น้ำตาลนอกจากจะทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs แล้วยังส่งผลทำให้ฟันผุได้อีกด้วยเเพราะเชื้อจุลินทรีย์จะย่อยน้ำตาลแล้วเกิดเป็นกรดกัดกร่อนฟัน น้ำตาลจะจับตัวเป็นคราบจุลินทรีย์เหนียว เกาะติดฟัน โดยเฉพาะบริเวณชั้นในสุดของคราบจะมีความเป็นกรดสูง น้ำลายจะไม่สามารถเข้าไปเจือจางความเป็นกรดได้ทำให้ผิวเคลือบฟันถูกทำลายอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่บริโภคน้ำตาลเกิน เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มมีปริมาณน้ำตาลสูง หากเราเริ่มจากการปรับอาหาร เช่น เลือกซื้อเครื่องดื่มไม่หวาน หวานน้อย การปรุงอาหารใส่น้ำตาลให้น้อยลงจะช่วยป้องกันฟันผุรวมถึงดีต่อสุขภาพ ติดตามความรู้จาก ศ. ดร. ทพญ.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ นักวิชาการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak
น้ำตาลนอกจากจะทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs แล้วยังส่งผลทำให้ฟันผุได้อีกด้วยเเพราะเชื้อจุลินทรีย์จะย่อยน้ำตาลแล้วเกิดเป็นกรดกัดกร่อนฟัน น้ำตาลจะจับตัวเป็นคราบจุลินทรีย์เหนียว เกาะติดฟัน โดยเฉพาะบริเวณชั้นในสุดของคราบจะมีความเป็นกรดสูง น้ำลายจะไม่สามารถเข้าไปเจือจางความเป็นกรดได้ทำให้ผิวเคลือบฟันถูกทำลายอย่างรวดเร็ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่บริโภคน้ำตาลเกิน เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มมีปริมาณน้ำตาลสูง หากเราเริ่มจากการปรับอาหาร เช่น เลือกซื้อเครื่องดื่มไม่หวาน หวานน้อย การปรุงอาหารใส่น้ำตาลให้น้อยลงจะช่วยป้องกันฟันผุรวมถึงดีต่อสุขภาพ ติดตามความรู้จาก ศ. ดร. ทพญ.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ นักวิชาการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน
ชมย้อนหลังรายการคนสู้โรคได้ที่ www.thaipbs.or.th/KonSuRoak