ชวนติดตามขยายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องสถานการณ์ลุ่มน้ำต่อเนื่อง กับ "แม่น้ำโขง" สายน้ำที่มีความสำคัญในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ "Mekong Subregion" 6 ประเทศ คือ จีนตอนใต้ เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งมีความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนระหว่างกันในหลายมิติ
พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ใกล้ตัวกับ C-site ที่นักข่าวพลเมืองจากทุกภูมิภาคร่วมรายงาน หมุดแรก คุณปานี วิไลจิด รายงานกิจกรรมความร่วมมือในการเปิดพื้นที่เรียนรู้ clean air without border ไทลาวร่วมแก้ปัญหาฝุ่นข้ามแดน ซึ่งจัดโดย UNDP และองค์กรภาคีเครือข่าย แลกเปลี่ยนปัญหามลพิษข้ามพรมแดน และแนวทางนวัตกรรมแก้ไขปัญหาระหว่างชาวไทยและชาวลาวที่เข้าร่วมกิจกรรม
พิกัดที่ 2 นักข่าวพลเมืองคุณกมลวัตร เก็บภาพ ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว สปป.ลาว ที่เปิดต้นปี 2567 ชวนดูรูปธรรมที่เป็นผลจากความเปลี่ยนของระบบนิเวศแม่น้ำโขง คือ "ต้นไคร้" พืชน้ำและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งได้รับความเสียหายและยืนต้นตายจากน้ำโขงที่ขึ้นลงผันผวนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการสร้างตลิ่งที่กระทบกับพื้นที่ริมฝั่ง เรื่องนี้ "สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต" เขาลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับนักวิจัยไทบ้าน
จากการรายงานโดยภาคประชาชนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ชวนย้อนทวนเหตุการณ์สำคัญการพัฒนาบนพื้นที่ริมฝั่งโขง ที่ จ.เชียงราย เพราะความเคลื่อนไหวในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องบนพรมแดนสายน้ำโขง เครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง เขาจัดงาน "แคมของหนองคาย" ซึ่งมีทั้งนิทรรศการภาพถ่ายวิถีชีวิตคนริมฝั่งโขง และวงเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และภาคเอกชน ถึงความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบหลังจากมีเขื่อนบนสายน้ำโขงต่อผู้คนและระบบนิเวศ
มากไปกว่าโจทย์ของแหล่งทรัพยากรสำคัญในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศ แม่น้ำโขงสายน้ำนานาชาติ ยังสะท้อนการมีส่วนร่วมปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน ชวนพูดคุยเรื่องนี้ถึงแนวทางดำเนินการของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ คุณศิริลดา ผิวหอม นักวิชาการสิทธิมนุษยชนชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชวนติดตามขยายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องสถานการณ์ลุ่มน้ำต่อเนื่อง กับ "แม่น้ำโขง" สายน้ำที่มีความสำคัญในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ "Mekong Subregion" 6 ประเทศ คือ จีนตอนใต้ เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งมีความเชื่อมโยงข้ามพรมแดนระหว่างกันในหลายมิติ
พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ใกล้ตัวกับ C-site ที่นักข่าวพลเมืองจากทุกภูมิภาคร่วมรายงาน หมุดแรก คุณปานี วิไลจิด รายงานกิจกรรมความร่วมมือในการเปิดพื้นที่เรียนรู้ clean air without border ไทลาวร่วมแก้ปัญหาฝุ่นข้ามแดน ซึ่งจัดโดย UNDP และองค์กรภาคีเครือข่าย แลกเปลี่ยนปัญหามลพิษข้ามพรมแดน และแนวทางนวัตกรรมแก้ไขปัญหาระหว่างชาวไทยและชาวลาวที่เข้าร่วมกิจกรรม
พิกัดที่ 2 นักข่าวพลเมืองคุณกมลวัตร เก็บภาพ ท่าอากาศยานนานาชาติบ่อแก้ว สปป.ลาว ที่เปิดต้นปี 2567 ชวนดูรูปธรรมที่เป็นผลจากความเปลี่ยนของระบบนิเวศแม่น้ำโขง คือ "ต้นไคร้" พืชน้ำและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งได้รับความเสียหายและยืนต้นตายจากน้ำโขงที่ขึ้นลงผันผวนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการสร้างตลิ่งที่กระทบกับพื้นที่ริมฝั่ง เรื่องนี้ "สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต" เขาลงพื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกับนักวิจัยไทบ้าน
จากการรายงานโดยภาคประชาชนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ชวนย้อนทวนเหตุการณ์สำคัญการพัฒนาบนพื้นที่ริมฝั่งโขง ที่ จ.เชียงราย เพราะความเคลื่อนไหวในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องบนพรมแดนสายน้ำโขง เครือข่ายคนฮักแม่น้ำโขง เขาจัดงาน "แคมของหนองคาย" ซึ่งมีทั้งนิทรรศการภาพถ่ายวิถีชีวิตคนริมฝั่งโขง และวงเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และภาคเอกชน ถึงความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบหลังจากมีเขื่อนบนสายน้ำโขงต่อผู้คนและระบบนิเวศ
มากไปกว่าโจทย์ของแหล่งทรัพยากรสำคัญในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศ แม่น้ำโขงสายน้ำนานาชาติ ยังสะท้อนการมีส่วนร่วมปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน ชวนพูดคุยเรื่องนี้ถึงแนวทางดำเนินการของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ คุณศิริลดา ผิวหอม นักวิชาการสิทธิมนุษยชนชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live