"อยากทำวงดนตรีครับ"
มักจะเป็นคำตอบที่ได้รับจากการถามน้องๆ ตาบอดว่าอยากทำอะไรในชีวิต แม้ทักษะด้านดนตรีจะเป็นเหมือนพรสวรรค์ที่ชดเชยสายตาที่มองไม่เห็นของคนตาบอด แต่ดนตรี ไม่ใช่สิ่งเดียวที่คนตาบอดทำได้ดี
"จริงๆ ผมก็สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์นะครับ แต่ที่ตอนแรกตอบว่าอยากทำวงดนตรีก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่แล้วและดูเป็นไปได้มากกว่า"
ดนตรีเป็นไปได้มาก การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นไปได้น้อย
ฟังดูไม่น่าแปลกใจ เพราะโรงเรียนที่มีหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบมาสำหรับคนตาบอดนั้นมีน้อยมาก แม้บางโรงเรียนจะรับเด็กตาบอดเข้าเรียนร่วมกับเด็กตาดี แต่หนังสือเรียนที่จะเป็นอักษรเบรลล์หรือตัวอย่างภาพที่เป็นภาพนูนก็มีน้อย ทำให้การเรียนของคนตาบอดต้องพึ่งพาเพื่อนๆ ตาดีให้ช่วยอ่านหนังสือให้ฟัง คนตาบอดกับความยากในการเรียนวิทยาศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่น่าเสียดาย
ตัดฉากไปที่บัณฑิตตาบอดสองคนแรกของประเทศไทยที่เรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์
พวกเขากำลังใช้ทักษะและความรู้ที่ได้เรียนมาช่วยสร้างโปรแกรมในสมาร์ทโฟนที่เมื่อสแกนบาร์โค้ดบนแผ่นกระดาษ ก็จะเก็บข้อมูลในกระดาษนั้น และสามารถใช้โปรแกรมของสมาร์ทโฟนอ่านเนื้อหาได้ โดยหวังว่าโปรแกรมนี้จะช่วยให้คนตาบอดสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น
เมื่อถามว่าพวกเขามีวิธีการเรียนร่วมกับนักศึกษาตาดีคนอื่นอย่างไรทั้งสองเล่าถึงการขออาจารย์วิชาสถิติส่งงานด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์แทนการเขียนสัญลักษณ์ลงในกระดาษ และการขอส่งงานด้วยโค้ดต่างๆ แทนการวาดกราฟ เพราะสามารถให้คำตอบแบบเดียวกันได้
"การจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันอาจจะไม่ต้องใช้วิธีเดียวกันก็ได้ใช่ไหม"
ประโยคปิดท้ายของบัณฑิตชวนให้ตั้งคำถามว่า ถ้าผลลัพธ์คือโอกาสที่ทุกคนจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกัน การทดลองที่จะทำให้เกิดวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสมสำหรับความแตกต่างของคนในสังคมควรจะเป็นอย่างไร
ติดตามชมรายการพลเมืองข่าว Backpack Journalist ตอน ความสามารถที่มองไม่เห็น วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.00 -13.30 น. หรือรับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
"อยากทำวงดนตรีครับ"
มักจะเป็นคำตอบที่ได้รับจากการถามน้องๆ ตาบอดว่าอยากทำอะไรในชีวิต แม้ทักษะด้านดนตรีจะเป็นเหมือนพรสวรรค์ที่ชดเชยสายตาที่มองไม่เห็นของคนตาบอด แต่ดนตรี ไม่ใช่สิ่งเดียวที่คนตาบอดทำได้ดี
"จริงๆ ผมก็สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์นะครับ แต่ที่ตอนแรกตอบว่าอยากทำวงดนตรีก็เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่แล้วและดูเป็นไปได้มากกว่า"
ดนตรีเป็นไปได้มาก การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นไปได้น้อย
ฟังดูไม่น่าแปลกใจ เพราะโรงเรียนที่มีหลักสูตรการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบมาสำหรับคนตาบอดนั้นมีน้อยมาก แม้บางโรงเรียนจะรับเด็กตาบอดเข้าเรียนร่วมกับเด็กตาดี แต่หนังสือเรียนที่จะเป็นอักษรเบรลล์หรือตัวอย่างภาพที่เป็นภาพนูนก็มีน้อย ทำให้การเรียนของคนตาบอดต้องพึ่งพาเพื่อนๆ ตาดีให้ช่วยอ่านหนังสือให้ฟัง คนตาบอดกับความยากในการเรียนวิทยาศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่น่าเสียดาย
ตัดฉากไปที่บัณฑิตตาบอดสองคนแรกของประเทศไทยที่เรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์
พวกเขากำลังใช้ทักษะและความรู้ที่ได้เรียนมาช่วยสร้างโปรแกรมในสมาร์ทโฟนที่เมื่อสแกนบาร์โค้ดบนแผ่นกระดาษ ก็จะเก็บข้อมูลในกระดาษนั้น และสามารถใช้โปรแกรมของสมาร์ทโฟนอ่านเนื้อหาได้ โดยหวังว่าโปรแกรมนี้จะช่วยให้คนตาบอดสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น
เมื่อถามว่าพวกเขามีวิธีการเรียนร่วมกับนักศึกษาตาดีคนอื่นอย่างไรทั้งสองเล่าถึงการขออาจารย์วิชาสถิติส่งงานด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์แทนการเขียนสัญลักษณ์ลงในกระดาษ และการขอส่งงานด้วยโค้ดต่างๆ แทนการวาดกราฟ เพราะสามารถให้คำตอบแบบเดียวกันได้
"การจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันอาจจะไม่ต้องใช้วิธีเดียวกันก็ได้ใช่ไหม"
ประโยคปิดท้ายของบัณฑิตชวนให้ตั้งคำถามว่า ถ้าผลลัพธ์คือโอกาสที่ทุกคนจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกัน การทดลองที่จะทำให้เกิดวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสมสำหรับความแตกต่างของคนในสังคมควรจะเป็นอย่างไร
ติดตามชมรายการพลเมืองข่าว Backpack Journalist ตอน ความสามารถที่มองไม่เห็น วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.00 -13.30 น. หรือรับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live