สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการรักษาไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด รวมไปถึงการฉายแสง กระบวนการเหล่านี้ส่งผลต่อร่างกายค่ะ ซึ่งวันนี้คนสู้โรคมีคำแนะนำในการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยในการซ่อมแซม ฟื้นฟูรวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมต่อการรักษา และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปติดตามจาก ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์
ผักผลไม้ที่มีใยอาหารสูง มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งได้ดีเพราะ ใยอาหารทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ จะช่วยปัดกวาดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและสารก่อมะเร็งออกจากลำไส้ ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น เช่น ดอกกุยช่าย ที่มีใยอาหารไม่ละลายน้ำสูง เปรียบเสมือนไม้กวาดทำความสะอาดลำไส้ ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานใยอาหารวันละ 25-30 กรัม หรือประมาณ 400 กรัม (5 กำมือ) ของผัก ผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สับปะรด แตงโม เป็นต้น
พืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ คะน้า อาพาร์คเทล เป็นต้น มีสารอินโดทรีคาร์บินอล และซัลโฟราเฟน ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในระยะที่ 2 ของการกำจัดสารก่อมะเร็ง ทำให้ตับทำงานดีขึ้นในการขับถ่ายสารพิษ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อาจมีมากเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด
พืชผักสีเหลือง ส้ม เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง มันม่วง มันเทศ เป็นแหล่งของ สารแคโรทีนอยด์ที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ natural killer cell ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งและเชื้อโรค การรับประทานพร้อมกับมื้ออาหารจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี
ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เทมเป้ มีสารไอโซฟลาโวนที่มีฤทธิ์เป็นไฟโตเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
การรับประทานอาหารจากกลุ่มพืช ผัก ผลไม้ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใยอาหารสูง กลุ่มพืชตระกูลกะหล่ำ กลุ่มแคโรทีนอยด์ และกลุ่มถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยควรหมั่นรับประทานอาหารเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและพร้อมต่อการรักษา
ตอบ: ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับประทานถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและการลุกลามของโรคได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานถั่วเหลืองที่ปลอดจาก GMO จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ตอบ: สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้วันละ 400-500 กรัม หรือประมาณ 5 กำมือ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและใยอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูร่างกาย และช่วยต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรหมั่นเปลี่ยนหมุนเวียนชนิดของผักและผลไม้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย
ตอบ: ผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็ง ได้แก่ กลุ่มผักใยอาหารสูง เช่น ดอกกุยช่าย กลุ่มพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ กลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น แครอท มะละกอ และกลุ่มถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ข้อมูลโดย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนกระบวนการรักษาไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด รวมไปถึงการฉายแสง กระบวนการเหล่านี้ส่งผลต่อร่างกายค่ะ ซึ่งวันนี้คนสู้โรคมีคำแนะนำในการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยในการซ่อมแซม ฟื้นฟูรวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมต่อการรักษา และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปติดตามจาก ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์
ผักผลไม้ที่มีใยอาหารสูง มีประโยชน์ในการต้านมะเร็งได้ดีเพราะ ใยอาหารทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ จะช่วยปัดกวาดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและสารก่อมะเร็งออกจากลำไส้ ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น เช่น ดอกกุยช่าย ที่มีใยอาหารไม่ละลายน้ำสูง เปรียบเสมือนไม้กวาดทำความสะอาดลำไส้ ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานใยอาหารวันละ 25-30 กรัม หรือประมาณ 400 กรัม (5 กำมือ) ของผัก ผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สับปะรด แตงโม เป็นต้น
พืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ คะน้า อาพาร์คเทล เป็นต้น มีสารอินโดทรีคาร์บินอล และซัลโฟราเฟน ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในระยะที่ 2 ของการกำจัดสารก่อมะเร็ง ทำให้ตับทำงานดีขึ้นในการขับถ่ายสารพิษ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อาจมีมากเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด
พืชผักสีเหลือง ส้ม เช่น แครอท มะละกอ ฟักทอง มันม่วง มันเทศ เป็นแหล่งของ สารแคโรทีนอยด์ที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ natural killer cell ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งและเชื้อโรค การรับประทานพร้อมกับมื้ออาหารจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี
ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เทมเป้ มีสารไอโซฟลาโวนที่มีฤทธิ์เป็นไฟโตเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
การรับประทานอาหารจากกลุ่มพืช ผัก ผลไม้ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใยอาหารสูง กลุ่มพืชตระกูลกะหล่ำ กลุ่มแคโรทีนอยด์ และกลุ่มถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยควรหมั่นรับประทานอาหารเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและพร้อมต่อการรักษา
ตอบ: ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับประทานถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและการลุกลามของโรคได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานถั่วเหลืองที่ปลอดจาก GMO จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ตอบ: สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้วันละ 400-500 กรัม หรือประมาณ 5 กำมือ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและใยอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูร่างกาย และช่วยต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรหมั่นเปลี่ยนหมุนเวียนชนิดของผักและผลไม้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย
ตอบ: ผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็ง ได้แก่ กลุ่มผักใยอาหารสูง เช่น ดอกกุยช่าย กลุ่มพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ กลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น แครอท มะละกอ และกลุ่มถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
ข้อมูลโดย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ