5 กลุ่มประโยชน์ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงการ 30 บาท
นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุในกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. เปิดเผยว่า ขณะนี้มี 5 กลุ่มผู้เสียประโยชน์ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายการเมืองได้เข้ามากำหนดอนาคตของระบบหลักประกันสุขภาพ
กลุ่มที่สาม ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน เช่นการผ่าตัดตาต้อกระจก ที่ระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้มีราคาถูกกว่าระบบข้าราชการและระบบประกันสังคม
กลุ่มที่สี่ ผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในวิชาชีพแพทย์บางคน ที่ถูกครอบงำจากธุรกิจยา และธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน
และ กลุ่มที่ห้า นักการเมืองฉ้อฉล เพราะระบบงบประมาณแบบเหมาจ่ายลงสู่หน่วยบริการโดยตรง และ บริหารกำกับโดยกรรมการจากหลายภาคส่วนทำให้นักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ล้วงลูกได้ยากกว่า ระบบงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข
ขณะที่นายนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตัวแทนภาคประชาชน ยืนยันว่า เหตุผลที่กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนเพื่อถ่วงดุลสร้างความเป็นธรรมในระบบสิทธิประโยชน์ ทักทวงการเลือกตั้งการลากตั้งอนุกรรมการที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่การช่วงชิงอำนาจของภาคประชาชน โดยที่ผ่านมากรรมการภาคประชาชนไม่เคยมีผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนมีเพียงค่าเบี้ยประชุมเท่านั้น แต่หากเจ้าของโรงพยาบาลเอกชน หรือ หน่วยบริการ เป็นกรรมการบอร์ด สปสช.ชุดใหม่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและกำหนดเพิ่มค่ารักษา แม้เพิ่มเพียง 1 บาทต่อหัวจะได้เงินมากถึง 48 ล้านบาท
นางสุนทรี เซ่งกิ่ง กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตัวแทนภาคประชาชน บอกว่า รายชื่อของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอนุกรรมการ ของบอร์ด สปสช.ชุดใหม่ เต็มไปด้วยตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน และ ผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยภาคการเมือง แสดงให้เห็นถึงความพยายามครอบงำและเพิ่มผลประโยชน์ของกลุ่มแพทย์พาณิชย์ในระบบหลักประกันสุขภาพอย่างชัดเจน