หลายปีที่ผ่านมา เราคงได้ยินข่าวคราวของเทคโนโลยีในระบบการเงินยุคใหม่ ที่มีแนวโน้มว่าสิ่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายๆ อย่างในชีวิตเรา นั่นคือเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า บล็อกเชน และได้เข้ามาพัฒนาระบบการเงินการธนาคาร และการสร้างค่าสกุลเงินขึ้นใหม่โดยระบบดิจิทัลที่กำลังเป็นที่นิยม อย่าง Cryptocurrency
หากแต่แนวคิดการตั้งค่าสกุลเงินขึ้นใช้เอง มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้อำนาจทางการเงินกระจายมาสู่ประชาชนในทุกระดับ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร ซึ่งจะทำให้การธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกรวดเร็ว มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
แต่ทว่า แนวคิดการกระจายอำนาจทางการเงินสู่ประชาชน เคยเกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ของประเทศไทย เมื่อเวลาราว 20 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในหมู่บ้าน ที่ ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร สร้างสกุลเงินที่เรียกกันว่า "เบี้ยกุดชุม" ขึ้นมาใช้จ่ายกันภายในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องพึ่งเงินบาทจากภาครัฐ เพื่อแก้ปัญเศรษฐกิจที่กำลังฝืดเคืองในขณะนั้น
น่าสนใจว่า การสร้างสกุลเงินขึ้นมาใช้ในช่วงที่เทคโนโลยีทางการเงิน ยังไม่พัฒนาอย่างในปัจจุบันนั้น เป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับการกำเนิดของ Cryptocurrency ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และอาจก้าวมาเป็นสกุลเงินหลักแบบหนึ่งในอนาคต จึงเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาว่า แนวคิดนี้ มีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใด และระบบของเทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน จะสามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาประชาธิไตยในอนาคตได้อย่างไร
ติดตามการเดินทางของเบนซ์ พงศธร ธิติศรันย์ เพื่อศึกษาแนวคิดของเบี้ยกุดชุมในอดีต และค่าเงิน Cryptocurrency ที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตในอนาคต ในรายการพื้นที่ชีวิต ตอน จาก เบี้ยกุดชุม สู่ Cryptocurrency วันอาทิตย์ที่ 31 กุมภาพันธ์ เวลา 21.10 – 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หลายปีที่ผ่านมา เราคงได้ยินข่าวคราวของเทคโนโลยีในระบบการเงินยุคใหม่ ที่มีแนวโน้มว่าสิ่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายๆ อย่างในชีวิตเรา นั่นคือเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า บล็อกเชน และได้เข้ามาพัฒนาระบบการเงินการธนาคาร และการสร้างค่าสกุลเงินขึ้นใหม่โดยระบบดิจิทัลที่กำลังเป็นที่นิยม อย่าง Cryptocurrency
หากแต่แนวคิดการตั้งค่าสกุลเงินขึ้นใช้เอง มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้อำนาจทางการเงินกระจายมาสู่ประชาชนในทุกระดับ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร ซึ่งจะทำให้การธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกรวดเร็ว มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
แต่ทว่า แนวคิดการกระจายอำนาจทางการเงินสู่ประชาชน เคยเกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ของประเทศไทย เมื่อเวลาราว 20 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในหมู่บ้าน ที่ ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร สร้างสกุลเงินที่เรียกกันว่า "เบี้ยกุดชุม" ขึ้นมาใช้จ่ายกันภายในหมู่บ้าน โดยไม่ต้องพึ่งเงินบาทจากภาครัฐ เพื่อแก้ปัญเศรษฐกิจที่กำลังฝืดเคืองในขณะนั้น
น่าสนใจว่า การสร้างสกุลเงินขึ้นมาใช้ในช่วงที่เทคโนโลยีทางการเงิน ยังไม่พัฒนาอย่างในปัจจุบันนั้น เป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับการกำเนิดของ Cryptocurrency ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และอาจก้าวมาเป็นสกุลเงินหลักแบบหนึ่งในอนาคต จึงเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาว่า แนวคิดนี้ มีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใด และระบบของเทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน จะสามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาประชาธิไตยในอนาคตได้อย่างไร
ติดตามการเดินทางของเบนซ์ พงศธร ธิติศรันย์ เพื่อศึกษาแนวคิดของเบี้ยกุดชุมในอดีต และค่าเงิน Cryptocurrency ที่จะมาเปลี่ยนแปลงชีวิตในอนาคต ในรายการพื้นที่ชีวิต ตอน จาก เบี้ยกุดชุม สู่ Cryptocurrency วันอาทิตย์ที่ 31 กุมภาพันธ์ เวลา 21.10 – 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live