ปัญหาเด็กและเยาวชนยังคงเกิดขึ้นในสังคงไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุอาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งสภาวะแวดล้อม หรือแม้แต่ตัวเด็กและเยาวชนเอง ทำให้บางคนตัดสินใจกระทำความผิดจนก่อให้เกิดปัญหา กระทั่งนำไปสู่การจับกุมและถูกดำเนินคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
รายงานสถิติการดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชน โดยหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ทั้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมถึงศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ซึ่งจำนวนของการเปลี่ยนแปลงของคดีที่เด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2557 จำแนกตามฐานความผิด มีดังนี้
จากสถิติเด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศในปี พ.ศ.2557 มีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2556 โดยในปี พ.ศ.2557 มีจำนวนคดีที่เด็กและเยาวชนถูกดำเนินคดี 36,537 คดี ส่วนปี พ.ศ.2556 มีจำนวนคดี 36,763 คดี เมื่อพิจารณาจำแนกตามฐานความผิด พบว่าในปี พ.ศ.2557 คดีที่มีฐานความผิดอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.จราจรทางบก, พ.ร.บ.การพนัน มีจำนวนลดลงมากที่สุด ขณะที่ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์, ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย, ความผิดเกี่ยวกับเพศ, ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข เสรีภาพ ชื่อเสียงและการปกครอง ก็มีจำนวนคดีลดลงจากปี พ.ศ.2556 เช่นกัน
ส่วนคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่สุดในปี พ.ศ.2557 โดยมีจำนวน 16,508 คดี ขณะที่ปี พ.ศ.2556 มีจำนวน 15,530 คดี และคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับอาวุธและวัตถุระเบิดก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปี พ.ศ.2557 โดยมีจำนวน 3,252 คดี ส่วนปี พ.ศ.2556 มีจำนวน 2,613 คดี
ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ระบุถึงสาเหตุที่จำนวนคดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนลดลง เนื่องจากก่อนหน้านี้เจ้าพนักงานอาจดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเล็กน้อย แต่ปัจจุบันทัศนคติในการดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชนของเจ้าพนักงานเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นไปได้ว่าบางเรื่องอาจว่ากล่าวตักเตือนได้จึงไม่ได้ดำเนินการ ขณะเดียวกันเจ้าพนักงานก็ให้ความสำคัญกับคดีที่มีโทษรุนแรงมากขึ้น อย่างคดียาเสพติดและคดีอาวุธและวัตถุระเบิด
เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการจับกุมเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดตามฐานความผิดแล้ว และศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เด็กและเยาวชนเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ หรือศูนย์ฝึกฯ จะต้องมีการวิเคราะห์เด็กและเยาวชนแต่ละคนถึงสาเหตุที่กระทำผิด นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในกระบวนการดูแลและป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนกลับไปทำความผิดซ้ำอีก รวมถึงให้ครอบครัวร่วมกับกรมพินิจฯ ติดตามพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนด้วย ขณะที่การดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชนในปี พ.ศ.2558 ยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติ
อธิบดีกรมพินิจฯ ยังกล่าวอีกว่าในปี 2558 กรมพินิจฯ ได้รับมอบหมายจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เป็นหน่วยประสานติดตามและป้องกันกรณีเยาวชนแข่งรถจักรยานยนต์บนทางสาธารณะและการเข้าไปดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบริการ ซึ่งได้ประสานงกับตำรวจในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา รวมถึงการปรับมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทกันด้วย
ส่วนการแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กและเยาวชนได้กระทำผิดแล้วและถูกส่งตัวมาที่สถานพินิจฯ หรือศูนย์ฝึกฯ จะต้องมีการประสานกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน เป็นต้น เพื่อร่วมกันฟื้นฟูเยาวชน นอกจากนี้ยังใช้ระบบผลักดันที่เรียกว่า Individual Routing Counselor (IRC) ที่ให้นักสังคมสงเคราะห์ของกรมพินิจฯ ให้คำปรึกษากับเด็กและเยาวชนในระยะต่อเนื่อง แม้ว่าจะออกจากสถานพินิจฯ ไปแล้