ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
FLASHPOINT จุดร้อนโลก
FLASHPOINT จุดร้อนโลก

เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง

หน้ารายการ
9 เม.ย. 68

28 มีนาคม ค.ศ. 2025 มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาสั่นสะเทือน ก่อนที่อาคารหลายแห่งจะถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา จากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางอยู่ไม่ไกลมากนักจากมัณฑะเลย์ สะเทือนรุนแรงจนสะพานขาด ถนนยุบ ซากปรักหักพังเกลื่อนเมือง แรงสั่นสะเทือนกระจายไปถึงกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา ที่ได้รับความเสียหายหนักหลายจุด

หลายพื้นที่ยังจมอยู่ในความมืด ไร้ไฟฟ้า ไร้ที่พึ่ง ในประเทศที่ยังไม่พ้นจากสงครามกลางเมือง แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤติ ที่ซ้ำเติมวิกฤติในวันที่เมียนมาเปราะบางที่สุด

ยักษ์หลับใต้ผืนดินเมียนมา

เมียนมาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มี "ความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา" มากที่สุดในโลก จากการตั้งอยู่บนจุดรวมของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย

แผ่นเปลือกโลกคือ ชั้นบนของโลกที่แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ โอบอุ้มได้ทั้งพื้นทวีปและมหาสมุทร โดยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เช่นบางแผ่นเคลื่อนขนานกัน แต่บางแผ่นก็เคลื่อนอยู่ด้านบนหรือล่างของอีกแผ่น

โดยเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และทำให้ขอบชนกับแผ่นอื่นจะเกิดแรงเครียด เมื่อแรงเครียดสะสมมากขึ้น ๆ ก็สามารถปล่อยพลังออกมาได้ทันทีทันใด ทำให้เกิดคลื่นแรงดันขยายตัวไปบนพื้นผิวโลกในรูปแบบของแผ่นดินไหว

ประเทศหรือเมืองที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ซึ่งหมายถึงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จุดที่การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดขึ้น ก็จะเสี่ยงเป็นพิเศษต่อแผ่นดินไหว

โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนชนแผ่นยูเรเชีย

และทำให้รอยเลื่อนซะไกง์ (รอยเลื่อนสะกาย) รอยเลื่อนมีพลังที่ยังไม่เชื่อมสนิท ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา และแผ่นพม่า และปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย เกิดขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย

รอยเลื่อนซะไกง์มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวจากเหนือลงใต้ ผ่ากลางเมียนมา ผ่านหลายเมืองสำคัญ ตั้งแต่มิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค ย่างกุ้ง และต่อยาวลงไปในทะเลอันดามัน ด้วยความเป็นรอยเลื่อนแนวตรง แผ่นดินไหวจึงแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างไปตามความยาวของรอยเลื่อนได้

เมียนมามีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุดแต่รอยเลื่อนซะไกง์คือรอยเลื่อนที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงที่สุด จนถูกเปรียบเสมือนยักษ์ที่นอนหลับอยู่กลางแผ่นดิน เมื่อตื่นและปล่อยพลัง ความเสียหายจึงรุนแรงและกว้างขวาง

แผ่นดินไหว วิกฤตซ้ำวิกฤต

ระหว่างปี1429-1991 หรือช่วงเวลา 562 ปีรอยเลื่อนซะไกง์เคยสำแดงพลังจนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ขึ้นไปมาแล้ว 70 ครั้งใหญ่ที่สุดคือแรงสั่นสะเทือนระดับ 8 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ในปี 1912

ส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ หรือ USGS ชี้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ครั้งนี้ ปล่อยพลังออกมามากยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2

และแผ่นดินไหวภัยพิบัติล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านเกิดในยุคของรัฐบาลทหารที่นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หลังก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี ในปี 2021

แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤตที่ซ้ำเติมวิกฤตในเมียนมา

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง วันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง

9 เม.ย. 68

28 มีนาคม ค.ศ. 2025 มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาสั่นสะเทือน ก่อนที่อาคารหลายแห่งจะถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา จากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางอยู่ไม่ไกลมากนักจากมัณฑะเลย์ สะเทือนรุนแรงจนสะพานขาด ถนนยุบ ซากปรักหักพังเกลื่อนเมือง แรงสั่นสะเทือนกระจายไปถึงกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา ที่ได้รับความเสียหายหนักหลายจุด

หลายพื้นที่ยังจมอยู่ในความมืด ไร้ไฟฟ้า ไร้ที่พึ่ง ในประเทศที่ยังไม่พ้นจากสงครามกลางเมือง แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤติ ที่ซ้ำเติมวิกฤติในวันที่เมียนมาเปราะบางที่สุด

ยักษ์หลับใต้ผืนดินเมียนมา

เมียนมาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มี "ความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา" มากที่สุดในโลก จากการตั้งอยู่บนจุดรวมของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย

แผ่นเปลือกโลกคือ ชั้นบนของโลกที่แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ โอบอุ้มได้ทั้งพื้นทวีปและมหาสมุทร โดยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เช่นบางแผ่นเคลื่อนขนานกัน แต่บางแผ่นก็เคลื่อนอยู่ด้านบนหรือล่างของอีกแผ่น

โดยเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และทำให้ขอบชนกับแผ่นอื่นจะเกิดแรงเครียด เมื่อแรงเครียดสะสมมากขึ้น ๆ ก็สามารถปล่อยพลังออกมาได้ทันทีทันใด ทำให้เกิดคลื่นแรงดันขยายตัวไปบนพื้นผิวโลกในรูปแบบของแผ่นดินไหว

ประเทศหรือเมืองที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ซึ่งหมายถึงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จุดที่การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดขึ้น ก็จะเสี่ยงเป็นพิเศษต่อแผ่นดินไหว

โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนชนแผ่นยูเรเชีย

และทำให้รอยเลื่อนซะไกง์ (รอยเลื่อนสะกาย) รอยเลื่อนมีพลังที่ยังไม่เชื่อมสนิท ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา และแผ่นพม่า และปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย เกิดขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย

รอยเลื่อนซะไกง์มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวจากเหนือลงใต้ ผ่ากลางเมียนมา ผ่านหลายเมืองสำคัญ ตั้งแต่มิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค ย่างกุ้ง และต่อยาวลงไปในทะเลอันดามัน ด้วยความเป็นรอยเลื่อนแนวตรง แผ่นดินไหวจึงแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างไปตามความยาวของรอยเลื่อนได้

เมียนมามีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุดแต่รอยเลื่อนซะไกง์คือรอยเลื่อนที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงที่สุด จนถูกเปรียบเสมือนยักษ์ที่นอนหลับอยู่กลางแผ่นดิน เมื่อตื่นและปล่อยพลัง ความเสียหายจึงรุนแรงและกว้างขวาง

แผ่นดินไหว วิกฤตซ้ำวิกฤต

ระหว่างปี1429-1991 หรือช่วงเวลา 562 ปีรอยเลื่อนซะไกง์เคยสำแดงพลังจนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ขึ้นไปมาแล้ว 70 ครั้งใหญ่ที่สุดคือแรงสั่นสะเทือนระดับ 8 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ในปี 1912

ส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ หรือ USGS ชี้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ครั้งนี้ ปล่อยพลังออกมามากยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2

และแผ่นดินไหวภัยพิบัติล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านเกิดในยุคของรัฐบาลทหารที่นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หลังก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี ในปี 2021

แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤตที่ซ้ำเติมวิกฤตในเมียนมา

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง วันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย