ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์” พบ “ก๊าซ” พวยพุ่งอย่างผิดปกติบนดาวหาง 29P


Logo Thai PBS
แชร์

“กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์” พบ “ก๊าซ” พวยพุ่งอย่างผิดปกติบนดาวหาง 29P

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/1708

“กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์” พบ “ก๊าซ” พวยพุ่งอย่างผิดปกติบนดาวหาง 29P
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์พบก๊าซที่พวยพุ่งออกมาจากดาวหาง 29P ซึ่งมีหางออกมาถึงสามตำแหน่ง แตกต่างจากดาวหางทั่วไป

ภาพถ่ายของเซนทอร์ 29P จากกล้องโทรทรรศน์บนโลก ภาพถ่ายจาก Chesnok

วัตถุอวกาศที่อยู่กึ่งกลางระหว่างดาวเคราะห์น้อยกับดาวหางในระบบสุริยะของเรา มีชื่อเรียกว่าเซนทอร์ (Centaur) สัตว์ตามตำนานปกรณัมกรีกซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้า นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อนี้ตามลักษณะที่เป็นดาวเคราะห์น้อยแต่ก็สามารถปลดปล่อยหางเจ็ตได้เหมือนกับดาวหาง ซึ่งวัตถุเหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ในวงโคจรระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวเนปจูน ไม่ได้เลยออกไปถึงแถบไคเปอร์หรือเมฆออร์ตเหมือนกับดาวหางทั่วไป

ภาพถ่ายของเซนทอร์ 29P ในย่านอินฟราเรดจากกล้องสปิตเซอร์

เซนทอร์ 29P เป็นเทหวัตถุที่ลอยอยู่ในวงโคจรระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวเนปจูนเช่นเดียวกันกับเซนทอร์อื่น ๆ และมันก็สามารถปลดปล่อยหางเจ็ตเหมือนกับดาวหางออกมาได้อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาเทหวัตถุนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 เนื่องจากพบว่ามันสามารถพ่นเจ็ตออกมาได้เหมือนดาวหางแต่ไม่ได้มีวงโคจรที่รีและส่องแสงออกมาได้สว่างมากเหมือนกับดาวหางที่โดดเด่น เช่น ดาวหางฮัลเลย์หรือดาวหางคาบยาวดวงอื่น ๆ

เมื่อเร็ว ๆ นี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ได้มีโอกาสศึกษาเทหวัตถุนี้ ซึ่งมันได้ค้นพบก๊าซกลุ่มหนึ่งที่พวยพุ่งมาทางดวงอาทิตย์และโลก และได้พบกับลักษณะที่ไม่เคยมีการพบในวัตถุนี้มาก่อน นั่นคือ กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์พบว่าส่วนหัวและท้ายของมันก็มีก๊าซเจ็ตพวยพุ่งออกมา พบเป็น 3 เจ็ตที่พุ่งออกมาจากเซนทอร์ดวงนี้

ภาพถ่ายสรุปข้อมูลของทีมนักวิทยาศาสตร์กล้องเจมส์ เว็บบ์ที่ได้วิเคราะห์ออกมาให้เห็นถึงแนวก๊าซที่พวยพุ่งออกมา 3 ทิศทาง

ถึงแม้ว่ากล้องเจมส์ เว็บบ์จะให้ความคมชัดและรายละเอียดของภาพมากจนสามารถแยกแยะรายละเอียดของก๊าซที่พวยพุ่งออกมาจากตัวของเซนทอร์ได้จนพบว่ามันมีเจ็ตที่พุ่งออกมาสามทาง แต่ตัวกล้องก็ยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถถ่ายภาพนิวเคลียสหรือพื้นผิวของเซนทอร์ดวงนี้ได้เลย แต่จากการตีความข้อมูลและสร้างแบบจำลองสามมิติ ทำให้มีการตั้งสมมติฐานว่าเซนทอร์ดวงนี้อาจจะเกิดจากวัตถุในอวกาศสามก้อนมาก่อตัวและรวมตัวกันเกิดเป็นเซนทอร์ ทำให้มีการพวยพุ่งของเจ็ตสามทิศทางพร้อมกัน อีกทั้งสารที่พวยพุ่งออกมาทั้งสามเส้นนี้ก็มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวเลยด้วย

ภาพวาดจากจินตนาการถึงรูปร่างของก๊าซที่พวยพุ่งออกมาจาก 29P ที่พุ่งออกมาพร้อมกันสามทิศทาง

เหตุผลที่แท้จริงที่เซนทอร์ดวงนี้ปลดปล่อยก๊าซเจ็ตออกมา และกลไกที่ทำให้ตัวมันปลดปล่อยก๊าซออกมาได้ 3 ทิศทางพร้อมกันมันนับว่าแปลกเป็นอย่างมากเพราะในตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจถึงกระบวนการปลดปล่อยก๊าซอยู่ว่าเกิดจากการระเหิดของน้ำบนพื้นผิวหรือคาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ (น้ำแข็งแห้ง) ที่เป็นส่วนประกอบในตัวเซนทอร์ระเหิดและปลดปล่อยก๊าซออกมาหรือไม่ นักดาราศาสตร์ยังคงต้องศึกษาเกี่ยวกับเซนทอร์และเทหวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ไกลกว่าดาวพฤหัสบดีเพิ่มเติมอีกมาก ซึ่งองค์ความรู้นี้อาจจะช่วยไขคำตอบวิวัฒนาการของระบบสุริยะและการกำเนิดของเทหวัตถุในระบบสุริยะของเราได้

เรียบเรียงโดย จิรสิน อัศวกุล


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เจมส์ เว็บบ์กล้องเจมส์ เว็บบ์กล้องฯ เจมส์ เว็บบ์กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศวัตถุอวกาศดาวหาง 29Pดาวหางเซนทอร์CentaurสำรวจอวกาศอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Space - Astronomy
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด