ในช่วงสัปดาห์ วันแรงงานสากล ชวนมาร่วมมองเมืองใหญ่ผ่านแรงงานที่ดิ้นรนอยู่รอดในเมือง ท่ามกลางการเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ที่ดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศ ให้เข้ามาเป็นแรงงานร่วมขับเคลื่อนเมือง แต่กลับไม่มีสิทธิร่วมกำหนดอนาคตตัวเอง ซ้ำต้องเจอภาวะของแพง ค่าแรงต่ำ และวิกฤติโควิด-19 ในหลายระลอก เพราะเราทุกคนคือแรงงานที่ขับเคลื่อนเมืองให้พัฒนา แต่ค่าครองชีพสูง ต้นทุนการกินอยู่ การเดินทางก็มีผลต่อการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดในเมืองของเราเช่นกัน
ขณะที่ จ.เชียงใหม่ เมืองใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 เมืองที่มีแรงงานข้ามชาติ (ที่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมาย) มากที่สุดของไทย และยังมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก นอกจากการสื่อสารข้อเสนอต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมในวันแรงงาน ภาพสะท้อนที่เห็น คือ ปรากฏการณ์ชีวิตที่ยากลำบากของคนงานในช่วงโควิด-19 และการต่ออายุบัตรแรงงานข้ามชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาเรื้อรังของแรงงานเพื่อนบ้านที่รอการแก้ไข
สำหรับการเตรียมความพร้อมเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) จากจำนวนประชากรผู้อาศัยในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 5,519,907 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.65) มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค.65) แต่นี่ไม่ได้นับรวมประชากรแรงงานทั้งแรงงานข้ามชาติ (ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน) และพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำงาน
ชวนพูดคุยกันกับ 2 คนทำงานด้านแรงงาน ถึงภาพฝันเมืองเป็นธรรมที่เราทุกคนเท่าเทียม อยู่รอดไปด้วยกันว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร กับ วาสนา ลำดี เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ ศิววงศ์ สุขทวี เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในช่วงสัปดาห์ วันแรงงานสากล ชวนมาร่วมมองเมืองใหญ่ผ่านแรงงานที่ดิ้นรนอยู่รอดในเมือง ท่ามกลางการเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ที่ดึงดูดผู้คนทั้งในและนอกประเทศ ให้เข้ามาเป็นแรงงานร่วมขับเคลื่อนเมือง แต่กลับไม่มีสิทธิร่วมกำหนดอนาคตตัวเอง ซ้ำต้องเจอภาวะของแพง ค่าแรงต่ำ และวิกฤติโควิด-19 ในหลายระลอก เพราะเราทุกคนคือแรงงานที่ขับเคลื่อนเมืองให้พัฒนา แต่ค่าครองชีพสูง ต้นทุนการกินอยู่ การเดินทางก็มีผลต่อการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดในเมืองของเราเช่นกัน
ขณะที่ จ.เชียงใหม่ เมืองใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 เมืองที่มีแรงงานข้ามชาติ (ที่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมาย) มากที่สุดของไทย และยังมีความต้องการแรงงานจำนวนมาก นอกจากการสื่อสารข้อเสนอต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมในวันแรงงาน ภาพสะท้อนที่เห็น คือ ปรากฏการณ์ชีวิตที่ยากลำบากของคนงานในช่วงโควิด-19 และการต่ออายุบัตรแรงงานข้ามชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาเรื้อรังของแรงงานเพื่อนบ้านที่รอการแก้ไข
สำหรับการเตรียมความพร้อมเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) จากจำนวนประชากรผู้อาศัยในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 5,519,907 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค.65) มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค.65) แต่นี่ไม่ได้นับรวมประชากรแรงงานทั้งแรงงานข้ามชาติ (ไม่ต่ำกว่า 5 แสนคน) และพี่น้องจากต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำงาน
ชวนพูดคุยกันกับ 2 คนทำงานด้านแรงงาน ถึงภาพฝันเมืองเป็นธรรมที่เราทุกคนเท่าเทียม อยู่รอดไปด้วยกันว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร กับ วาสนา ลำดี เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และ ศิววงศ์ สุขทวี เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live