ผ่านเทศกาลสงกรานต์ชื่นชุ่มฉ่ำใจไปแล้ว แต่ฤดูฝุ่นยังไม่จบ โจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งของภาคเหนือ คือ เรื่องของ "ฝุ่นควันข้ามพรมแดน" ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมเเละควบคุมมลพิษที่ 1 พื้นที่จังหวัดในภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เผชิญกับจำนวนวันที่อยู่กับค่าคุณภาพอากาศที่เกินมาตรฐานมากกว่า 70 กว่าวัน ซึ่งจุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงปัจจุบัน ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านพีกสูงทะลุเพดาน ทำให้เห็นว่าคนภาคเหนือต้องเผชิญหน้ากับฝุ่นควันที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งกระทบต่อการดำรงค์ชีวิตและสุขภาพของคนในพื้นที่ ที่แม้จะมีการส่งเสียง และมีแผนวาระแห่งชาติแต่ยังไร้มาตรการรูปธรรม
แน่นอนว่าภาคประชาชนเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ชวนดูความเคลื่อนไหวที่มีการปักหมุดรายงานผ่านแอปฯ C-site ปักหมุดสื่อสารจาก จังหวัดเชียงราย กลุ่ม "ประชาชนชาวเชียงราย" เคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม "ลูกหลานเชียงราย ไม่ยอมตายผ่อนส่ง"
รวมถึงเชียงใหม่ (ก็) ไม่ทน เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ และประชาชน ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ รวมถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เหตุผลในการฟ้อง คือ นายกฯ และหน่วยงานเหล่านี้ ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย กลไกทางสิทธิมนุษยชน นโยบาย และแผนที่มีอยู่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤตฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และชวนคุยภายใต้โจทย์ ถามหานโยบาย ฝุ่น PM 2.5 : ฝุ่นพิษ ข้ามพรมแดน ปัญหานี้เป็นวังวนของทุกปี และจังหวะนี้ในช่วงเวลาใกล้จะเลือกตั้ง แน่นอนว่าหลายพรรคการเมืองปล่อยนโยบายเพื่อจะเเก้ปัญหามาให้ประชาชนได้เลือกตัดสินใจ ชวนคุยเพิ่มเติมกับ คุณอาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จ.เชียงใหม่ และนายกเอ คุณชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย จ.เชียงราย ว่าเรื่องนี้ต้องแก้อย่างไร จะเริ่มอย่างไร มาตรการในระดับพื้นที่สามารถทำอะไรได้บ้าง ใครจะต้องทำอะไรบ้าง?
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ผ่านเทศกาลสงกรานต์ชื่นชุ่มฉ่ำใจไปแล้ว แต่ฤดูฝุ่นยังไม่จบ โจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งของภาคเหนือ คือ เรื่องของ "ฝุ่นควันข้ามพรมแดน" ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมเเละควบคุมมลพิษที่ 1 พื้นที่จังหวัดในภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เผชิญกับจำนวนวันที่อยู่กับค่าคุณภาพอากาศที่เกินมาตรฐานมากกว่า 70 กว่าวัน ซึ่งจุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงปัจจุบัน ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านพีกสูงทะลุเพดาน ทำให้เห็นว่าคนภาคเหนือต้องเผชิญหน้ากับฝุ่นควันที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งกระทบต่อการดำรงค์ชีวิตและสุขภาพของคนในพื้นที่ ที่แม้จะมีการส่งเสียง และมีแผนวาระแห่งชาติแต่ยังไร้มาตรการรูปธรรม
แน่นอนว่าภาคประชาชนเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ชวนดูความเคลื่อนไหวที่มีการปักหมุดรายงานผ่านแอปฯ C-site ปักหมุดสื่อสารจาก จังหวัดเชียงราย กลุ่ม "ประชาชนชาวเชียงราย" เคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม "ลูกหลานเชียงราย ไม่ยอมตายผ่อนส่ง"
รวมถึงเชียงใหม่ (ก็) ไม่ทน เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ และประชาชน ร่วมกันยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ รวมถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เหตุผลในการฟ้อง คือ นายกฯ และหน่วยงานเหล่านี้ ไม่ได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย กลไกทางสิทธิมนุษยชน นโยบาย และแผนที่มีอยู่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤตฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และชวนคุยภายใต้โจทย์ ถามหานโยบาย ฝุ่น PM 2.5 : ฝุ่นพิษ ข้ามพรมแดน ปัญหานี้เป็นวังวนของทุกปี และจังหวะนี้ในช่วงเวลาใกล้จะเลือกตั้ง แน่นอนว่าหลายพรรคการเมืองปล่อยนโยบายเพื่อจะเเก้ปัญหามาให้ประชาชนได้เลือกตัดสินใจ ชวนคุยเพิ่มเติมกับ คุณอาคม สุวรรณกันธา ประธานสมาพันธ์ SME ไทย จ.เชียงใหม่ และนายกเอ คุณชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย จ.เชียงราย ว่าเรื่องนี้ต้องแก้อย่างไร จะเริ่มอย่างไร มาตรการในระดับพื้นที่สามารถทำอะไรได้บ้าง ใครจะต้องทำอะไรบ้าง?
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live