เวลานี้เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย อยู่ในช่วงของการฟื้นฟูเยียวยา และยังต้องเฝ้าระวัง นี่เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบหลายสิบปีของคนเชียงราย แม้วันนี้น้ำไปแล้ว แต่ยังมีสงครามที่คนในพื้นที่ต้องต่อสู้ ทั้งเรื่องสภาวะจิตใจหลังเหตุการณ์ และการฟื้นฟูบ้านเรือน ให้กลับไปอยู่อาศัยได้โดยเร็ว ภัยพิบัติครั้งนี้รุนแรงและเป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องชวนกันมองและออกแบบใหม่ ทั้งในเรื่องแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติที่ต้องมองกันทั้งประเทศ และทุกพื้นที่ควรต้องมีชุดฉุกเฉินและระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันต่อสถานการณ์
ส่วนหนึ่งของการรับมือในสถานการณ์ภัยพิบัติ คือ การสื่อสารสาธารณะจากหน่วยงานและภาคประชาชน ทั้งเพื่อแจ้งเตือนเตรียมการและประสานความช่วยเหลือ นอกจากการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่แล้ว ทาง platform C-site เปิดระบบที่มีชื่อว่า น้ำท่วมภาคเหนือ ภาคอีสาน Matching พื้นที่เฝ้าระวัง แจ้งจุดที่ต้องการความช่วยเหลือ SOS จุดส่งต่อความช่วยเหลือให้หน่วยงานในพื้นที่ และ ผู้ที่ต้องการประสงค์ช่วยเหลือฟื้นฟู
ชวนติดตามเรื่องราว อาสาที่นับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ กว่า 10 วันแล้ว ที่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย หลายเครือข่ายหลั่งไหลเข้าช่วยเหลือมากมาย อีกหนึ่งบทบาทสำคัญ คือ เครือข่ายอาสาสมัครทั้งในและนอกพื้นที่ ทั้งอาสาล้างบ้าน อาสาครัวกลาง หรือแม้กระทั่งพื้นที่กลางแมชชิ่งสิ่งของจำเป็น เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชน ติดตามเรื่องนี้จากทีมสื่อพลเมือง
พร้อมชวนวิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและแผนเผชิญเหตุ มองปัญหาน้ำท่วมในภาคเหนือและพื้นที่อื่น ๆ ให้ไปไกลกว่าแค่ท่วมซ้ำซาก ครั้งนี้เป็นการท่วมไหลหลากข้ามประเทศ ในวันที่แจ้งเตือนล่วงหน้าไม่ทันการณ์ หน่วยงานไม่ได้บูรณาการกันอย่างแท้จริง ทำอย่างไรให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เห็นการเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งมีแผนเผชิญเหตุ ภัยพิบัติ ที่ต้องเคลื่อนทั้งประเทศ ทุกพื้นที่ต้องมีชุดฉุกเฉิน และระบบการเตือน ชวนคุยกันต่อ กับ คุณสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตและ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังอุทกภัยฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Liveเวลานี้เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย อยู่ในช่วงของการฟื้นฟูเยียวยา และยังต้องเฝ้าระวัง นี่เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบหลายสิบปีของคนเชียงราย แม้วันนี้น้ำไปแล้ว แต่ยังมีสงครามที่คนในพื้นที่ต้องต่อสู้ ทั้งเรื่องสภาวะจิตใจหลังเหตุการณ์ และการฟื้นฟูบ้านเรือน ให้กลับไปอยู่อาศัยได้โดยเร็ว ภัยพิบัติครั้งนี้รุนแรงและเป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องชวนกันมองและออกแบบใหม่ ทั้งในเรื่องแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติที่ต้องมองกันทั้งประเทศ และทุกพื้นที่ควรต้องมีชุดฉุกเฉินและระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ทันต่อสถานการณ์
ส่วนหนึ่งของการรับมือในสถานการณ์ภัยพิบัติ คือ การสื่อสารสาธารณะจากหน่วยงานและภาคประชาชน ทั้งเพื่อแจ้งเตือนเตรียมการและประสานความช่วยเหลือ นอกจากการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่แล้ว ทาง platform C-site เปิดระบบที่มีชื่อว่า น้ำท่วมภาคเหนือ ภาคอีสาน Matching พื้นที่เฝ้าระวัง แจ้งจุดที่ต้องการความช่วยเหลือ SOS จุดส่งต่อความช่วยเหลือให้หน่วยงานในพื้นที่ และ ผู้ที่ต้องการประสงค์ช่วยเหลือฟื้นฟู
ชวนติดตามเรื่องราว อาสาที่นับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ กว่า 10 วันแล้ว ที่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย หลายเครือข่ายหลั่งไหลเข้าช่วยเหลือมากมาย อีกหนึ่งบทบาทสำคัญ คือ เครือข่ายอาสาสมัครทั้งในและนอกพื้นที่ ทั้งอาสาล้างบ้าน อาสาครัวกลาง หรือแม้กระทั่งพื้นที่กลางแมชชิ่งสิ่งของจำเป็น เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูชุมชน ติดตามเรื่องนี้จากทีมสื่อพลเมือง
พร้อมชวนวิเคราะห์การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและแผนเผชิญเหตุ มองปัญหาน้ำท่วมในภาคเหนือและพื้นที่อื่น ๆ ให้ไปไกลกว่าแค่ท่วมซ้ำซาก ครั้งนี้เป็นการท่วมไหลหลากข้ามประเทศ ในวันที่แจ้งเตือนล่วงหน้าไม่ทันการณ์ หน่วยงานไม่ได้บูรณาการกันอย่างแท้จริง ทำอย่างไรให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เห็นการเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งมีแผนเผชิญเหตุ ภัยพิบัติ ที่ต้องเคลื่อนทั้งประเทศ ทุกพื้นที่ต้องมีชุดฉุกเฉิน และระบบการเตือน ชวนคุยกันต่อ กับ คุณสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตและ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า หัวหน้าศูนย์เฝ้าระวังอุทกภัยฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live