ค่านิยมของการทำงานหนักและทำงานล่วงเวลานานหลายชั่วโมงต่อวันของญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าแรงราคาถูก พนักงานจึงเต็มใจที่จะทำงานล่วงเวลาเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 20 ปี ก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้พนักงานจำเป็นต้องทำงานหนักและทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่าตอบแทน เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองจะไม่ถูกปลดจากงาน จนกลายเป็นค่านิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาจนถึงตอนนี้ และผลจากการทำงานหนักเป็นเวลานาน ทำให้ในช่วงปี 1990 มีมนุษย์เงินเดือนจำนวนมากเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย หรือไม่ก็โรคหลอดเลือดสมอง จนทำให้เกิดคำว่า "คาโรชิ" ซึ่งมีความหมายว่า การเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก แต่ปัจจุบันคำนี้ ยังใช้รวมไปถึงคนที่ฆ่าตัวตาย เพราะความกดดันจากการทำงานหนักด้วย ติดตามชม วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ ได้ในข่าวค่ำ มิติใหม่ทั่วไทย ได้ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 18.20 - 20.30 น. วันศุกร์ 18.00 - 20.15 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ 19.00 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ค่านิยมของการทำงานหนักและทำงานล่วงเวลานานหลายชั่วโมงต่อวันของญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าแรงราคาถูก พนักงานจึงเต็มใจที่จะทำงานล่วงเวลาเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 20 ปี ก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้พนักงานจำเป็นต้องทำงานหนักและทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่าตอบแทน เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเองจะไม่ถูกปลดจากงาน จนกลายเป็นค่านิยมสำหรับมนุษย์เงินเดือนมาจนถึงตอนนี้ และผลจากการทำงานหนักเป็นเวลานาน ทำให้ในช่วงปี 1990 มีมนุษย์เงินเดือนจำนวนมากเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย หรือไม่ก็โรคหลอดเลือดสมอง จนทำให้เกิดคำว่า "คาโรชิ" ซึ่งมีความหมายว่า การเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก แต่ปัจจุบันคำนี้ ยังใช้รวมไปถึงคนที่ฆ่าตัวตาย เพราะความกดดันจากการทำงานหนักด้วย ติดตามชม วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ ได้ในข่าวค่ำ มิติใหม่ทั่วไทย ได้ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 18.20 - 20.30 น. วันศุกร์ 18.00 - 20.15 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ 19.00 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live