ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์กลยุทธ์ "กดดัน" ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันวินิจฉัยคดีแก้รธน.

11 ก.ค. 55
14:13
27
Logo Thai PBS
วิเคราะห์กลยุทธ์ "กดดัน" ศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันวินิจฉัยคดีแก้รธน.

แกนนำมวลชน 2 ฝ่าย ทั้งสนับสนุนและคัดค้านการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยคดีแก้รัฐธรรมนูญออกมาแสดงความพร้อมที่จะชุมนุมแล้ว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดวางกำลังตำรวจไว้ 13 กองร้อย หรือ ประมาณ 2,000 นาย เพื่อดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยรวมถึงรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน

แม้จะมีการปฏิเสธกดดันศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งฝ่ายผู้ร้อง และ ผู้ถูกร้องต่าง มีถ้อยคำที่ผ่านการให้สัมภาษณ์เรื่องคดีแก้รัฐธรรมนูญที่ส่อได้ว่า เป็นแรงกดดันไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าประมวลจากคำให้สัมภาษณ์ไม่ว่า ฝ่ายผู้ร้อง หรือ ผู้ถูกร้อง ต่างออกมาแสดงความมั่นใจว่า จะชนะคดี และ มีถ้อยคำบางคำ ส่อว่ากดดันศาลรัฐธรรมนูญ โดยฝ่ายหนึ่งเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ แต่อีกฝ่ายพูดในทำนองไม่ให้เครดิต

  

<"">
  
<"">

เมื่อ "หัว" ส่งสัญญาณบางอย่างออกมา และ มีลักษณะไม่ชัดเจน "หาง" ในฐานะฝ่ายปฏิบัติต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อน โดยเฉพาะกลุ่ม นปช.ยังไม่ได้เป่านกหวีดเรียกชุมนุม แต่ได้สั่งให้แนวร่วมเตรียมพร้อมแล้ว รวมถึงกำชับให้แนวร่วม นปช.เดินทางมาติดตามผลการวินิจฉัยคดีที่สำนักงาน นปช.ในวันศุกร์นี้ ( 13 ก.ค.) แต่ก่อนหน้านี้มีการประกาศให้แนวร่วมเตรียมปรากฏตัวอย่างน้อย 300,000 คน เพราะเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นธรรม

ส่วนความเคลื่อนไหว นปช.ใน 20 จังหวัดภาคอีสานที่แกนนำในพื้นที่ ระบุว่า รอสัญญาณจากแกนนำส่วนกลางเพื่อเคลื่อนมวลชนเข้ากรุงเทพฯ และ บอกว่า เจตนาเดิมของ นปช.ไม่ต้องการให้มีศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเครือข่ายวิทยุชุมชนปกป้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม หรือ ควปค.ที่นัดชุมนุมในวันพรุ่งนี้ ( 12 ก.ค.) และ กล่าวว่า พร้อมที่จะชุมนุมยืดเยื้อหากผลการวินิจฉัยออกมาเป็นลบ

ขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้าม อย่างกลุ่มเสื้อหลากสี และ แนวร่วมประกาศชุมนุมบริเวณด้านหน้าศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ช่วงเช้าของวันศุกร์เพื่อให้กำลังใจและปกป้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ยังมีแนวร่วม ทั้งกลุ่มกองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม กลุ่มธรรมาภิบาล และ เครือข่ายอีกหลายกลุ่มทีเดียวที่เตรียมเสริมทัพเข้ามาร่วมชุมนุมอีกด้วย

  

<"">
  
<"">

สันติบาลวิเคราะห์ข้อมูลมวลชนของทั้ง 2 ฝ่ายและไม่สามารถระบุชัดเจนถึงจำนวน แต่มีการวางกำลังตำรวจไว้แล้ว 13 กองร้อย และหลังการประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง พล.ต.อ.เพียวพันธุ์ ดามาพงษ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยอมรับว่า รู้สึกห่วงสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงเวลาหลังฟังคำวินิจฉัยคดีแล้ว จึงเตรียมกำลังตำรวจดูแลความสงบเรียบร้อยไว้ประมาณ 2,000 นาย และหากเทียบเคียงกับการประเมินสถานการณ์ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งข้อสังเกตได้ถึงความผิดปกติ

การแสดงออกของ ผู้ร้อง และ ผู้ถูกร้อง ที่สะท้อนภาพให้เชื่อได้ว่า เป็นแรงกดดันศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังหมายถึงท่าทีและความเคลื่อนไหวของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือ แม้แต่สื่อมวลชนบางสำนัก ที่เข้าข่ายว่ากลายเป็นกระแสกดดัน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะวิเคราะห์คดีโดยมองกระแสด้วยหรือไม่

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง