ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ดาวหางมืด” ดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่ ดาวหางก็ไม่เชิง


Logo Thai PBS
แชร์

“ดาวหางมืด” ดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่ ดาวหางก็ไม่เชิง

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/2061

“ดาวหางมืด” ดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่ ดาวหางก็ไม่เชิง
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

โอมูอามูอา วัตถุจากนอกระบบสุริยะชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ วัตถุปริศนาจากนอกระบบสุริยะนี้มีคุณสมบัติที่เร่งความเร็วของตัวมันเองได้อย่างปริศนา นำมาสู่การจัดหมวดหมู่วัตถุประเภทดาวหางมืด (Dark Comet) จนเกิดเป็นการค้นพบวัตถุในกลุ่มนี้มากมายกว่าที่คาดคิดไว้ และการศึกษาเกี่ยวกับวัตถุในกลุ่มนี้อาจกุมความลับกำเนิดชีวิตบนโลก

ภาพถ่ายที่ชัดที่สุดของโอมูอามูอา จากกล้องโทรทรรศน์ William Herschel ภาพจาก Alan Fitzsimmons - NASA

ดาวหางมืดคือกลุ่มวัตถุบนท้องฟ้ากลุ่มใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมา ลักษณะของวัตถุในกลุ่มนี้คือมันมีลักษณะที่ทึบแสงคล้ายกับดาวเคราะห์น้อยแต่เปลี่ยนทิศทางหรือเปลี่ยนของความเร่งได้เองคล้ายกับดาวหาง ซึ่งหลังจากการค้นพบวัตถุในกลุ่มนี้ดวงแรกก็มีการค้นพบตามกันมาเพิ่มอีก 6 ดวง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มีการค้นพบวัตถุที่อยู่ในกลุ่มนี้ดวงที่ 7

นักดาราศาสตร์จัดจำแนกดาวหางมืดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ดาวหางมืดในระบบสุริยะรอบนอกและดาวหางมืดในระบบสุริยะชั้นใน

ภาพวาดของโอมูอามูอา วัตถุจากนอกระบบสุริยะที่ได้รับการตรวจจับโดยมนุษย์เป็นครั้งแรก ที่คาดว่าน่าจเป็นวัตถุประเภทดาวหางมืด

นักดาราศาสตร์ได้ทราบการมีอยู่ของดาวหางมืดนี้ครั้งแรกเมื่อปี 2016 เมื่อมีการติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อย 2003 RM ที่เคลื่อนตัวออกจากวงโคจรที่คาดไว้เล็กน้อย การเบี่ยงเบนวงโคจรดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการเร่งความเร็วแบบปกติของดาวเคราะห์น้อยอย่างการเร่งความเร็วเล็กน้อยจากปรากฏการณ์ยาร์คอฟสกี้ได้ ซึ่งการที่วงโคจรหรือการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้เบี่ยงเบนหรือมีการเปลี่ยนแปลงของความเร่งด้วยตัวของพวกมันเองนั้น การอธิบายเพียงอย่างเดียวของสิ่งเหล่านี้คือการที่วัตถุเหล่านั้นสามารถพ่นก๊าซหรือบางอย่างที่สามารถขับดันให้เกิดแรงปฏิกิริยาขึ้นได้ แต่เมื่อทำการศึกษาหรือติดตามเพิ่มเติมก็กลับไม่สามารถตรวจพบสัญญาณที่บ่งชี้ถึงลักษณะของหางที่เป็นลักษณะที่เด่นชัดของดาวหางได้

ในปี 2017 การมาเยือนของเทหวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะ โอมูอามูอา [1I/2017 U1 (‘Oumuamua)] ไม่เพียงแต่ปรากฏจุดแสงบนพื้นผิวของมันเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แต่ยังเปลี่ยนทิศทางของมันเองได้ราวกับว่ามีเครื่องยนต์หรือไอพ่นบางอย่างที่พ่นเปลี่ยนความเร่งและทิศทางได้ ซึ่งก่อให้เกิดทฤษฎีมากมายว่าวัตถุนี้เป็นยานอวกาศจากสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว

ภาพถ่ายความคมชัดสูงสุดของเทหวัตถุ 1998 KY26 หนึ่งคาดิเดตของดาวหางมืดที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ VLT ภาพจากรายงานของวารสารวิชาการ The Planetary Science Journal

โอมูอามูอาจัดเป็นวัตถุในกลุ่มของดาวหางมืดเนื่องจากมันมีคุณสมบัติและปรากฏการณ์หลายอย่างที่มีลักษณะเดียวกับ 2003 RM ทำให้มีการจัดกลุ่มรวมกันของวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับ 2003 RM เพิ่มเติม

ดาวหางมืดนับได้ว่าเป็นเทหวัตถุในกลุ่มที่ใหม่มาก ยังค้นพบเป็นจำนวนน้อย จึงมีการศึกษาน้อยตามไปด้วย ตัวมันยังมีคำถามอีกมากมายที่รอคอยคำตอบของมันอยู่ ไม่ว่าดาวหางมืดเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากไหน อะไรคือสาเหตุการเปลี่ยนแปลงความเร่งของพวกมัน พวกมันมีน้ำแข็งอยู่ไหม และเป็นจุดก่อกำเนิดชีวิตบนโลกหรือไม่

เรียบเรียงโดย จิรสิน อัศวกุล


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โอมูอามูอาดาวหางมืดDark CometนอกระบบสุริยะอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Space - Astronomy
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด