ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว เป็นหนึ่งข้อท้าทายในหลายด้านว่าเราจะเตรียมความพร้อมในมิติต่าง ๆ เพื่อรับมืออย่างไร โดยเฉพาะในมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจ จากทุนชุมชนและภูมิปัญญาเพื่อให้ลูกหลานมีงานทำและสามารถอยู่ร่วมพัฒนาชุมชน ชวนอัปเดตหมุดที่สื่อสารจากนักข่าวพลเมือง บน App C-site พิกัดแรก คุณพิษณุกรณ์ ดีแก้ว สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ปักหมุด การพบเจอสิ่งมีชีวิตตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ทางธรมชาติของลุ่มน้ำโขง พบปลาเสือปลาหายากในลุ่มน้ำโขง จ.เชียงราย ในรอบ 20 ปี ขณะเดียวอีกจุดหนึ่งของลุ่มน้ำโขง บริเวณป่าต้นน้ำอิงตอนปลาย ลำห้วยป่าแดง ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ห่างจากชุมชนประมาณ 800 เมตร ก็มีการการเจอเต่าปูลูที่บ้านงามเมือง เป็นการเจอตัวเต่าปูลูตัวที่ 2 ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
พิกัดที่ 2 คุณเพาซี ยะซิง สื่อพลเมือง ทีม MOJO ชายแดนใต้ เล่าถึงการรื้อฟื้นภูมิปัญญาชุมชนอย่างการทำหมึกตากแห้ง หรือ "ซูตง ฆีลิง" ของชุมชนชายฝั่งทะเลปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ที่มีขั้นตอนและวิธีการไม่เหมือนใคร และช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนหลากหลายวัย
พิกัด 3 เพราะการเล่นมีส่วนส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และเชื่อมต่อพื้นที่กลางการเรียนรู้ในการลดช่องว่างระหว่างวัย สานสายสัมพันธ์ทั้งเด็กและผู้สูงวัยในชุมชน ออกก้าวเดิน การสร้างพื้นที่เล่น จ.เชียงราย เชียงรายสนทนา ปักหมุดจาก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเป็นวันผู้สูงอายุสากล มีการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ "เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกมาจัดกิจกรรมคือ เบี้ยสูงวัยแบบไหนที่ดีต่อใจคุณที่สุด โดยให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมโดยมีสติกเกอร์ให้เลือกระหว่าง เบื้ยสูงวัยแบบถ้วนหน้า หรือ เบี้ยสูงวัยแบบประชาสงเคราะห์ พร้อมเสียงความต้องการของประชาชนวัยเกษียณแล้ว อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พูดถึงนโยบายที่ต้องมีระบบการดูแลสุขภาพก่อนวัย 60 ปี และที่สำคัญคือเรื่องรายได้ของผู้สูงอายุ
พาลงพื้นที่กับทีมสื่อพลเมือง กับภูมิปัญญากินได้ สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นแม่สรวย เล่าถึง สำรวจต้นทุนชุมชน ในการสร้างรายได้ และเชื่อมการท่องเที่ยวที่แม่สรวย คุยต่อแนวคิดการส่งเสริมและขยายโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุเป็นกระแสสากลทั่วโลกและเป็นที่พูดคุยหลายฝ่าย แต่ในระดับนโยบายจากรัฐบาล ยังคงจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือและความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะภาคธุรกิจภาคบริการในท้องถิ่น จะทำอย่างไรให้ต้นทุนในชุมชน ไปสู่การทำกิจการเพื่อสังคม ชวนคิดถึงกลไกไหนที่จะมาส่งเสริม เพื่อทั้งรองรับสังคมสูงวัยในระดับชุมชน และรองรับให้ลูกหลานสามารถมีงานทำในชุมชน วนกลับมาสร้างสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุและผู้คนในชุมชนได้ด้วย ชวนขยายกับ คุณหนุ่ม ศุภชัย ศรีธิ กลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำแม่สรวย และนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว เป็นหนึ่งข้อท้าทายในหลายด้านว่าเราจะเตรียมความพร้อมในมิติต่าง ๆ เพื่อรับมืออย่างไร โดยเฉพาะในมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจ จากทุนชุมชนและภูมิปัญญาเพื่อให้ลูกหลานมีงานทำและสามารถอยู่ร่วมพัฒนาชุมชน ชวนอัปเดตหมุดที่สื่อสารจากนักข่าวพลเมือง บน App C-site พิกัดแรก คุณพิษณุกรณ์ ดีแก้ว สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ปักหมุด การพบเจอสิ่งมีชีวิตตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ทางธรมชาติของลุ่มน้ำโขง พบปลาเสือปลาหายากในลุ่มน้ำโขง จ.เชียงราย ในรอบ 20 ปี ขณะเดียวอีกจุดหนึ่งของลุ่มน้ำโขง บริเวณป่าต้นน้ำอิงตอนปลาย ลำห้วยป่าแดง ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ห่างจากชุมชนประมาณ 800 เมตร ก็มีการการเจอเต่าปูลูที่บ้านงามเมือง เป็นการเจอตัวเต่าปูลูตัวที่ 2 ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา
พิกัดที่ 2 คุณเพาซี ยะซิง สื่อพลเมือง ทีม MOJO ชายแดนใต้ เล่าถึงการรื้อฟื้นภูมิปัญญาชุมชนอย่างการทำหมึกตากแห้ง หรือ "ซูตง ฆีลิง" ของชุมชนชายฝั่งทะเลปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ที่มีขั้นตอนและวิธีการไม่เหมือนใคร และช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนหลากหลายวัย
พิกัด 3 เพราะการเล่นมีส่วนส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และเชื่อมต่อพื้นที่กลางการเรียนรู้ในการลดช่องว่างระหว่างวัย สานสายสัมพันธ์ทั้งเด็กและผู้สูงวัยในชุมชน ออกก้าวเดิน การสร้างพื้นที่เล่น จ.เชียงราย เชียงรายสนทนา ปักหมุดจาก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาเป็นวันผู้สูงอายุสากล มีการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ "เมืองดีต่อใจ วัยเกษียณ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกมาจัดกิจกรรมคือ เบี้ยสูงวัยแบบไหนที่ดีต่อใจคุณที่สุด โดยให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมโดยมีสติกเกอร์ให้เลือกระหว่าง เบื้ยสูงวัยแบบถ้วนหน้า หรือ เบี้ยสูงวัยแบบประชาสงเคราะห์ พร้อมเสียงความต้องการของประชาชนวัยเกษียณแล้ว อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พูดถึงนโยบายที่ต้องมีระบบการดูแลสุขภาพก่อนวัย 60 ปี และที่สำคัญคือเรื่องรายได้ของผู้สูงอายุ
พาลงพื้นที่กับทีมสื่อพลเมือง กับภูมิปัญญากินได้ สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นแม่สรวย เล่าถึง สำรวจต้นทุนชุมชน ในการสร้างรายได้ และเชื่อมการท่องเที่ยวที่แม่สรวย คุยต่อแนวคิดการส่งเสริมและขยายโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุเป็นกระแสสากลทั่วโลกและเป็นที่พูดคุยหลายฝ่าย แต่ในระดับนโยบายจากรัฐบาล ยังคงจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือและความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยเฉพาะภาคธุรกิจภาคบริการในท้องถิ่น จะทำอย่างไรให้ต้นทุนในชุมชน ไปสู่การทำกิจการเพื่อสังคม ชวนคิดถึงกลไกไหนที่จะมาส่งเสริม เพื่อทั้งรองรับสังคมสูงวัยในระดับชุมชน และรองรับให้ลูกหลานสามารถมีงานทำในชุมชน วนกลับมาสร้างสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุและผู้คนในชุมชนได้ด้วย ชวนขยายกับ คุณหนุ่ม ศุภชัย ศรีธิ กลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำแม่สรวย และนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live