"น้ำตาคือเลือดสีขาว" และ "น้ำตาหนึ่งหยดจะทำให้เราคลายเครียดได้หนึ่งอาทิตย์" - คำกล่าวที่ไม่ได้มาจากนักเขียนนวนิยายแนวรักโรแมนติก แต่เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ Hidefumi Yoshida นำมาประยุกต์ใช้ในคอร์สสอนร้องไห้ที่กำลังได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ทำไมถึงมีคนต้องการเรียนวิธีร้องไห้ และทำไมคนญี่ปุ่นถึงจำเป็นต้องเรียนทักษะที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์นี้?
สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์และเลือกที่จะไม่เปิดเผยความรู้สึก โดยเฉพาะในที่สาธารณะ คนญี่ปุ่นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กว่า "ผู้ชายห้ามร้องไห้" และ "ต้องเข้มแข็ง" การแสดงออกทางอารมณ์ถูกมองว่าเป็นความอ่อนแอ
จากสถิติขององค์การอนามัยโลก ในปี 2019 มีคนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายถึง 30,000 คน และถึงแม้ในปี 2024 อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ใหญ่จะลดลงเหลือ 20,000 คน แต่กลับพบว่ามีสถิติใหม่ที่น่ากังวลคือมีเด็กและนักเรียนฆ่าตัวตายสูงสุดตั้งแต่มีการบันทึกมา โดยมีเด็กที่จบชีวิตตัวเองลงถึง 527 คน การเก็บกดอารมณ์จึงกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยากจะเยียวยา ความเครียด ความกดดัน และความเหนื่อยล้าทางใจสะสมจนกระทบต่อสุขภาพจิตของคนญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศวัยกลางคนที่มีความรับผิดชอบสูง ต้องดูแลทั้งฝ่ายบนและฝ่ายล่าง รวมทั้งมีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล
อาจารย์ Hidefumi Yoshida อดีตครูสอนคอมพิวเตอร์ ได้ก่อตั้งคอร์สสอนร้องไห้ หลังจากสังเกตเห็นว่านักเรียนที่มาปรึกษาปัญหากับเขาและร้องไห้ออกมา มักจะรู้สึกดีขึ้นและไม่กลับมาปรึกษาอีก เพราะปัญหาได้รับการคลี่คลายไปแล้ว
ในคอร์สนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการปลดปล่อยอารมณ์ผ่านเทคนิคต่าง ๆ เช่น
อาจารย์โยชิดะได้ใช้เทคนิคเหล่านี้ทำให้คนร้องไห้มาแล้วกว่า 60,000 คน ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่เปิดสอน ในการสอนแต่ละครั้ง จะมีผู้เข้าร่วมตั้งแต่ 10 คนไปจนถึง 200-300 คน และบางครั้งก็มีการสอนแบบตัวต่อตัวด้วย
การร้องไห้ไม่ใช่เพียงแค่การระบายอารมณ์ แต่มีประโยชน์ทางร่างกายและจิตใจที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
อาจารย์โยชิดะกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เมื่อเราตื่นอยู่ เส้นประสาทของเราจะตึงเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัว และเมื่อเรานอนหลับ เส้นประสาทจะผ่อนคลาย แต่การร้องไห้คือวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถผ่อนคลายเส้นประสาทได้แม้ในขณะที่ยังมีสติอยู่
คนที่มีปัญหาร้องไห้ไม่ออกเป็นคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่า เพราะไม่สามารถระบายความเครียดออกมาได้ อาจารย์โยชิดะยังกล่าวว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะร้องไห้ยาก และการฝึกให้ร้องไห้ได้จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ อาจารย์ยังแนะนำสิ่งที่ฟังดูขัดแย้งกับความเชื่อทั่วไป นั่นคือ ให้คิดถึงเรื่องลบๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการถูกแฟนทิ้ง การสูญเสียคนรัก หรือการถูกคนโกงเงิน แทนที่จะพยายามลืมหรือไม่คิดถึงมัน เพราะการอยู่กับความรู้สึกเหล่านั้นและปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาจะช่วยล้างความเครียดออกไป และทำให้สมองได้ปรับตัวใหม่ ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ การทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า แค่น้ำตาหนึ่งหยดสามารถทำให้ความเครียดในร่างกายลดลงได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยสามารถตรวจวัดได้จากการตรวจน้ำลายหลังจากร้องไห้
ติดตามชมได้ในรายการ ดูให้รู้ วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และติดตามความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ www.facebook.com/Dohiru
"น้ำตาคือเลือดสีขาว" และ "น้ำตาหนึ่งหยดจะทำให้เราคลายเครียดได้หนึ่งอาทิตย์" - คำกล่าวที่ไม่ได้มาจากนักเขียนนวนิยายแนวรักโรแมนติก แต่เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ Hidefumi Yoshida นำมาประยุกต์ใช้ในคอร์สสอนร้องไห้ที่กำลังได้รับความนิยมในญี่ปุ่น ทำไมถึงมีคนต้องการเรียนวิธีร้องไห้ และทำไมคนญี่ปุ่นถึงจำเป็นต้องเรียนทักษะที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์นี้?
สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์และเลือกที่จะไม่เปิดเผยความรู้สึก โดยเฉพาะในที่สาธารณะ คนญี่ปุ่นได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กว่า "ผู้ชายห้ามร้องไห้" และ "ต้องเข้มแข็ง" การแสดงออกทางอารมณ์ถูกมองว่าเป็นความอ่อนแอ
จากสถิติขององค์การอนามัยโลก ในปี 2019 มีคนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายถึง 30,000 คน และถึงแม้ในปี 2024 อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ใหญ่จะลดลงเหลือ 20,000 คน แต่กลับพบว่ามีสถิติใหม่ที่น่ากังวลคือมีเด็กและนักเรียนฆ่าตัวตายสูงสุดตั้งแต่มีการบันทึกมา โดยมีเด็กที่จบชีวิตตัวเองลงถึง 527 คน การเก็บกดอารมณ์จึงกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยากจะเยียวยา ความเครียด ความกดดัน และความเหนื่อยล้าทางใจสะสมจนกระทบต่อสุขภาพจิตของคนญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศวัยกลางคนที่มีความรับผิดชอบสูง ต้องดูแลทั้งฝ่ายบนและฝ่ายล่าง รวมทั้งมีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล
อาจารย์ Hidefumi Yoshida อดีตครูสอนคอมพิวเตอร์ ได้ก่อตั้งคอร์สสอนร้องไห้ หลังจากสังเกตเห็นว่านักเรียนที่มาปรึกษาปัญหากับเขาและร้องไห้ออกมา มักจะรู้สึกดีขึ้นและไม่กลับมาปรึกษาอีก เพราะปัญหาได้รับการคลี่คลายไปแล้ว
ในคอร์สนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการปลดปล่อยอารมณ์ผ่านเทคนิคต่าง ๆ เช่น
อาจารย์โยชิดะได้ใช้เทคนิคเหล่านี้ทำให้คนร้องไห้มาแล้วกว่า 60,000 คน ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่เปิดสอน ในการสอนแต่ละครั้ง จะมีผู้เข้าร่วมตั้งแต่ 10 คนไปจนถึง 200-300 คน และบางครั้งก็มีการสอนแบบตัวต่อตัวด้วย
การร้องไห้ไม่ใช่เพียงแค่การระบายอารมณ์ แต่มีประโยชน์ทางร่างกายและจิตใจที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
อาจารย์โยชิดะกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เมื่อเราตื่นอยู่ เส้นประสาทของเราจะตึงเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัว และเมื่อเรานอนหลับ เส้นประสาทจะผ่อนคลาย แต่การร้องไห้คือวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถผ่อนคลายเส้นประสาทได้แม้ในขณะที่ยังมีสติอยู่
คนที่มีปัญหาร้องไห้ไม่ออกเป็นคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่า เพราะไม่สามารถระบายความเครียดออกมาได้ อาจารย์โยชิดะยังกล่าวว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะร้องไห้ยาก และการฝึกให้ร้องไห้ได้จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ อาจารย์ยังแนะนำสิ่งที่ฟังดูขัดแย้งกับความเชื่อทั่วไป นั่นคือ ให้คิดถึงเรื่องลบๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการถูกแฟนทิ้ง การสูญเสียคนรัก หรือการถูกคนโกงเงิน แทนที่จะพยายามลืมหรือไม่คิดถึงมัน เพราะการอยู่กับความรู้สึกเหล่านั้นและปล่อยให้น้ำตาไหลออกมาจะช่วยล้างความเครียดออกไป และทำให้สมองได้ปรับตัวใหม่ ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ การทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า แค่น้ำตาหนึ่งหยดสามารถทำให้ความเครียดในร่างกายลดลงได้นานถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยสามารถตรวจวัดได้จากการตรวจน้ำลายหลังจากร้องไห้
ติดตามชมได้ในรายการ ดูให้รู้ วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และติดตามความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ www.facebook.com/Dohiru