ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่มีอากาศอับชื้น ทำให้เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่มักพบในเด็กเล็กตั้งแต่วัยอนุบาล และเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สถานที่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ สถานเลี้ยงเด็กเล็ก รวมไปถึงโรงเรียนอนุบาล ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง หมั่นสังเกตอาการ หากลูกน้อยเริ่มมีอาการไข้ พบว่ามีตุ่มขึ้นตามลำตัว ทานข้าวหรือดื่มนมได้น้อยลง ควรรีบนำมาพบแพทย์ทันที
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เน้นการรักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ แต่วิธีที่สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ นั่นคือการฉีดวัคซีน ติดตามคำแนะนำจาก พญ.ณัฐนันท์ เรืองกิจไพศาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาภรณ์
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่มีอากาศอับชื้น ทำให้เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่มักพบในเด็กเล็กตั้งแต่วัยอนุบาล และเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สถานที่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่ สถานเลี้ยงเด็กเล็ก รวมไปถึงโรงเรียนอนุบาล ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง หมั่นสังเกตอาการ หากลูกน้อยเริ่มมีอาการไข้ พบว่ามีตุ่มขึ้นตามลำตัว ทานข้าวหรือดื่มนมได้น้อยลง ควรรีบนำมาพบแพทย์ทันที
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง เน้นการรักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ แต่วิธีที่สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ นั่นคือการฉีดวัคซีน ติดตามคำแนะนำจาก พญ.ณัฐนันท์ เรืองกิจไพศาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาภรณ์
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak