จุฬาฯวิจัย
** อ่านรายละเอียดงานวิจัย ในไฟล์ Word **
"หอมแดงไทย" และซื้อมาใช้ปรุงอาหารโดยเขาใจว่าหัวใหญ่ดีทำให้การหั้นซอยง่ายกว่าหอมแดงหัวเล็ก ซึ่งจริงๆ แล้วหอมแดงไทยที่เราคิดว่าหัวเล็กนั้น มีกลิ่นหอมฉุนกว่า เนื้อกลับบางสวยเมื่อหั่น ซอยออกมา
ใช้สด ซึ่งเหมาะกับการทำอาหารไทยมากกว่ามากมายนัก เรามารู้จักหอมแดงกันดีกว่า หอมแดงเป็นพืช ผักสมุนไพรที่มีรสฉุนมีการเริ่มต้นปลูกในเขตตะวันออกกลางแถบประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน และด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยปรุงแต่งรสชาติให้ดียิ่งขึ้นจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและเริ่มนำไปเพาะปลูกและบริโภคในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ในประเทศไทยแหล่งเพาะปลูกหอมแดงมากที่สุดคือ ภาค อีสาน ได้แก่ ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, นครราชสีมา รองลงมาคือภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน, เชียงใหม่, เชียงรายและอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ยังมีปลูกกันที่ราชบุรี, กาญจนบุรี และนครปฐม ด้วย พันธุ์หอมแดงที่นิยมปลูกในบ้านเรา ได้แก่ หอมบั่ว และหอมแดงศรีสะเกษ
หอมแดงพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า หอมบั่ว เป็นหอมแดงที่มีเปลือกนอกสีเหลือง ปนส้มขนาดหัวปานกลาง ลักษณะกลมสี ใน 1 หัวแยกได้ 2-3 กลีบ กลิ่นไม่ฉุนจัด รส หวาน
หอมแดงพันธุ์บางช้าง หรือหอม แดงศรีสะเกษ เป็นหอมแดง ที่มีเปลือกนอกสีม่วงปนแดง เปลือกหนาและเหนียว ขนาดหัวใหญ่ สม่ำเสมอ หัวมีลักษณะกลมใน 1 หัว มี 1-2 กลีบ กลิ่นฉุนจัด มี รสหวาน
หอมแดงเป็นพืชผักที่คนไทยรู้จักและนิยมบริโภคกันมานานนับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย เห็นได้จากทุกครัวไทยจะต้องมีหอมแดงเตรียมไว้เสมอเนื่องจากเป็นส่วน
ประกอบสำคัญของอาหารไทยแทบทุกชนิดเพื่อใช้แต่งกลิ่นอาหารคาวหลายชนิดเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงและน้ำพริกทุกชนิด น้ำยำ ต้มยำ และอาหารประเภทยำ ลาบ เมี่ยง หลน อาจาด ข้าวแช่ ซอสมะขาม รวมทั้งใช้ทำหอมเจียวโรยหน้าอาหารให้มีกลิ่นหอม หรือแม้แต่อาหารจานหลักของคนไทยคือ ไข่เจียว ก็ยังมีการซอยหอมแดงใส่ก่อนเจียวเพื่อให้มีรสชาด หอม อร่อยอีกด้วย รวมถึงประกอบอาหารหวาน เป็นต้น
อาหารไทยประเภทน้ำพริกซึ่งถือเป็นอาหารหลักของคนไทยไม่ว่าจะเป็นการรับประทานแบบเป็นน้ำพริกมีเครื่องเคียง เช่น น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกเผา น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกข้าวซอย น้ำพริกแดง น้ำพริกตาแดง น้ำพริกมะขาม น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกเห็ดหอม น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกลงเรือหรือน้ำพริกที่นำมาประกอบเป็นอาหารหลากชนิดล้วนแต่มีส่วนผสมของหอมแดงทั้งสิ้น เช่น พริกแกง เครื่องแกงสำเร็จรูป น้ำพริกแกงส้ม ผงปรุงรส เป็นต้น
หอมแดงยังมีการนำมาแปรรูปอีกหลากหลายเช่น หอมแดงเจียว/ทอดโดยจุดขายของหอมแดงเจียว อยู่ที่รสชาดดีสะอาด และไม่มีสิ่งเจือปน โดยประเทศต่างๆ นิยมนำไปใช้โรยบนอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว ข้าวเปียก ก๋วยจั๊บ และเส้นพาสต้า หอมแดงป่นใช้ทำเป็นเครื่องเทศ ผงปรุงรส หอมแดงอบแห้ง หอมแดงดอง โดยนำหอมมาดองในน้ำส้มสายชูเพื่อรับอาหารเป็นอาหารว่าง เพื่อใช้รับประทานร่วมกับอาหารประเภทปิ้งย่าง โดยประเทศที่นิยมบริโภคหอมดอง ได้แก่ ออสเตรเลีย
สหราชอาณาจักร หอมผง ใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับปรุงรสในการปรุงอาหาร หอมแดงแช่กระป๋อง หอมแดงแช่แข็ง
ส่วนด้านการแพทย์ทางเลือก ได้มีการนำหอมแดงมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรเนื่องจากมีสรรพคุณทางยา สามารถรักษาโรคโลหิตคั่งในเส้นเลือดแดง แก้หวัด แก้คัดจมูก แก้หอบหืด แก้ท้องอืด แก้บวมน้ำ ขับลม ช่วยย่อยและช่วยให้เจริญอาหารได้เป็นอย่างดีรวมทั้งยังช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อร้ายและแก้อาการอักเสบโดยทำลายโปรตีนที่เป็นสาเหตุทำให้โลหิตคั่งได้อีกด้วย