เหตุการณ์จริงของมนุษย์ Gen X ที่บอกเล่าผ่านตัวแสดงแทน เคยหรือไม่ แค่ตื่นมาตอนเช้าก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว ไม่อยากไปทำงาน หรือไปทำงานก็ทำแบบหมดใจ หมดไฟ หมดแรง ไม่อยากรับรู้ปัญหาอะไร ท้อแท้ใจเพราะทุ่มเทไปเต็มร้อย แต่ได้ผลตอบแทนกลับมาไม่ถึงสิบ หน้าที่การงานไม่เติบโตทั้งที่อายุมากขึ้น จึงเริ่มมองคุณค่าตัวเองลดลงและเริ่มหมดความหมายในการใช้ชีวิต ร่วมสำรวจใจคน Gen X ที่กำลังเผชิญกับภาวะ Burnout Syndrome โดย ศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและดูแลใจผู้สูงวัย อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมแนะวิธีชาร์จพลังกาย พลังใจและพลังความคิด เพื่อเติมไฟให้กับชีวิตอีกครั้ง
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนสูงของเราจะลดลงประมาณ 1 ถึง 2.5 เซนติเมตร ในทุก ๆ 10 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกและกระดูกพรุน การบริหารร่างกายสร้างความแข็งแรงเพิ่มมวลกระดูก เป็นวิธีการป้องกันและบำบัดที่สามารถฝึกได้ด้วยตนเอง เรียนรู้พร้อมกันกับ กภ.ปรัธยาน์ ภาคภากร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
การบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มี 3 วิธี คือ 1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2. การฟอกเลือดทางช่องท้อง 3.การผ่าตัดปลูกถ่ายไตโดยได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้ที่มีชีวิตอยู่ สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย วิธีการปลูกถ่ายไต ถือเป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช็กสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต กับ นพ.ปรัชญา พุมะอุทัยวิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาโรคไต รพ.จุฬาภรณ์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
เหตุการณ์จริงของมนุษย์ Gen X ที่บอกเล่าผ่านตัวแสดงแทน เคยหรือไม่ แค่ตื่นมาตอนเช้าก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว ไม่อยากไปทำงาน หรือไปทำงานก็ทำแบบหมดใจ หมดไฟ หมดแรง ไม่อยากรับรู้ปัญหาอะไร ท้อแท้ใจเพราะทุ่มเทไปเต็มร้อย แต่ได้ผลตอบแทนกลับมาไม่ถึงสิบ หน้าที่การงานไม่เติบโตทั้งที่อายุมากขึ้น จึงเริ่มมองคุณค่าตัวเองลดลงและเริ่มหมดความหมายในการใช้ชีวิต ร่วมสำรวจใจคน Gen X ที่กำลังเผชิญกับภาวะ Burnout Syndrome โดย ศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและดูแลใจผู้สูงวัย อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมแนะวิธีชาร์จพลังกาย พลังใจและพลังความคิด เพื่อเติมไฟให้กับชีวิตอีกครั้ง
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนสูงของเราจะลดลงประมาณ 1 ถึง 2.5 เซนติเมตร ในทุก ๆ 10 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกและกระดูกพรุน การบริหารร่างกายสร้างความแข็งแรงเพิ่มมวลกระดูก เป็นวิธีการป้องกันและบำบัดที่สามารถฝึกได้ด้วยตนเอง เรียนรู้พร้อมกันกับ กภ.ปรัธยาน์ ภาคภากร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
การบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มี 3 วิธี คือ 1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2. การฟอกเลือดทางช่องท้อง 3.การผ่าตัดปลูกถ่ายไตโดยได้รับบริจาคไตจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้ที่มีชีวิตอยู่ สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย วิธีการปลูกถ่ายไต ถือเป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช็กสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต กับ นพ.ปรัชญา พุมะอุทัยวิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาโรคไต รพ.จุฬาภรณ์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live