หาดสีดำเต็มไปด้วยคราบน้ำมันค่อย ๆ ถูกกำจัดไปจากชายหาดระยอง แต่การเฝ้าระวังของทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นยังคงมีอยู่ ท่ามกลางความกังวลถึงผลกระทบทั้งต่อปากท้อง อาชีพ และทรัพยากรทางทะเล และตัวเลขของน้ำมันที่รั่วลงสู่ทะเลซึ่งยังคงเป็นปริศนา
ตั้งแต่เกิดเหตุน้ำมันดิบที่จุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา และมีความพยายามใช้สารเคมีกว่า 80,000 ลิตร ในการควบคุมคราบน้ำมันให้จมลงในทะเล ชาวบ้านยังคงมีคำถามต่อการจัดการของหน่วยงานรัฐ
จาก 2565 ย้ำบทเรียนเหตุการณ์น้ำมันรั่วปี 2556 9 ปีที่ผ่านมา กว่าระบบนิเวศทางทะเลจะค่อย ๆ ฟื้นฟูไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นความรับผิดชอบต่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอกชนจึงต้องถูกจับตา และเเผนฟื้นฟูทะเลอ่าวระยองจึงถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง นอกจากค่าชดเชยรายคนแล้วการป้องกันเหตุเกิดซ้ำควรเป็นอย่างไร เมื่ออุตสาหกรรมปริโตรเคมี ประมง การท่องเที่ยว และชีวิตผู้คนต้องอยู่ร่วมกัน สำหรับอนาคต "เมืองอุตสาหกรรมระยอง"
ชวนพูดคุย "ถอดรหัสน้ำมันรั่ว สู่แผนฟื้นฟูอ่าวระยอง" กับตัวแทนประมงพื้นบ้านที่ต่อสู้คดีเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแผนฟื้นฟูของเขา และ ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หาดสีดำเต็มไปด้วยคราบน้ำมันค่อย ๆ ถูกกำจัดไปจากชายหาดระยอง แต่การเฝ้าระวังของทั้งเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นยังคงมีอยู่ ท่ามกลางความกังวลถึงผลกระทบทั้งต่อปากท้อง อาชีพ และทรัพยากรทางทะเล และตัวเลขของน้ำมันที่รั่วลงสู่ทะเลซึ่งยังคงเป็นปริศนา
ตั้งแต่เกิดเหตุน้ำมันดิบที่จุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา และมีความพยายามใช้สารเคมีกว่า 80,000 ลิตร ในการควบคุมคราบน้ำมันให้จมลงในทะเล ชาวบ้านยังคงมีคำถามต่อการจัดการของหน่วยงานรัฐ
จาก 2565 ย้ำบทเรียนเหตุการณ์น้ำมันรั่วปี 2556 9 ปีที่ผ่านมา กว่าระบบนิเวศทางทะเลจะค่อย ๆ ฟื้นฟูไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นความรับผิดชอบต่อความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอกชนจึงต้องถูกจับตา และเเผนฟื้นฟูทะเลอ่าวระยองจึงถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง นอกจากค่าชดเชยรายคนแล้วการป้องกันเหตุเกิดซ้ำควรเป็นอย่างไร เมื่ออุตสาหกรรมปริโตรเคมี ประมง การท่องเที่ยว และชีวิตผู้คนต้องอยู่ร่วมกัน สำหรับอนาคต "เมืองอุตสาหกรรมระยอง"
ชวนพูดคุย "ถอดรหัสน้ำมันรั่ว สู่แผนฟื้นฟูอ่าวระยอง" กับตัวแทนประมงพื้นบ้านที่ต่อสู้คดีเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแผนฟื้นฟูของเขา และ ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live