ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สาระสำคัญของการไต่สวนผู้ร้อง – ผู้ถูกร้องกรณีแก้ไข้ รธน.

การเมือง
13 ก.ค. 55
03:55
23
Logo Thai PBS
สาระสำคัญของการไต่สวนผู้ร้อง – ผู้ถูกร้องกรณีแก้ไข้ รธน.

ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมลงมติรับคำร้องกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ไว้แล้ว มีคำสั่งให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ยื่นคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากนั้นนัดคู่กรณีชี้แจงด้วยวาจา พร้อมเริ่มกระบวนการไต่สวนและซักค้าน ก่อนนัดส่งคำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งและนัดฟังคำวินิจฉัยคดีในวันนี้ (13 ก.ค.)

ศาลรัฐธรรมนูญเรียกคู่ความคดีแก้รัฐธรรมนูญเข้าเบิกความนัดแรกวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 โดยเริ่มที่ฝ่ายผู้ร้องตามลำดับ คือ พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม,นายวันธงชัย ชำนาญกิจ,นายวิรัตน์ กัลยาศิริ,นายวรินทร์ เทียมจรัสและนายบวร ยสินทร เข้าแถลงคดีด้วยวาจาต่อองค์คณะตุลาการ ขณะที่นายสุรพล นิติไกรพจน์และนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เข้าเบิกความในฐานะพยานที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

โดยสาระสำคัญ ฝ่ายผู้ร้อง เน้นย้ำว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้แก้รัฐธรรมนูญ ด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และชี้ให้เห็นว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง ที่ไม่ใช่วิถีตามรัฐธรรมนูญ พร้อมอ้างอิงถึงบุคคลแวดล้อม โดยเฉพาะประธานรัฐสภา ที่มีการอ้างอิงถึงคลิป ที่เป็นพยานชี้ได้ว่า ไม่เป็นกลางทางการเมือง และมีความใกล้ชิดกับบุคคล หรือพรรคการเมืองบางพรรค โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง และผู้ต้องคดีหมิ่นสถาบัน โดยเชื่อว่าเป็นขบวนการที่มีเจตนาเดียวกัน

นอกจากเนื้อหาของการไต่สวนวันแรก ฝ่ายผู้ถูกร้อง ซักค้านและอ้างคลิปตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันการแก้มาตรา 291 ที่ไม่ต่างกับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 เป็นเหตุให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ขอถอนตัวจากการพิจารณาคดี

 ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังค์เบิกความฝ่ายผู้ถูกร้อง ประกอบไปด้วย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ,นายโภคิน พลกุล,นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ,นายอุดมเดช รัตนเสถียร,นายชุมพล ศิลปอาชา และนายภราดร ปริศนานันทกุล โดยบุคคลทั้งหมดเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ เว้นเพียงนายโภคิน ที่เป็นนักกฎหมายของพรรคเพื่อไทย

โดยสาระสำคัญ ฝ่ายผู้ถูกร้อง ชี้แจงและตอบข้อซักค้าน ด้วยการพยายามเน้นย้ำถึงอำนาจโดยชอบของรัฐสภาต่อการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ และตามกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาต่างก็เห็นชอบร่วมกัน โดยอ้างอิงว่า รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสไว้ให้คณะรัฐมนตรี ส.ส., ส.ว.และประชาชนเสนอแก้รัฐธรรมนูญได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง