ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

4 ไม้ผลัด 2 คานงัด เพื่อสิ่งใหม่ของการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน

12 มี.ค. 55
04:13
23
Logo Thai PBS
4 ไม้ผลัด 2 คานงัด เพื่อสิ่งใหม่ของการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน

"อาการลักเพศจะมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างไร"ก.สะสมชั้นในเพศตรงข้าม ข.แต่งกายเลียนแบบเพศตรงข้าม ค.รักกับเพศเดียวกัน ง.โชว์อวัยวะเพศจ.แอบดูเพื่อนต่างเพศในห้องน้ำ” นี่เป็นเนื้อหาบางส่วนของข้อสอบวัดผลทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือ"โอเน็ต" ช่วงชั้นที่ 4 หรือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา2554 ระหว่างวันที่ 18-19 ก.พ. 2555แนวคำถามของข้อสอบดังกล่าวนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความเหมาะสมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีคำถามผุดขึ้นมาอย่างมากมายตลอดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า

“ระบบการศึกษาของประเทศเรากำลังเดินไปในทิศทางไหนและการศึกษาในบ้านเมืองของเราในแบบที่เป็นอยู่ในขณะนี้จะสามารถบ่มเพาะเยาวชนของบ้านเมืองเราให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและพึ่งพิงตนเองได้”

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการศึกษาที่จะช่วยสอนให้เด็กไทยของเราคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถพึ่งพิงตนเองได้นั้นปัญหาเรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษาก็เป็นปัญหาหลักที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆซึ่งรายงานล่าสุดจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยองค์การสหประชาชาติ(UNDP)ว่าด้วยเรื่อง การพัฒนาคนของ ประเทศไทย (Thailand HumanDevelopment Report) ดัชนีและตัวชี้วัดเรื่องการศึกษาของไทยชี้ว่าการพัฒนาด้านการศึกษาของไทยมีความไม่เท่าเทียมกันโดยจังหวัดที่พัฒนาด้านการศึกษามากที่สุดได้แก่กรุงเทพมหานคร ส่วนจังหวัดที่พัฒนาด้านการศึกษาน้อยที่สุดได้แก่จังหวัดในถิ่นห่างไกลในภาคเหนือภาตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมต้องหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาเพราะนับเป็นการนับหนึ่งของสังคม และสร้างฐานที่แข็งแรงของประเทศ

อมรวิชช์นาครทรรพ์ อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกมาให้ความเห็นเรื่องระบบการศึกษาของประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า“การที่เราจะดูแลเด็กของเราให้สามารถพึ่งพิงตนได้ และสามารถมีเชาวน์ และสติปัญญาที่จะสามารถเอาตัวรอดในสังคมนี้ได้นั้นจะต้องดำเนินการทั้งสิ้น 4 ไม้ผลัด และ 2 คานงัด เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของไทยให้ได้ผลทุกระดับโดยไม้ผลัดแรกนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงวัย 0-5 ปีซึ่งเด็กในวัยนี้จะมีปัญหาค่อนข้างมากเพราะความยากจน และการเข้าไม่ถึงการบริการสาธารณสุขและศูนย์ดูแลเด็กเล็กของประเทศไทยเราก็ไม่ได้มาตรฐานซึ่งจิตแพทย์จะระบุว่าศักยภาพของเด็กๆแต่ละคนเกิดมาก็เท่ากันหมด แต่จะลดลงก็เพราะการเลี้ยงดูของเราซึ่งเราต้องช่วยกันทำรากฐานของเด็กให้ดี เราต้องสร้างองค์ความรู้ให้พ่อแม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูพร้อมทั้งพัฒนาศูนย์ดูแลเด็กเล็กในบ้านของเราให้มีมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกันหมดเพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ช่วงอายุอื่นของเด็กๆ”อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

อาจารย์อมรวิชช์ กล่าวถึงไม้ผลัดที่ 2เพิ่มเติมว่า “ไม้ผลัดที่ 2 คือการดูแลเด็กเป็นเรื่องการศึกษาภาคบังคับของเยาวชนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งถึงปีที่1-3ซึ่งเป็นเรื่องของการเตรียมคนให้มีความรู้พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ดีอ่านออกเขียนได้ รู้เรื่องเทคโนโลยี มีจิตใจสาธารณะรู้เรื่องการเป็นอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งตรงนี้
เราเรียนว่าเป้าหมายของการศึกษาขั้นพื้นฐานปัญหาของประเทศเราไม่ใช่การเข้าไม่ถึงการศึกษาหากแต่เป็นปัญหาเรื่องคุณภาพและความไม่เท่าเทียมกันที่มีสูงมากซึ่งตอนนี้โรงเรียนที่สอนเด็กได้ดีก็ดีไปเลย

ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนของชนชั้นกลางและคนที่มีฐานะแต่โรงเรียนที่ด้อยคุณภาพก็มีเป็นจำนวนมากซึ่งกลายเป็นโรงเรียนทางออกของเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาศสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการคือการทำให้โรงเรียนเล็กๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและอยู่ในพื้นที่ที่ยากจนให้มีคุณภาพมากขึ้น อาทิ การพัฒนาโรงเรียนเล็กๆ ให้เป็นโรงเรียนจิ๋วแต่แจ๋ว หรือรวมโรงเรียนเล็กๆให้เป็นเครือข่ายเข้าด้วยกันเพื่อช่วยเหลือกัน

สิ่งสำคัญที่สุดคือเราจะต้องมีระบบประกันให้เด็กๆทุกคนต้องได้เรียนทุกระดับอย่างแท้จริงเราจะให้เด็กที่ยากจนต้องมาจนอยู่กับการศึกษาแบบเดิมๆต่อไปอีกไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีออกมาในรูปแบบของบัตรทองการศึกษาให้กับคนยากคนจน” อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว

เพิ่มเติมอีกว่า “ไม้ผลัดช่วงที่สามเป็นช่วงของเด็กโตระหว่างอาชีวศึกษาจนถึงมัธยมตรงนี้เป็นโจทย์สำคัญซึ่งจะต้องเตรียมเรื่องการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาชีพซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่เราจะต้องทำโดยอันดับแรกเราต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาของเด็กๆกลุ่มนี้ที่แนบสนิทกับโลกของการปฏิบัติงานจริงซึ่งตอนนี้การเตรียมคนเข้าทำงานเป็นการเตรียมคนแบบที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานจริงสถาบันอาชีวะก็ยังสอนในสิ่งโลกของการผลิตมันก้าวล้ำไปแล้วหรือแม้แต่ในระดับอุดมศึกษาเอง มหาวิทยาลัยเองก็ตกยุคเหมือนกันขณะนี้การเรียนบนฐานการทำงานหรือว่าWorkbase learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ศึกษาในเรื่องของการทำงานในที่ทำงานจริงๆ”

ทั้งนี้สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนอีกด้านคือข้อมูลจากสภาการศึกษาที่ได้ระบุตัวเลขไว้อย่างชัดเจนว่าเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษานั้นในแต่ละปีมีมากกว่า2 แสนคนปัจจัยส่วนใหญ่นั้นล้วนแล้วแต่มาจากความยากจน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรเด็กของประเทศไทย หากแต่มีการศึกษาเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งและเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มภูมิปัญญาชุมชนซึ่งทำอาชีพชุมชนการสอนการศึกษาทางเลือกในลักษณะนี้นั้นจะเชื่อมโยงให้เด็กๆมีงานทำในท้องถิ่น และสร้างโอกาสในเรื่องการทำงานให้กับเด็กที่หลุดออกไปจากระบบการศึกษาการศึกษาเพื่อการมีงานทำมีนัยยะที่มากกว่าการสร้างงานสร้างอาชีพ
แต่เป็นนัยยะของการสร้างสังคมสร้างชีวิตกับเด็ก ๆ เหล่านี้

“การศึกษาในลักษณะนี้มันจะสามารถขยายไปได้ทุกช่วงทุกวัย ซึ่งอาจจะเป็นเด็กที่ยังเรียนหนังสืออยู่อาจจะออกมาเรียนรู้กับปราชญ์ชุมชนก็ได้ หรือจะเป็นผู้ใหญ่ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายอาจจะอยากเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาชุมชนและยกระดับอาชีพขึ้นมาก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พวกกลุ่มปราชญ์อีสานใต้ที่รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชาวนาเขาก็จะรวมตัวกันทำเรื่องไร่นาสวนผสมทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งระยะยาวจะรักษาคุณภาพดินและทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนของการผลิตเราจะไม่ทำให้การศึกษาอยู่ในระบบอย่างเดียว"

" แต่เราต้องทำให้การศึกษาเป็นทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นไม่ใช่การเรียนในโรงเรียนอย่างเดียวซึ่งการศึกษาทางเลือกจะเป็นโอกาสให้กับเด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่มเสี่ยงเป็นอย่างมากซึ่งเด็กที่ออกจากโรงเรียนกลางคันเด็กที่พลาดจากการศึกษานั้นมีตัวเลขที่สูงมาก ส่วนไม้ผลัดที่4เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ที่พ้นวัยเรียนมาแล้วผ่านสื่อผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆตลอดเวลา เป็นสี่ไม้ผลัดให้ครบทุกวงจรของชีวิตของคนไทย”อาจารย์ประจำคณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการศึกษายุคฟ้าใหม่ของประเทศไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง