ตั้งกรรมการสมานฉันท์ หาทางออกการเมืองแค่ซื้อเวลา ?
ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดจากการเปิดอภิปรายในสมัยวิสามัญ ก็คือการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบของสถาบันพระปกเกล้า และจะส่งกลับมาให้ประธานรัฐสภาพิจารณา และนอกจากการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แล้ว รัฐบาลก็ดูจะชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ทั้ง 2 เรื่องต้องใช้เวลา แต่นี่เป็นการซื้อเวลาหรือไม่
ย้อนอดีตตั้งกรรมการสมานฉันท์ไม่สำเร็จ นักวิชาการชี้เร่งเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญดีกว่า
มากกว่า 10 ปี สำหรับความขัดแย้งการเมืองไทย เคยถูกแก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดองมาแล้ว ผลจากการตั้งกรรมการที่ผ่านมาได้แล้วหรือไม่ ความขัดแย้งที่ยังอยู่วันนี้คงเป็นคำตอบ ถ้าครั้งนี้รัฐสภาจะตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาอีกครั้งทำให้มีความเห็นหลากหลาย บางคนมองว่าเป็นเรื่องดีที่คู่ขัดแย้งจะมีเวทีพูดคุยกัน แต่บางคนมองว่า การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญตั้ง ส.ส.ร.คือกระบวนการปรองดองที่ดีที่สุด
วิเคราะห์ผลสะเทือนเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ต่อจีนและเอเชีย
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 3 พฤศจิกายนนี้ เพื่อชี้ชะตาว่าชาวอเมริกันจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ จากรีพับลิกัน หรือ โจ ไบเดน จากเดโมแครต เป็นผู้นำ แต่ผลที่ตามมาอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้คือนโยบายต่อจีน แม้ทั้ง 2 พรรคนี้ จะมีนโยบายแข็งกร้าวต่อจีนไม่ต่างกัน แต่วิธีการที่ใช้อาจจะต่าง และสิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง คือนโยบายที่สหรัฐฯ จะมีต่อเอเชีย
Thai PBS World : วิเคราะห์โควิด-19 ปัจจัยเลือกผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ในรัฐสมรภูมิ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีแทบทุกครั้งจะมีรัฐบางรัฐที่เลือกรีพับลิกัน ไม่เปลี่ยนใจ บางรัฐก็เป็นเดโมแครตตลอดมา รัฐที่ยังไม่ชัดว่าจะเลือกผู้สมัครพรรคไหน จึงมักจะเป็นจุดชี้ขาดการเลือกตั้งเสมอ และจุดที่คงจะเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของชาวอเมริกันที่ไม่ชัดว่าจะเลือกใคร คงจะเป็นวิกฤตโควิด-19 ที่อาจจะต้องฝากความหวังไว้กับผู้นำคนใหม่
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 31 ต.ค. 63 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
ตั้งกรรมการสมานฉันท์ หาทางออกการเมืองแค่ซื้อเวลา ?
ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดจากการเปิดอภิปรายในสมัยวิสามัญ ก็คือการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบของสถาบันพระปกเกล้า และจะส่งกลับมาให้ประธานรัฐสภาพิจารณา และนอกจากการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แล้ว รัฐบาลก็ดูจะชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ทั้ง 2 เรื่องต้องใช้เวลา แต่นี่เป็นการซื้อเวลาหรือไม่
ย้อนอดีตตั้งกรรมการสมานฉันท์ไม่สำเร็จ นักวิชาการชี้เร่งเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญดีกว่า
มากกว่า 10 ปี สำหรับความขัดแย้งการเมืองไทย เคยถูกแก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดองมาแล้ว ผลจากการตั้งกรรมการที่ผ่านมาได้แล้วหรือไม่ ความขัดแย้งที่ยังอยู่วันนี้คงเป็นคำตอบ ถ้าครั้งนี้รัฐสภาจะตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาอีกครั้งทำให้มีความเห็นหลากหลาย บางคนมองว่าเป็นเรื่องดีที่คู่ขัดแย้งจะมีเวทีพูดคุยกัน แต่บางคนมองว่า การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญตั้ง ส.ส.ร.คือกระบวนการปรองดองที่ดีที่สุด
วิเคราะห์ผลสะเทือนเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ต่อจีนและเอเชีย
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 3 พฤศจิกายนนี้ เพื่อชี้ชะตาว่าชาวอเมริกันจะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ จากรีพับลิกัน หรือ โจ ไบเดน จากเดโมแครต เป็นผู้นำ แต่ผลที่ตามมาอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้คือนโยบายต่อจีน แม้ทั้ง 2 พรรคนี้ จะมีนโยบายแข็งกร้าวต่อจีนไม่ต่างกัน แต่วิธีการที่ใช้อาจจะต่าง และสิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่าง คือนโยบายที่สหรัฐฯ จะมีต่อเอเชีย
Thai PBS World : วิเคราะห์โควิด-19 ปัจจัยเลือกผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ในรัฐสมรภูมิ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีแทบทุกครั้งจะมีรัฐบางรัฐที่เลือกรีพับลิกัน ไม่เปลี่ยนใจ บางรัฐก็เป็นเดโมแครตตลอดมา รัฐที่ยังไม่ชัดว่าจะเลือกผู้สมัครพรรคไหน จึงมักจะเป็นจุดชี้ขาดการเลือกตั้งเสมอ และจุดที่คงจะเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของชาวอเมริกันที่ไม่ชัดว่าจะเลือกใคร คงจะเป็นวิกฤตโควิด-19 ที่อาจจะต้องฝากความหวังไว้กับผู้นำคนใหม่
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 31 ต.ค. 63 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live