ภัยไส้กรอก...จะตรวจสอบหลังเกิดเหตุ ?การนำเสนอเนื้อหาในรายการ มีเจตนารมณ์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภัยอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนักถึงภัยของสารต้องห้าม “ไนเตรต” ที่มีอันตรายต่อเด็กและเยาวชน จนส่งผลให้มีเด็กต้องเข้าโรงพยาบาลหลายรายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน ?รัฐบาลกำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน กำหนดมาตรการต่าง ๆ ออกมา แต่จะสำเร็จหรือไม่ ? ทำด้วยเงื่อนไขอะไร ? รวมทั้งหนี้ครัวเรือนไม่ได้มีเฉพาะในระบบอย่างเดียว เพราะคนไทยส่วนหนึ่งเป็นหนี้นอกระบบด้วย
กัญชากัญชง...เสรี หรือกีดกัน ?ขณะที่การปลดล็อก "กัญชา" ออกจากบัญชียาเสพติดจะมีผล 8 มิ.ย.นี้ แต่กลุ่มผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ สันทนาการ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจ กลับกังวลว่ากฎหมายที่เหมาะสมคืออย่างไร ? ประโยชน์จะตกกับประชาชนหรือไม่ ?
กรุงเทพฯ ที่ปรารถนา49 ปี มีผู้ว่าฯ กทม. 46 คน ทำไมภาพเมืองหลวงในจินตนาการยังไม่ปรากฏ ? กรุงเทพฯ ที่ปรารถนา คือ การสะท้อนปัญหาหลัก ๆ ของกรุงเทพฯ เรื่องนี้จะไปจบที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ที่ปรารถนาได้อย่างไร ?
สถานการณ์ตลาดผลไม้ไทยในต่างประเทศฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออกปีนี้ ได้รับผลกระทบจากมาตรการ "Covid Zero" ในจีน ผู้ส่งออกผลไม้ไทยทางรถยนต์ต้องไปตามเส้นทางถูกกักกันที่ด่าน ใช้เวลาหลายวัน ทำให้ผลไม้เสียหาย ผู้ประกอบการส่งออกมีความเสี่ยง ทำให้มีการหาตลาดเพิ่มขึ้นในประเทศอื่น
เอาป่าแลกอ่างเก็บน้ำ ?สถานการณ์การขาดแคลนน้ำในประเทศไทยเป็นจริงหรือไม่ ? ขณะที่กำลังเกิดการผลักดันโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำในผืนป่าจำนวนมาก จะส่งผลให้พื้นที่ป่าหายไปนับหมื่นไร่ สวนทางยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายป่าไม้แห่งชาติที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่า
บัญชีม้า ถูกหลอก หรือฟอกเงิน ?ตีแผ่ปัญหา “บัญชีม้า” ทั้งในมิติขบวนการนายหน้า ที่รับซื้อบัญชีม้าส่งขายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งผิดกฎหมายฟอกเงิน และมิติประชาชนที่นำบัญชีตัวเองมาขาย เมื่อถูกจับจะอ้างถูกหลอกซื้อบัญชี เชิงกฎหมายอาจมองได้ว่าเป็นเหยื่อ หรืออยู่ในข่ายร่วมฟอกเงิน แม้จะรับเงินมาไม่กี่ร้อยบาท
กฎหมายทำลายธรรมชาติ ?ที่ดินป่าชายเลนทั่วประเทศกำลังถูกไถทิ้ง พื้นที่หลากหลายในระบบนิเวศถูกทำลาย เพราะการตีความคำว่า "รกร้าง" ในกฎหมายภาษีที่ดิน แล้วทางออกของเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไร ? กฎหมายที่เกิดขึ้นจะเป็นการทำลายธรรมชาติหรือไม่ ?
ซับจำปา - ป่าจำปี และน้ำชั้นตื้นพาไปดู "ต้นจำปีสิรินธร" ในป่าจำปี ป่าพรุน้ำจืด จ.ลพบุรี กำลังยืนต้นตาย สาเหตุจากน้ำใต้ดินชั้นตื้นที่หมดไป กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครพูดถึง หรือให้ความสนใจ ทั้งที่ป่าแห่งนี้มีความสำคัญ
3 ทศวรรษเขื่อนปากมูล กระบวนการเยียวยาเพิ่งเริ่มต้น"เขื่อนปากมูล" เป็นเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ขวางกั้นแม่น้ำมูล เริ่มสร้างปี 2534 ท่ามกลางการคัดค้านของประชาชน เพราะเชื่อว่าจะกระทบระบบนิเวศแม่น้ำ ชาวประมงประกอบอาชีพไม่ได้ จนกระบวนการเยียวยาเพิ่งเริ่มต้น
วิกฤต...เด็กเกิดน้อย ?สำนักงานสถิติแห่งชาติ แสดงข้อมูลจำนวนการเกิดประจำปี 2564 ซึ่งพบว่ามีประชากรเกิดใหม่ลดลง นับเป็นปีแรกที่อัตราการเกิดน้อยกว่าการตาย ! สัญญาณเช่นนี้อาจกลายเป็น "ภาวะวิกฤตของประเทศ"
จาก "Climate Change" สู่เกษตรยั่งยืน"วิกฤตโลกร้อน" ไม่ได้เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่กำลังส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน เช่น อาชีพทำนา ปลูกผักของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรต้องปรับตัวเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กว่าจะเป็น "โรคประจำถิ่น"นับถอยหลัง 1 ก.ค.นี้ ที่ประเทศไทยเตรียมปรับ "โควิด-19" ออกจากโรคระบาด เข้าสู่การเป็น "โรคประจำถิ่น" พร้อมตามไปดูกันว่าปัจจุบันภาครัฐมีการบริหารจัดการ หรือมาตรการป้องกันอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับระดับสถานการณ์ ?
เหมาะสมหรือไม่ ? สร้างอ่างเก็บน้ำในป่ามรดกโลกกรมชลประทานมีโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านหนองตาดั้ง ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่ามรดกโลก เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง แต่อาจทำให้น้ำท่วมชุมชนบ้านพุระกำ ชาวบ้านพุระกำจึงคัดค้านโครงการนี้
ลัวะ...ชาติเชื้อไทยปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไม่เคยหมดไปจากประเทศไทย ชาวลัวะมากกว่า 3,000 คน อาศัยอยู่กลางเมืองหลวง ปักหลักรับจ้างทำงาน แต่พวกเขายังเป็นคนไร้สัญชาติได้อย่างไร ? ทั้งที่อาศัยอยู่ในไทยหลายสิบปีจนปัจจุบัน
สถานการณ์การค้าชายแดนภาคเหนือสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์การเมือง ซึ่งมีการสู้รบในเมียนมา ส่งผลต่อการค้าชายแดนภาคเหนือ ทำให้การนำเข้า - ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านไม่ปกติ โดยเฉพาะทางแม่น้ำโขง จากท่าเรือเชียงแสนไปยังตอนใต้ของจีนยังมีปัญหาอยู่มาก
Long COVID ชีวิตเรื้อรัง"Long COVID" คือผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ที่เกิดขึ้นหลังหายป่วยต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยยังไม่มีข้อสรุปว่าอาการจะเรื้อรังไปนานเพียงใด
สิ่งแปลกปลอม บนชายหาด ?การสร้างกำแพงกันคลื่นกำลังเกิดขึ้นในชายหาดทั่วประเทศ โดยให้เหตุผลเพื่อป้องกันการกัดเซาะ ขณะที่ข้อเท็จจริงส่งผลให้พื้นที่ชายหาดหายไป และเกิดการกัดเซาะพื้นที่ใกล้เคียง แล้วกำแพงกันคลื่นจะช่วยป้องกันการกัดเซาะ หรือทำลายชายหาด ?
เปิดชีวิตแรงงานบนแพลตฟอร์มปัจจุบันระบบเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดโอกาสให้มีรูปแบบการทำงานที่เป็นอิสระ หรือ “Gig Economy” ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่จะส่งผลกระทบอย่างไร หากโครงสร้างการทำงานเปลี่ยนไป แต่แรงงานไม่มีหลักประกันและการคุ้มครองสวัสดิภาพ และถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ
ทิศทางการศึกษาหลังโควิด-19การศึกษาของนักเรียนตามระบบการศึกษาของไทยที่ผ่านมายาวนาน มักเป็นการศึกษาในโรงเรียน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 จึงต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งยังคงมีปัญหาความไม่พร้อมของนักเรียนและผู้ปกครองตามมา แล้วทิศทางการศึกษาหลังโควิด-19 ควรจะเป็นอย่างไร ?
ดอกไม้เหนือหู - White Home Gang Ost. ภาพยนต์เรื่อง “รักทะเล้น” พ.ศ. 2521 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman, ป้อม Autobahn
ความรักเพรียกหา - วินัย พันธุรักษ์ Ost. ภาพยนต์เรื่อง “แก้ว” พ.ศ. 2523 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
รักฉันวันละนิด - Coco Jazz อัลบั้ม แทนค่านับพันของคืนวันหวาน พ.ศ. 2533 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
ชวนทุกคนร่วมฟังเพลงของดูโอสุดเท่ ช่วงปลายยุค 80 วงไฮดรา ที่ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดย เต็น ธีรภัค ขับร้องโดยศิลปินกวาง AB Normal, ที Jetset’er, ลูกปัด - ชลนรรจ์ และนักร้องรุ่นใหม่อย่าง น้องหยก, น้องไข่มุก และน้องเบสท์
การจากไปของยายออมสินทำให้แจนเริ่มมองความตายในมุมใหม่ ลุงนกที่ไอหนักขึ้นไปตรวจชิ้นเนื้อ ส่วนแจนยังคงพัฒนาแอปพลิเคชันกับลูกเกด และเรียนรู้ว่าการใช้คำพูดที่อ่อนโยนสามารถเปลี่ยนความรู้สึกของคนรอบข้างได้
พบกับประเด็น...4 สาว "Jazzy" ทำคอนเสิร์ตในรอบ 22 ปี..."ชาย เมืองสิงห์" เตรียมทำเพลงใหม่ - ส่งใจอาลัย "ผ่องศรี"
พบกับประเด็น...ส่องไพ่ในมือ "ทีมไทยแลนด์" เจรจากำแพงภาษีสหรัฐฯ ...จับกระแสการเมืองโลก ความตึงเครียด "จีน-อเมริกา"
พบกับประเด็น...รัฐบาล เปิด “5 มาตรการ” บรรเทาผลกระทบภาษีสหรัฐฯ...โรงงานอุตสาหกรรม แทรกชุมชน ปัญหาที่ต้องรับมือ
"ร้านยาโบราณโทยามะ" ไม่ใช่แค่ร้านขายยา แต่เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เก็บรักษาตำรับยาอายุ 300 ปีพร้อมให้ชมกรรมวิธีผลิตแบบโบราณ อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของระบบ "โอกิงูซุริ" หรือ "ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง" ที่สะท้อนวัฒนธรรมความไว้วางใจในสังคมญี่ปุ่น ที่นี่คือจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจะได้ทั้งความรู้ ประวัติศาสตร์ อาหารเพื่อสุขภาพ และโอกาสซื้อยาสมุนไพรที่แพทย์ญี่ปุ่นกว่า 70% เลือกใช้มากกว่ายาเคมีสมัยใหม่
จะชวนทุกคนไปปักหมุดกันที่ย่านตลาดพลู แหล่งรวมของอร่อยที่สายกินต้องห้ามพลาด โดยเฉพาะ "กุยช่าย" ที่มีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นตำนานอยู่คู่กับตลาดพลูมาอย่างยาวนาน แต่ที่นี่ไม่ได้มีแค่กุยช่ายเท่านั้น ยังมีของอร่อย ๆ อีกเพียบ
บ้านเรือนเก่าแก่ตามถนนสายต่าง ๆ คือเอกลักษณ์สำคัญของเมืองฮอยอัน เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่ บรรยากาศของการเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำ มีประวัติสืบย้อนกลับไปได้เป็นพันปี รวมกับสีสันของการท่องเที่ยวทำให้เมืองนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา
วิชัยเห็นเจเจแอบขโมยมะม่วงของเขาจนเรื่องถึงโรงพัก ตำรวจไกล่เกลี่ยให้เจเจมารดน้ำต้นไม้ให้วิชัยทุกวันเป็นการลงโทษ จุดเริ่มต้นของมิตรภาพต่างวัยจึงได้เกิดขึ้น
คนเราต้องเรียนรู้ที่จะเกลียด ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ที่จะเกลียดได้ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะรักได้เช่นกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ความรักมันก่อเกิดขึ้นมาในใจของคนเราได้ง่ายกว่าความเกลียดชังนั่นเอง
เรื่องราวของ "ครูวิชัย" คุณครูคนใหม่ ประจำชั้นห้อง ป.3 ก. ด้วยรูปลักษณ์การแต่งกายจนได้สมญานามว่า “ครูมะ” เป็นคนสอนสนุก ไม่ยึดติดตำราเรียน จึงคว้าใจเด็กไปครอง แต่กลับไม่ถูกใจคุณครูคนอื่นและผู้ปกครอง
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
เรื่องราวระหว่าง "วิชัย" ชายชราที่สิ้นหวังกับการมีชีวิตอยู่ และ "เจเจ" ชายหนุ่มที่ตามหาเป้าหมายในชีวิต บทสรุปของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
เจเจได้ไอเดียติดตั้งและปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยให้วิชัยได้ใช้ มิตรภาพระหว่างคนสองวัยจึงเติมเต็ม
ความเข้าใจคือพื้นฐานแห่งรักแท้ เราเรียนรู้ที่จะเข้าใจความทุกข์ ความฝัน และ แรงบันดาลใจของคนที่เรารัก เพื่อที่เราจะโอบกอดและเกื้อกูลพวกเขาได้อย่างแท้จริง อันที่จริงแล้ว ความเข้าใจ เป็นอีกชื่อหนึ่งของความรัก - ติช นัท ฮันห์ พระอาจารย์เซนชาวเวียดนาม
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพ่อของพิชิต เด็กนักเรียนห้อง ป.3 ก. เชิญครูวิชัย และครูลลนามากินยาดองที่บ้าน เพราะอยากให้ลูกตั้งใจเรียนอย่างเดียว เป็นนักเรียนที่เก่งสอบได้ที่ 1 เท่านั้น
“เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านประสบการณ์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด เพราะการเล่นคืองานของเด็ก” มาเรีย มอนเตสซอรี แพทย์หญิงชาวอิตาลี
ห้อง ป.3 ก. มีวิธีการคัดเลือกหัวหน้าห้องที่ไม่เหมือนใคร ตามสไตล์การสอนของครูมะ เด็ก ๆ จะยอมรับหัวหน้าห้องคนใหม่กันหรือเปล่า
เมื่อ ครู‘มะ’ ต้องมาเป็นกรรมการมวยระหว่างเด็กนักเรียน ครูจะมีวิธีการจัดการอย่างไรให้จบลงด้วยดี แล้วครูเองไปทำอีท่าไหนถึงต้องเข้าเฝือกกันนะ
ครูลลนาเอาหนังสือพิมพ์ ที่ในข่าวมีรูปครูวิชัยในเหตุการณ์ 14 ต.ค. ไปถามเจ้าตัวว่าใช่ครูวิชัยหรือเปล่า เขาจะตอบครูลลนาว่าอย่างไร
“เด็ก ๆ ทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือ จะยังคงเป็นศิลปินได้อย่างไร เมื่อเขาโตขึ้น" - ปาโบล ปิกัซโซ (Picasso) จิตรกรและประติมากรชาวสเปน
ประสิทธิ์ นักเรียนห้อง ป.3 ก. อยากหารายได้พิเศษไว้ซื้อหนังสืออ่านเอง เขาจะเลือกทำอะไร มีใครเป็นพี่เลี้ยงบ้าง เขาจะทำได้สำเร็จหรือไม่ และงานนี้ใครจะเหนื่อยกว่ากัน
“ความรู้ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน” โจทย์ใหม่ที่ครูวิชัย หรือครู‘มะ’ ให้นักเรียน ห้อง ป.3 ก. ออกมาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้ฟัง จะมีความรู้รอบตัวแบบไหนที่น่าสนใจบ้างหนอ
"ถ้าเธอไม่ชอบอ่านหนังสือ เธอจะไม่พบหนังสือที่ชอบ ฉันเชื่อว่า มีบางสิ่งเหมือนเวทมนต์ เหมือนหนังสือที่เธออ่าน" - เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์
เมื่อเด็กนักเรียน ห้อง ป.3 ก. แข่งขันทำละครตลกกับ ห้อง ป.3 ข. มาดูมุกตลกของคณะ “สามกอไก่” กันว่าจะชวนหัวเราะขนาดไหน และต้องหาตัวแทนแข่งไม่หัวเราะด้วยนี่ซิ ใครกันที่เหมาะสมจะเป็นตัวแทนห้องลงแข่งครั้งนี้
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส