมากโดยเฉพาะอดีตนักการเมืองที่ถ่ายภาพนี้ในพม่าซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกจับกุมเพราะในพม่าปราศจากอิสรภาพทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นคนทั่วไปที่สนับสนุน และช่วยรณรงค์ทางการเมือง และส่งภาพไปทาง facebook ซึ่งสำหรับงานของเขาไม่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็นการรณรงค์ทางการเมือง เขามองว่างานของเขาเป็นเพียงงานสารคดีที่ต้องการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้สู่สายตาชาวโลกผ่านฝีมือการถ่ายภาพของเขา
ภาพอดีตนักโทษการเมืองกว่า 200 คนของพม่าในนิทรรศการภาพถ่ายอภัย ศานติชัยในพม่าเป็นการเรียกร้องให้ชาวโลกเกิดความตื่นตัว และสนใจในสภาพของนักโทษทางการเมืองที่ต้องทนต่อการทรมานทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งสนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า ซึ่งเป็นความตั้งใจในการเรียกร้องให้เกิดศานติธรรมบนแผ่นดินพุทธศาสนาผ่านสายตาของนักข่าวช่างภาพสารคดีชาวอังกฤษ
ผลงานภาพถ่ายเชิงสารคดีบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์การเมืองของพม่าโดยเจมส์ แมคคายจะนำไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกาเร็วๆ นี้ เพื่อใช้งานศิลปะภาพถ่ายในการเรียกร้องให้ชาวโลกหันมาให้ความสนใจกับประเทศปิดอย่างพม่ามากขึ้น นิทรรศการภาพถ่ายอภัย ศานติชัยในพม่า จัดแสดงถึงวันที่ 15 ธันวาคมที่เซรินเดีย แกลลอรี