นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ กล่าวว่า สินค้าเกษตรเป็นตลาดที่มีการแข่งขัน แต่รัฐบาลต้องการให้ผูกขาด โดยอ้างว่าเกษตรกรยากจนต้องช่วยเหลือ สินค้าเกษตรส่วนใหญ่แข่งขันกันมาก แต่เมื่อรัฐเข้าไปยุ่งมากเกิดปัญหาตลอดเวลา ซึ่งการผูกขาด จะทำให้สินค้าสำหรับผู้บริโภคแพงขึ้น เกิดปัญหากระจายรายได้ ค้าขายลดลง แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ กำไรของผู้ที่อยากจะได้การผูกขาด จะทำทุกอย่างร่วมทั้งพึงอำนาจรัฐในการเข้ามาผูกขาด เพื่อให้ยั่งยืน
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า อย่างการขายปุ๋ย บ้านเราก็มีบริษัทที่ขายไม่กี่ราย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เกษตรไทยที่ใช่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพไม่ค่อยมีปัญหา แต่เร็วๆ นี้เริ่มมีปัญหารัฐบาลคุมราคาปุ๋ย มีบริษัท 2 กลุ่ม คือบริษัทที่ค้าขายโปร่งใส แต่อีกพวกมีนักการเมืองหนุนหลัง จึงกล้าทำผิดกฎหมาย สัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้น การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุเกษตร กล้ายาง ยาปราศรัตรูไม่มีความโปร่งใส รวมถึงเทคนิคการประมูลข้าว รัฐบาลประมูลข้าวที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เวลาประมูลข้าวจะมีปัญหา เรื่องบริษัทจีนที่จะมาเป็นนายหน้าในการประมูล ปัญหาการขาย บทเรียนที่ผ่านมารัฐบาลเข้ามาแทรกแซงทั้งสิ้น เวลาซื้อของต้องมีนอกมีใน และเวลาที่ขายข้าวผู้ส่งออกมักตัดราคา รัฐบาลขายข้าวลอตใหญ่ ทำมีผู้ประมูลน้อย ซึ่งมีฮั้วกันง่ายมาก ดังนั้นต้องมากรเปิดข้อมูล เปิดข้อมูลแทรกแซงผ่านรัฐสภา ถ้าเป็นไปได้สามารถเพิ่มเติมกฎหมาย การแข่งขันทางการค้าให้นักธุรกิจให้ประชาชนฟ้องรัฐบาล ในการประมูลข้างไม่โปร่งใสได้หรือไม่
ขณะที่ภาคพลังงาน นางรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานมีการผูกขาดทางการค้า โดยไม่ได้มีการแข่งขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ที่กำหนดว่ารัฐวิสาหกิจไม่ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้นองค์กร รัฐวิสาหกิจ ตามวิธีงบประมาณ บ. อย่าง ปตท. จำกัด (มหาชน) หลังจากแปรรูปไปแล้ว ก็ยังใช้สิทธิ์นี้อยู่ คือไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า จึงทำให้ได้เปรียบมาก คือ ปตท. หรือรัฐวิสาหกิจปตท. สามารถถือหุ้นใหญ่ในโรงกลั่นน้ำมัน 5 โรง จาก 6 โรง ซึ่งสามารถผูกขาดราคาน้ำมันได้ ตั้งแต่เราเริ่มมีดรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย รัฐให้แรงจูงใจโรงกลั่นว่าขอให้มากลั่นน้ำมันในไทย แต่ซื้อในราคานำเข้าจากสิงคโปร์ เราส่งออกพลังงานเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลยังคงนโยบายให้แรงจูงใจนี้อยู่ ดังนั้นราคาหน้าโรงกลั่น สิงคโปร์ราคาเท่าไหร่ บวกค่าขนส่งมาประเทศไทย รวมแล้ว ลิตรละ 2 บาท แต่เวลาส่งไปขายต่างประเทศสิงคโปร์ จะลบด้วยราคาขนส่งสินค้า ตกลงส่งข่ายต่างประเทศ ขายถูกกว่าให้คนไทย
นอกจากนี้ยังเกิดการควบรวมกิจการจนทำให้เกิดการผูกขาดโดย ปตท. มีลักษณะควบคุมรวมกิจการทั้งในระดับแนวนอน และแนวดิ่ง ฮุบเอาวัตถุดิบ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันทางการค้า ผูกขาดการขายเชื้อเพลิง น้ำมัน แอลพีจี เอนพีจี เอนทานอล ทุกอย่างในมือปตท.หมด ทำให้กลการแข่งขันไม่เกิดขึ้นจริง เรามีกฎหมายเปิดช่องให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้ามาเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 84 (5) ระบุว่า นโยบายของรัฐเรื่องเศรษฐกิจ ข้อหนึ่งระบุว่าจะต้องส่งเรื่องเศรษฐกิจแข่งขันเสรี เป็นธรรม ป้องกันผูกขาดทางตรงทางอ้อม คุ้มครองผู้บริโภค แต่สภาพการผูกขาดเหล่านี้ยังดำรงอยู่ในธุรกิจด้านพลังงานทำให้ประชาชนเสียประโยชน์อย่างมาก เชื่อว่าปีที่ 13 ต่อจากนี้ไปที่ไทยมีพ.ร.บ.แข่งขันทาการค้า จะมีการปฏิรูปขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อเปิดพื้นที่ธุรกิจรายเล็กเติบโต และลดการผูกขาดทางการค้า ทำให้สังคมไทยเกิดความเป็นธรรม และทำให้ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์สูงที่สุด