ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ขั้นตอนการอ่านคำวินิจฉัยคดีแก้รธน. ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

การเมือง
13 ก.ค. 55
03:58
30
Logo Thai PBS
ขั้นตอนการอ่านคำวินิจฉัยคดีแก้รธน. ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ขั้นตอนการอ่านคำวินิจฉัยกลางคดีแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองขัดต่อมาตรา 68 หรือไม่ ในวันนี้ จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยในช่วงเช้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะนัดประชุมเพื่ออภิปรายคำวินิจฉัยส่วนตนและลงมติ ก่อนที่จะนำมาประมวลเป็นเสียงข้างมากหรือ คำวินิจฉัยกลางและนั่งบังลังก์อ่านคำวินิจฉัยในช่วงบ่าย

นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้ (13 ก.ต.) ตั้งแต่เวลา 09.30 น. องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะเดินทางมายังศาลรัฐธรรมนูญ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติเพื่อประชุมอภิปรายคำวินิจฉัยส่วนตนด้วยวาจาและลงมติ โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพียง 1 หรือ 2 คนเท่านั้น เข้าไปช่วยเหลือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในการบันทึกจัดทำคำวินิจฉัยกลางและมติเพื่ออ่านคำวินิจฉัยคดีให้กับคู่กรณีได้ฟัง ในเวลา 14.00 น.

ซึ่งกระบวนการประชุมอภิปรายจนถึงการลงมติ ตุลาการจะดำเนินการจนกว่าเสร็จโดยจะไม่มีการออกจากประชุม หรือรับโทรศัพท์ ขณะเดียวกันก็จะมีการจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปอำนวยความสะดวกภายในห้องประชุม และห้ามมีการนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปภายในห้อง โดยนอกเหนือจากการตัดสัญญาณโทรศัพท์รอบบริเวณสำนักงานตลอดการประชุมแล้ว บริเวณหน้าห้องประชุมจะมีเครื่องตรวจจับสัญญาณติดตั้งไว้คอยตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากคณะตุลาการไม่ต้องการให้มีการรั่วไหลของคำวินิจฉัยออกไปก่อนที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัย

ประเด็นหนึ่งที่อาจจะเป็นปัญหาได้คือ กรณีมติของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเท่ากัน 4-4 เนื่องจากนาย จรัญ ภักดีธนากุล 1 ใน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้ถอนตัวระหว่างไต่สวนพยาน เพราะเปิดเผยความเห็นส่วนตัวในระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้เกรงว่า อาจเกิดปัญหาความ "ไม่เป็นกลาง" ตามมา ทำให้องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลือ 8 คน ซึ่งมติ 4 ต่อ 4 จะไม่ใช่ประเด็นปัญหา หากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุทางออกไว้ให้ แต่กฎหมายไม่ได้เปิดช่อง ซึ่งกรณีนี้จะแตกต่างกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีทางออกทางข้อกฎหมายที่รัฐธรรมนูญชี้ช่องไว้ หากมีเสียงเท่ากันคือให้อำนาจประธานในการตัดสินชี้ขาด ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าหลังจากทราบมติแล้วหากเสียงออกมาเสมอกันจริงอาจจะต้อง เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนหรือหารือกันหลังลงมติว่าจะหาทางออกกันอย่างไร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง