โจทย์ เศรษฐกิจ-โควิด-19 ท้าทายประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ
ยิ่งนับคะแนนไปเรื่อย ๆ โอกาสที่โจ ไบเดน จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ก็ยิ่งมีมากขึ้น หลายรัฐที่เป็นของพรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว กลับมาเป็นของเดโมแครตได้ แม้โดนัลด์ ทรัมป์พยายามจะต่อสู้ว่าการนับคะแนนไม่ถูกต้อง แต่ถึงที่สุดแล้ว ไม่ว่า ไบเดน หรือ ทรัมป์ จะเป็นผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ต่างก็มีโจทย์ที่ท้าทายรออยู่ข้างหน้าไม่ต่างกัน และดูเหมือนจะไม่ง่ายกับการรับมือ
บทบาท ศาลสูงสหรัฐฯ ชี้ขาดเลือกตั้ง ความหวังสุดท้ายของ “ทรัมป์”
โอกาสสุดท้ายที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะพยายามต่อลมหายใจตัวเองในการเป็นผู้นำสหรัฐฯ คงจะต้องพึ่งศาลสูงให้ชี้ขาดการนับคะแนนที่เขามองว่าถูกโกง แม้จะยังไม่หลักฐานอะไร ขณะนี้มีคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งแล้วมากกว่า 300 คดีใน 44 รัฐ แม้ศาลสูงเคยตัดสินชี้ขาดการเลือกตั้ง ระหว่างบุช กับอัล กอร์มาแล้ว แต่ครั้งนี้ ทรัมป์จะพึ่งศาลสูงสั่งนับคะแนนใหม่ได้จริงหรือไม่ ในเมื่อขั้นตอนแรกจะต้องผ่านของรัฐนั้นก่อน และศาลสูงก็อาจจะไม่เข้าไปแทรกแซง
นักวิเคราะห์มองนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ถ้า “ไบเดน” เป็นประธานาธิบดี
ถ้าสุดท้ายแล้ว โจ ไบเดน ขึ้นเป็นประธานาธิบดี น่าคิดว่าจะเปลี่ยนโฉมนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ มากน้อยแค่ไหน หลังจาก 4 ปีที่ผ่าน โดนัลด์ ทรัมป์ แทบจะสร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้นโยบายการต่างประเทศของทั้ง 2 คนจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของชาวอเมริกันน้อยมาก แต่มันสะเทือนต่อโลก แนวโน้มที่นักวิเคราะห์มองคือการใช้นโยบายคล้ายกับสมัยประธานาธิบดีโอบามา
ฟังเสียงสะท้อนชาวอเมริกันเดโมแครตและรีพับลิกันในไทย ลุ้นผลเลือกตั้งผู้นำ
ระหว่างรอผลการเลือกตั้งที่ชาวอเมริกันลุ้นกันทั้งประเทศ ชาวอเมริกันทั่วโลกเองก็คงลุ้นไม่ต่างกัน ในประเทศไทยก็มีกลุ่มสนับสนุนทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน แม้พวกเขามารวมตัวกันลุ้นผลเลือกตั้งผู้นำของตัวเอง แต่ถ้าผลออกมาอย่างไรก็พร้อมยอมรับ และมีความคาดหวังฝากถึงประธานาธิบดีคนใหม่
เส้นทางคณะกรรมการสมานฉันท์ไม่ง่าย ชวน ดึงอดีตนายกฯ ร่วมหาทางออก
หนทางของการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปรองดอง ภายใต้การนำของประธานรัฐสภา เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หลายฝ่ายไม่เชื่อมั่น ปฏิเสธการเข้าร่วม แต่ความพยายามของประธานรัฐสภายังเดินหน้าต่อภายใต้คำยืนยันว่าไม่ท้อ แนวทางหนึ่งของประธานรัฐสภาคือการเชิญอดีตนายกรัฐมนตรีมากถึง 5 คน เข้ามาร่วมให้ความเห็นหาทางออกการเมือง ท่ามกลางความขัดแย้งที่อาจจะยังมองไม่เห็นทางออก
ทิศทางผู้ชุมนุมรวมตัว 8 พ.ย.จับตาศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา พล.อ.ประยุทธ์
ในขณะที่ความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมก็ยังนัดรวมตัวกันอีกครั้งวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ แต่การรวมตัวครั้งนี้ไม่เพียงแค่มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นทิศทางการเคลื่อนไหวในระยะหลัง เมื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองไม่ได้ผล สถานการณ์ที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะพัฒนาการถึงจุดไหน แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีคดีในศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องจับตามองว่าจะเปลี่ยนทิศทางของสถานการณ์หรือไม่
Thai PBS World : คุยกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มองเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ
ทั่วโลกกำลังลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คะแนนของผู้สมัครทั้ง โดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน สูสีกันมาก กำลังสะท้อนอะไรในสังคมอเมริกัน มาร่วมพูดคุยกับคุณกันตธีร์ ศุภมงคล อดีตรัฐมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งทำงานอยู่ในสหรัฐฯ และช่วงนี้เป็นช่วงที่กลับมาเมืองไทย
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
โจทย์ เศรษฐกิจ-โควิด-19 ท้าทายประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ
ยิ่งนับคะแนนไปเรื่อย ๆ โอกาสที่โจ ไบเดน จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ก็ยิ่งมีมากขึ้น หลายรัฐที่เป็นของพรรครีพับลิกันเมื่อ 4 ปีที่แล้ว กลับมาเป็นของเดโมแครตได้ แม้โดนัลด์ ทรัมป์พยายามจะต่อสู้ว่าการนับคะแนนไม่ถูกต้อง แต่ถึงที่สุดแล้ว ไม่ว่า ไบเดน หรือ ทรัมป์ จะเป็นผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ต่างก็มีโจทย์ที่ท้าทายรออยู่ข้างหน้าไม่ต่างกัน และดูเหมือนจะไม่ง่ายกับการรับมือ
บทบาท ศาลสูงสหรัฐฯ ชี้ขาดเลือกตั้ง ความหวังสุดท้ายของ “ทรัมป์”
โอกาสสุดท้ายที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะพยายามต่อลมหายใจตัวเองในการเป็นผู้นำสหรัฐฯ คงจะต้องพึ่งศาลสูงให้ชี้ขาดการนับคะแนนที่เขามองว่าถูกโกง แม้จะยังไม่หลักฐานอะไร ขณะนี้มีคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งแล้วมากกว่า 300 คดีใน 44 รัฐ แม้ศาลสูงเคยตัดสินชี้ขาดการเลือกตั้ง ระหว่างบุช กับอัล กอร์มาแล้ว แต่ครั้งนี้ ทรัมป์จะพึ่งศาลสูงสั่งนับคะแนนใหม่ได้จริงหรือไม่ ในเมื่อขั้นตอนแรกจะต้องผ่านของรัฐนั้นก่อน และศาลสูงก็อาจจะไม่เข้าไปแทรกแซง
นักวิเคราะห์มองนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ถ้า “ไบเดน” เป็นประธานาธิบดี
ถ้าสุดท้ายแล้ว โจ ไบเดน ขึ้นเป็นประธานาธิบดี น่าคิดว่าจะเปลี่ยนโฉมนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ มากน้อยแค่ไหน หลังจาก 4 ปีที่ผ่าน โดนัลด์ ทรัมป์ แทบจะสร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้นโยบายการต่างประเทศของทั้ง 2 คนจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของชาวอเมริกันน้อยมาก แต่มันสะเทือนต่อโลก แนวโน้มที่นักวิเคราะห์มองคือการใช้นโยบายคล้ายกับสมัยประธานาธิบดีโอบามา
ฟังเสียงสะท้อนชาวอเมริกันเดโมแครตและรีพับลิกันในไทย ลุ้นผลเลือกตั้งผู้นำ
ระหว่างรอผลการเลือกตั้งที่ชาวอเมริกันลุ้นกันทั้งประเทศ ชาวอเมริกันทั่วโลกเองก็คงลุ้นไม่ต่างกัน ในประเทศไทยก็มีกลุ่มสนับสนุนทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน แม้พวกเขามารวมตัวกันลุ้นผลเลือกตั้งผู้นำของตัวเอง แต่ถ้าผลออกมาอย่างไรก็พร้อมยอมรับ และมีความคาดหวังฝากถึงประธานาธิบดีคนใหม่
เส้นทางคณะกรรมการสมานฉันท์ไม่ง่าย ชวน ดึงอดีตนายกฯ ร่วมหาทางออก
หนทางของการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปรองดอง ภายใต้การนำของประธานรัฐสภา เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หลายฝ่ายไม่เชื่อมั่น ปฏิเสธการเข้าร่วม แต่ความพยายามของประธานรัฐสภายังเดินหน้าต่อภายใต้คำยืนยันว่าไม่ท้อ แนวทางหนึ่งของประธานรัฐสภาคือการเชิญอดีตนายกรัฐมนตรีมากถึง 5 คน เข้ามาร่วมให้ความเห็นหาทางออกการเมือง ท่ามกลางความขัดแย้งที่อาจจะยังมองไม่เห็นทางออก
ทิศทางผู้ชุมนุมรวมตัว 8 พ.ย.จับตาศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา พล.อ.ประยุทธ์
ในขณะที่ความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมก็ยังนัดรวมตัวกันอีกครั้งวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ แต่การรวมตัวครั้งนี้ไม่เพียงแค่มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นทิศทางการเคลื่อนไหวในระยะหลัง เมื่อข้อเรียกร้องทางการเมืองไม่ได้ผล สถานการณ์ที่ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะพัฒนาการถึงจุดไหน แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีคดีในศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องจับตามองว่าจะเปลี่ยนทิศทางของสถานการณ์หรือไม่
Thai PBS World : คุยกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มองเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ
ทั่วโลกกำลังลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คะแนนของผู้สมัครทั้ง โดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน สูสีกันมาก กำลังสะท้อนอะไรในสังคมอเมริกัน มาร่วมพูดคุยกับคุณกันตธีร์ ศุภมงคล อดีตรัฐมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งทำงานอยู่ในสหรัฐฯ และช่วงนี้เป็นช่วงที่กลับมาเมืองไทย
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2563 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live