แยกออกมะ ? มะยงชิด Vs มะปราง ความต่าง 2 ผลไม้แห่งฤดูร้อน

แยกออกมะ ? มะยงชิด Vs มะปราง ความต่าง 2 ผลไม้แห่งฤดูร้อน

11 เม.ย. 68

เพราะ "มะยงชิด" และ "มะปราง" เป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกัน พวกมันจึงมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก เมื่อดูด้วยตาเปล่า ทั้งที่ "รสชาติ" และอะไรหลาย ๆ อย่างก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

Thai PBS สรุปวิธีสังเกต และเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ของ "มะยงชิด-มะปราง" มาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนจะได้รู้จัก "ผลไม้แฝดสยาม" คู่นี้มากยิ่งขึ้น 

🟠 มะยงชิด
- มีสายพันธุ์ย่อยคือ มะยงชิด, มะยงห่าง
- ผลขนาดใหญ่กว่ามะปราง แต่เมล็ดเล็กกว่ามะปราง
- ผลสุกสีเหลืองส้ม
- เปลือกรสชาติเปรี้ยว เนื้อรสชาติหวาน
- ไม่มียาง กินแล้วไม่ระคายคอ

🟡 มะปราง
- มีสายพันธุ์ย่อยคือ มปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว
- ผลเล็กกว่ามะยงชิด แต่ขนาดเม็ดใหญ่กว่า 
- ผลสุกสีเหลืองนวล
- เปลือกรสชาติหวาน เนื้อรสชาติหวานจัด-หวานจืด
- บางพันธุ์มียาง กินแล้วระคายคอ

ข้อมูลล่าสุดจากระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2567 เกษตรกรทั่วประเทศสามารถเก็บเกี่ยวผลมะยงชิดจากสวนได้ทั้งหมด 3,067,106.60 กก. (กิโลกรัม)  และเก็บเกี่ยวมะปรางได้ทั้งหมด 2,289,941.38 กก. (กิโลกรัม)

โดย 5 จังหวัดที่ปลูกมะยงชิดมากที่สุด ในปี 2567 คือ 
1. นครนายก 8,177 ไร่ 
2. สุโขทัย 5,854 ไร่
3. พิษณุโลก 3,159 ไร่
4. จันทบุรี 2,553 ไร่
5. พิจิตร 2,232 ไร่

และ 5 จังหวัดที่ปลูกมะปรางหวานมากที่สุด ในปี 2567 คือ
1. สุโขทัย 4,860 ไร่
2. ระยอง 2,379 ไร่
3. พิษณุโลก 2,315 ไร่
4. นครนายก 2,225 ไร่
5. พิจิตร 929 ไร่

📚 อ่านบทความ 
แยกออกมะ ?  มะยงชิด Vs มะปราง ความต่างของ 2 ผลไม้แห่งฤดูร้อน
: https://www.thaipbs.or.th/now/content/2564
.
#มะยงชิด #มะปราง #ผลไม้หน้าร้อน #ThaiPBS #ThaiPBSNOW 

แยกออกมะ ? มะยงชิด Vs มะปราง ความต่าง 2 ผลไม้แห่งฤดูร้อน

11 เม.ย. 68

เพราะ "มะยงชิด" และ "มะปราง" เป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกัน พวกมันจึงมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก เมื่อดูด้วยตาเปล่า ทั้งที่ "รสชาติ" และอะไรหลาย ๆ อย่างก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

Thai PBS สรุปวิธีสังเกต และเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ของ "มะยงชิด-มะปราง" มาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนจะได้รู้จัก "ผลไม้แฝดสยาม" คู่นี้มากยิ่งขึ้น 

🟠 มะยงชิด
- มีสายพันธุ์ย่อยคือ มะยงชิด, มะยงห่าง
- ผลขนาดใหญ่กว่ามะปราง แต่เมล็ดเล็กกว่ามะปราง
- ผลสุกสีเหลืองส้ม
- เปลือกรสชาติเปรี้ยว เนื้อรสชาติหวาน
- ไม่มียาง กินแล้วไม่ระคายคอ

🟡 มะปราง
- มีสายพันธุ์ย่อยคือ มปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว
- ผลเล็กกว่ามะยงชิด แต่ขนาดเม็ดใหญ่กว่า 
- ผลสุกสีเหลืองนวล
- เปลือกรสชาติหวาน เนื้อรสชาติหวานจัด-หวานจืด
- บางพันธุ์มียาง กินแล้วระคายคอ

ข้อมูลล่าสุดจากระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2567 เกษตรกรทั่วประเทศสามารถเก็บเกี่ยวผลมะยงชิดจากสวนได้ทั้งหมด 3,067,106.60 กก. (กิโลกรัม)  และเก็บเกี่ยวมะปรางได้ทั้งหมด 2,289,941.38 กก. (กิโลกรัม)

โดย 5 จังหวัดที่ปลูกมะยงชิดมากที่สุด ในปี 2567 คือ 
1. นครนายก 8,177 ไร่ 
2. สุโขทัย 5,854 ไร่
3. พิษณุโลก 3,159 ไร่
4. จันทบุรี 2,553 ไร่
5. พิจิตร 2,232 ไร่

และ 5 จังหวัดที่ปลูกมะปรางหวานมากที่สุด ในปี 2567 คือ
1. สุโขทัย 4,860 ไร่
2. ระยอง 2,379 ไร่
3. พิษณุโลก 2,315 ไร่
4. นครนายก 2,225 ไร่
5. พิจิตร 929 ไร่

📚 อ่านบทความ 
แยกออกมะ ?  มะยงชิด Vs มะปราง ความต่างของ 2 ผลไม้แห่งฤดูร้อน
: https://www.thaipbs.or.th/now/content/2564
.
#มะยงชิด #มะปราง #ผลไม้หน้าร้อน #ThaiPBS #ThaiPBSNOW