ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คอนกรีตไม่เสริมเหล็กไม่ใช่ปัจจัยหลักถนนทรุดตัว

อาชญากรรม
23 มี.ค. 55
04:08
278
Logo Thai PBS
คอนกรีตไม่เสริมเหล็กไม่ใช่ปัจจัยหลักถนนทรุดตัว

โครงสร้างของถนนในไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือถนนคอนกรีต และถนนยางมะตอย แต่จากเหตุการณ์ถนนทรุด ที่ถนนพระราม 4 นั้น สันนิษฐานว่าเกิดจากการเทคอนกรีตโดยไม่เสริมเหล็ก แต่การเทคอนกรีตโดยไม่เสริมเหล็กนั้นถือวว่าผิดหลักออกแบบทางวิศวกรรม แต่ไม่ใช่องค์ประกอบที่ทำให้ถนนทรุดตัว

ดูเหมือนว่าข้อสันนิษฐานที่ว่าถนนบริเวณดังกล่าวไม่มีการเทคอนกรีตเสริมเหล็กกำลังจะถูกตรวจสอบว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ถ้าหากเราไปดูโครงสร้างถนนในประเทศไทยพบว่า มี 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ถนนคอนกรีต และอีกประเภทหนึ่งคือ ถนนลาดยางมะตอย ซึ่งทั้งสอง มีโครงสร้างเหมือนกันคือ มีชั้นดิน และชั้นดินลูกรังหนา 10-15 เซนติเมตร ซึ่งถนนลาดยางมะตอย จะบดอัดหินคลุกในชั้นที่สามหนา 5-10 เซนติเมตร ก่อนราดยางมะตอย

ส่วนถนนคอนกรีต จะบดอัดทรายหนา 10 เซนติเมตรในชั้นสาม แล้วจึงเทคอนกรีตเสริมเหล็กหนา 20 เซนติเมตร ตามแบบที่วางไว้ ดังนั้นการเทคอนกรีตโดยไม่เสริมเหล็ก ถือว่าผิดหลักการออกแบบทางวิศวกรรม และผิดตามข้อกำหนดเทศบัญญัติ แต่การไม่เสริมเหล็กไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ถนนทรุดตัว เพราะ ตัวรับแรงยังเป็นโครงสร้างถนนเหมือนเดิม

สำหรับการยุบตัวของถนน รศ.สันชัย อินทพิชัย วิศวกรด้านปฐพี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเหล้าพระนครเหนือบอกว่า ต้องแยกเป็น 2 เรื่อง เรื่องแรก ถนนหรือโครงสร้างของถนนสร้างบนชั้นดินอ่อน ซึ่งจะค่อยๆ ทรุดตัวตามธรรมชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ไม่มีการควบคุมการสูบน้ำบาดาล บางพี้นที่ในกรุงเทพก็มีการทรุดตัวถึงปีละ 10 ซม. แต่ปัจจุบันทรุดตัวน้อยกว่านี้ ซึ่งอันนี้ถือว่าทรุดตัวปกติ อีกประการหนึ่ง คือ ทรุดตัวเนื่องจากวัสดุที่ใช้รองข้างใต้หายไปหรือเป็นโพรง ซึ่งโดยปกติแล้ว ดินหรือวัสดุที่ใช้ข้างล่างมีอยู่ 2-3 ประเภท คือ ทราย ลูกรัง และหินคลุก ซึ่งลูกรัง และหินคลุก โอกาสหายไปจากโครงสร้างถนนเป็นไปยาก เพราะวัสดุเม็ดใหญ่ และมีแรงยึดเหนี่ยวมาก แต่ทราย วัสุดเม็ดเล็ก และไม่มีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน จึงสามารถหนีไปจากพื้นที่ได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง