*** รายการนี้ เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
นับแต่ดาวฤกษ์ดวงแรกฉายแสงขึ้นในเอกภพ พวกมันก็เป็นเครื่องจักรแห่งการสร้างสรรค์ ศาสตราจารย์ Brian Cox จะมาแสดงให้เห็นว่า ถึงที่สุดแล้ว ดาวฤกษ์นำชีวิตและความหมายมาสู่เอกภพนี้เพียงไร
ดวงอาทิตย์... แม้คุ้นตา ทว่าลึกลับ เป็นราชาของระบบสุริยะ มีทั้งมวลและพลังงานมหาศาล ถึงเราจะศึกษาดวงอาทิตย์มานาน มันก็ยังน่าพิศวงอยู่ดี ครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่ช่วยจะให้รู้จัก...ดาวฤกษ์ของเราดียิ่งขึ้น ดวงอาทิตย์ เกิดจากหมู่ดาวฤกษ์เก่าแก่ ที่ย้อนไปถึงยุคต้นกำเนิด จากดาวยักษ์ร้อนแรงสีน้ำเงิน ที่ส่องแสงแรกไปทั่วเอกภพ เปลี่ยนผ่านสู่รุ่นต่อ ๆ มา ซึ่งการแตกดับนั้นทำให้จักรวาลอุดมไปด้วยธาตุที่สำคัญต่อชีวิต หากเข้าใจกำเนิดของดวงอาทิตย์ จะช่วยให้เข้าใจการเกิดสิ่งมีชีวิตมากขึ้นมนุษยชาติเฝ้าศึกษาดวงอาทิตย์จากระยะไกลมานับพันปี แต่บัดนี้ เราจะไปสำรวจใกล้ ๆ เพื่อไขปริศนาของดวงอาทิตย์
PARKER เป็นสุดยอดภารกิจ ที่แทบจะเรียกได้ว่า เป็นโอกาสที่มนุษยชาติจะได้สัมผัสดวงอาทิตย์ ตลอดระยะเวลา 7 ปี ยาน PARKER SOLAR PROBE จะต้องฝ่าเข้าไปให้ถึงพื้นผิวดวงอาทิตย์หลายครั้ง เป้าหมายคือ เพื่อศึกษาว่าดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานได้อย่างไร โดยโคจรทั้งหมด 24 รอบ แต่ละรอบ จะบินเข้าใกล้มากขึ้น ๆ ใกล้เสียจน เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ฝ่าความร้อนแผดเผา อย่างที่ไม่มียานใดทานทนได้ ห่างจากดวงอาทิตย์ 6,100,000 กิโลเมตร อุณหภูมิยานสำรวจ 1,371 องศาเซลเซียส และเดินทางได้เร็วกว่าวัตถุอื่นใดที่มนุษย์เคยสร้าง ตลอดประวัติศาสตร์ อีกไม่กี่ปี ยานพาร์กเก้อร์โซล่าร์จะช่วยเปิดเผย ไม่เพียงแค่ความลับของดวงอาทิตย์ แต่ของดาวฤกษ์ทุกดวง รวมถึงดาวที่กุมความลับต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และโลกของเรา
เกือบหนึ่งร้อยล้านปีหลังการเกิดบิ๊กแบง เอกภพทั้งมืดมิดและหนาวเหน็บ เอกภพยุคแรก ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม และมีสสารอื่นเพียงเล็กน้อย ไม่มีธาตุอย่างที่มีทุกวันนี้ ไม่มีคาร์บอน ออกซิเจน เหล็ก ไม่มีเลย ถึงจะเรียกว่า “ยุคมืดของจักรวาล” แต่ที่จริงมันเป็นการสร้างเครือข่ายพื้นฐานเพื่อก่อตัวเป็น “ใยเอกภพ”
ใยเอกภพมีขนาดใหญ่โตเหลือประมาณ กลุ่มเมฆแก๊สมหึมา ถูกดึงดูดเข้าหากัน โดยแรงโน้มถ่วงของสสารลึกลับที่มองไม่เห็น เรียกว่า “สสารมืด” ทำให้เกิดโครงข่ายเส้นใยขนาดใหญ่ เส้นใยที่มีขนาดเท่าจักรวาลแก๊สในเส้นใยเหล่านี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจน และฮีเลียมส่วนที่เส้นใยพาดผ่านกัน คือตำแหน่งที่สักวันหนึ่งดาวฤกษ์รุ่นแรกจะอุบัติขึ้น ใยเอกภพสร้างเอกภพนี้มานาน 13,800 ล้านปีแล้ว และปัจจุบันก็ยังดำเนินอยู่
เมื่อเอกภพยุคแรกดำเนินไป ใยเอกภพก็เติบโตต่อเนื่อง แก๊สพุ่งไปตามโครงข่ายใยมหึมา มุ่งไปรวมกันที่บริเวณจุดตัด ซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาล จากแรงโน้มถ่วง ยิ่งแก๊สรวมตัวกันมาก พลังงานนี้ก็ยิ่งทรงอานุภาพ ก่อตัวเป็นเมฆโมเลกุล ขนาดใหญ่ยักษ์ หนาแน่นขึ้น ร้อนขึ้น เมื่อมีแก๊สเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน จนในที่สุด สภาวะนี้ทวีความรุนแรง และเกิดการปะทุขึ้นอย่างเฉียบพลัน
เกิดเป็น...ดาวฤกษ์ดวงแรกในเอกภพ ร้อนกว่าดวงอาทิตย์ถึง 17 เท่า นี่คือ...ดาวยักษ์สีน้ำเงิน ดาวเหล่านี้มีมวลมหาศาล คือมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 500-600 เท่า ดาวฤกษ์ในปัจจุบันร้อนราว 1 แสนองศาเซลเซียส แต่ดาวฤกษ์รุ่นแรกร้อนกว่าเกือบสองเท่า ด้วยความที่ร้อนจัดจึงทำให้เป็นสีน้ำเงิน
หลังจากนั้น ดาวฤกษ์ดวงอื่นก็พากันเกิด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือดาวฤกษ์รุ่นแรก ที่ส่องแสงไปทั่วเอกภพ แต่ไม่ใช่แค่ส่องสว่าง ดาวฤกษ์เหล่านี้ยังสร้างธาตุใหม่ ๆ อีกด้วย ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบให้เกิดดาวเคราะห์ และที่สำคัญคือ เป็นที่มาของ สิ่งมีชีวิต
PARKER SOLAR PROBE ติดตั้งชุดเครื่องมือชั้นยอดที่ทำงานประสานกัน เพื่อให้เห็นได้รอบทิศทาง ยานส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะมีอุปกรณ์ ที่ยื่นพ้นแผงกันความร้อนแล้วจับภาพดวงอาทิตย์จะ ๆ PARKER SOLAR PROBE ตรวจพบช่องโหว่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นโพรง ที่ปล่อยกระแสอนุภาคประจุไฟฟ้า ซึ่งมีความเร็วกว่า 1,600,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง เรียกว่า “ลมสุริยะ” เราจึงบอกได้ว่าพลังงานไหลเวียนอย่างไร ลมออกทางไหน และออกมากน้อยเพียงใด
ลมสุริยะพัดไกลหลายพันล้านกิโลเมตร แผ่รังสีรุนแรงพุ่งชนดาวเคราะห์ อนุภาคประจุไฟฟ้าในลมสุริยะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่โลก ได้รับการปกป้องจากสนามแม่เหล็กของโลก ที่คอยเบี่ยงกระแสอนุภาค เหมือนเรามีเกราะป้องกัน เกราะที่ว่าก็คือสนามแม่เหล็ก โลกมีระบบป้องกันที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตจากความหฤโหดของดวงอาทิตย์ แต่ดวงอาทิตย์ก็ยังมอบสิ่งจำเป็นให้แก่โลกของเราด้วย
ที่แก่นของดวงอาทิตย์จะมีการหลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งนั่นเป็นแหล่งพลังงานที่ปลดปล่อยมาให้โลก โฟตอนหรืออนุภาคแสงจะกระเด้งไปคนละทิศละทางจากจุดศูนย์กลาง ถูกเหวี่ยงจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง ถูกดูดกลืนแล้วผลักออก ดูดกลืนแล้วผลักออก มันใช้เวลาหลายล้านปีกว่าจะหลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ได้ เมื่อโฟตอนขึ้นมาถึงพื้นผิว ก็จะถูกปลดปล่อยในรูปของแสง ที่แผ่ไปทั่วระบบสุริยะ โดยไร้สิ่งกีดขวาง เดินทางผ่านดาวเคราะห์ด้วยความเร็วเกือบ 300,000 กิโลเมตร/วินาที
หากสะสมพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์ ผลิตขึ้นและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จากอารยธรรมทั้งหมด เป็นเวลา 50,000 ปี จะพอให้ดวงอาทิตย์ใช้ส่องแสงได้แค่ 1 วินาที - GIBOR BASRI ,มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8 นาที เปรียบเสมือนท่อลำเลียงพลังงาน ที่ส่งมาให้เราบนโลก ซึ่งถือว่า..แทบจะคงที่และต่อเนื่องมาเกือบ 5 พันล้านปีแล้ว และเมื่อมีองค์ประกอบด้านความเสถียรของแสง ความเสถียรของพลังงาน ตลอดหลายพันล้านปี ที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอันซับซ้อน สามารถก่อเกิดและเจริญเติบโตได้
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2568 เวลา 22.00 - 23.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
*** รายการนี้ เป็นรายการที่ติดลิขสิทธิ์ต่างประเทศ จึงไม่มีให้บริการชมย้อนหลังผ่านทางเว็บไซต์ รับชมได้เฉพาะหน้าจอไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
นับแต่ดาวฤกษ์ดวงแรกฉายแสงขึ้นในเอกภพ พวกมันก็เป็นเครื่องจักรแห่งการสร้างสรรค์ ศาสตราจารย์ Brian Cox จะมาแสดงให้เห็นว่า ถึงที่สุดแล้ว ดาวฤกษ์นำชีวิตและความหมายมาสู่เอกภพนี้เพียงไร
ดวงอาทิตย์... แม้คุ้นตา ทว่าลึกลับ เป็นราชาของระบบสุริยะ มีทั้งมวลและพลังงานมหาศาล ถึงเราจะศึกษาดวงอาทิตย์มานาน มันก็ยังน่าพิศวงอยู่ดี ครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่ช่วยจะให้รู้จัก...ดาวฤกษ์ของเราดียิ่งขึ้น ดวงอาทิตย์ เกิดจากหมู่ดาวฤกษ์เก่าแก่ ที่ย้อนไปถึงยุคต้นกำเนิด จากดาวยักษ์ร้อนแรงสีน้ำเงิน ที่ส่องแสงแรกไปทั่วเอกภพ เปลี่ยนผ่านสู่รุ่นต่อ ๆ มา ซึ่งการแตกดับนั้นทำให้จักรวาลอุดมไปด้วยธาตุที่สำคัญต่อชีวิต หากเข้าใจกำเนิดของดวงอาทิตย์ จะช่วยให้เข้าใจการเกิดสิ่งมีชีวิตมากขึ้นมนุษยชาติเฝ้าศึกษาดวงอาทิตย์จากระยะไกลมานับพันปี แต่บัดนี้ เราจะไปสำรวจใกล้ ๆ เพื่อไขปริศนาของดวงอาทิตย์
PARKER เป็นสุดยอดภารกิจ ที่แทบจะเรียกได้ว่า เป็นโอกาสที่มนุษยชาติจะได้สัมผัสดวงอาทิตย์ ตลอดระยะเวลา 7 ปี ยาน PARKER SOLAR PROBE จะต้องฝ่าเข้าไปให้ถึงพื้นผิวดวงอาทิตย์หลายครั้ง เป้าหมายคือ เพื่อศึกษาว่าดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานได้อย่างไร โดยโคจรทั้งหมด 24 รอบ แต่ละรอบ จะบินเข้าใกล้มากขึ้น ๆ ใกล้เสียจน เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ฝ่าความร้อนแผดเผา อย่างที่ไม่มียานใดทานทนได้ ห่างจากดวงอาทิตย์ 6,100,000 กิโลเมตร อุณหภูมิยานสำรวจ 1,371 องศาเซลเซียส และเดินทางได้เร็วกว่าวัตถุอื่นใดที่มนุษย์เคยสร้าง ตลอดประวัติศาสตร์ อีกไม่กี่ปี ยานพาร์กเก้อร์โซล่าร์จะช่วยเปิดเผย ไม่เพียงแค่ความลับของดวงอาทิตย์ แต่ของดาวฤกษ์ทุกดวง รวมถึงดาวที่กุมความลับต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และโลกของเรา
เกือบหนึ่งร้อยล้านปีหลังการเกิดบิ๊กแบง เอกภพทั้งมืดมิดและหนาวเหน็บ เอกภพยุคแรก ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม และมีสสารอื่นเพียงเล็กน้อย ไม่มีธาตุอย่างที่มีทุกวันนี้ ไม่มีคาร์บอน ออกซิเจน เหล็ก ไม่มีเลย ถึงจะเรียกว่า “ยุคมืดของจักรวาล” แต่ที่จริงมันเป็นการสร้างเครือข่ายพื้นฐานเพื่อก่อตัวเป็น “ใยเอกภพ”
ใยเอกภพมีขนาดใหญ่โตเหลือประมาณ กลุ่มเมฆแก๊สมหึมา ถูกดึงดูดเข้าหากัน โดยแรงโน้มถ่วงของสสารลึกลับที่มองไม่เห็น เรียกว่า “สสารมืด” ทำให้เกิดโครงข่ายเส้นใยขนาดใหญ่ เส้นใยที่มีขนาดเท่าจักรวาลแก๊สในเส้นใยเหล่านี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจน และฮีเลียมส่วนที่เส้นใยพาดผ่านกัน คือตำแหน่งที่สักวันหนึ่งดาวฤกษ์รุ่นแรกจะอุบัติขึ้น ใยเอกภพสร้างเอกภพนี้มานาน 13,800 ล้านปีแล้ว และปัจจุบันก็ยังดำเนินอยู่
เมื่อเอกภพยุคแรกดำเนินไป ใยเอกภพก็เติบโตต่อเนื่อง แก๊สพุ่งไปตามโครงข่ายใยมหึมา มุ่งไปรวมกันที่บริเวณจุดตัด ซึ่งมีแรงดึงดูดมหาศาล จากแรงโน้มถ่วง ยิ่งแก๊สรวมตัวกันมาก พลังงานนี้ก็ยิ่งทรงอานุภาพ ก่อตัวเป็นเมฆโมเลกุล ขนาดใหญ่ยักษ์ หนาแน่นขึ้น ร้อนขึ้น เมื่อมีแก๊สเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน จนในที่สุด สภาวะนี้ทวีความรุนแรง และเกิดการปะทุขึ้นอย่างเฉียบพลัน
เกิดเป็น...ดาวฤกษ์ดวงแรกในเอกภพ ร้อนกว่าดวงอาทิตย์ถึง 17 เท่า นี่คือ...ดาวยักษ์สีน้ำเงิน ดาวเหล่านี้มีมวลมหาศาล คือมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 500-600 เท่า ดาวฤกษ์ในปัจจุบันร้อนราว 1 แสนองศาเซลเซียส แต่ดาวฤกษ์รุ่นแรกร้อนกว่าเกือบสองเท่า ด้วยความที่ร้อนจัดจึงทำให้เป็นสีน้ำเงิน
หลังจากนั้น ดาวฤกษ์ดวงอื่นก็พากันเกิด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือดาวฤกษ์รุ่นแรก ที่ส่องแสงไปทั่วเอกภพ แต่ไม่ใช่แค่ส่องสว่าง ดาวฤกษ์เหล่านี้ยังสร้างธาตุใหม่ ๆ อีกด้วย ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบให้เกิดดาวเคราะห์ และที่สำคัญคือ เป็นที่มาของ สิ่งมีชีวิต
PARKER SOLAR PROBE ติดตั้งชุดเครื่องมือชั้นยอดที่ทำงานประสานกัน เพื่อให้เห็นได้รอบทิศทาง ยานส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะมีอุปกรณ์ ที่ยื่นพ้นแผงกันความร้อนแล้วจับภาพดวงอาทิตย์จะ ๆ PARKER SOLAR PROBE ตรวจพบช่องโหว่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นโพรง ที่ปล่อยกระแสอนุภาคประจุไฟฟ้า ซึ่งมีความเร็วกว่า 1,600,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง เรียกว่า “ลมสุริยะ” เราจึงบอกได้ว่าพลังงานไหลเวียนอย่างไร ลมออกทางไหน และออกมากน้อยเพียงใด
ลมสุริยะพัดไกลหลายพันล้านกิโลเมตร แผ่รังสีรุนแรงพุ่งชนดาวเคราะห์ อนุภาคประจุไฟฟ้าในลมสุริยะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่โลก ได้รับการปกป้องจากสนามแม่เหล็กของโลก ที่คอยเบี่ยงกระแสอนุภาค เหมือนเรามีเกราะป้องกัน เกราะที่ว่าก็คือสนามแม่เหล็ก โลกมีระบบป้องกันที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตจากความหฤโหดของดวงอาทิตย์ แต่ดวงอาทิตย์ก็ยังมอบสิ่งจำเป็นให้แก่โลกของเราด้วย
ที่แก่นของดวงอาทิตย์จะมีการหลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งนั่นเป็นแหล่งพลังงานที่ปลดปล่อยมาให้โลก โฟตอนหรืออนุภาคแสงจะกระเด้งไปคนละทิศละทางจากจุดศูนย์กลาง ถูกเหวี่ยงจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง ถูกดูดกลืนแล้วผลักออก ดูดกลืนแล้วผลักออก มันใช้เวลาหลายล้านปีกว่าจะหลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ได้ เมื่อโฟตอนขึ้นมาถึงพื้นผิว ก็จะถูกปลดปล่อยในรูปของแสง ที่แผ่ไปทั่วระบบสุริยะ โดยไร้สิ่งกีดขวาง เดินทางผ่านดาวเคราะห์ด้วยความเร็วเกือบ 300,000 กิโลเมตร/วินาที
หากสะสมพลังงานทั้งหมดที่มนุษย์ ผลิตขึ้นและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จากอารยธรรมทั้งหมด เป็นเวลา 50,000 ปี จะพอให้ดวงอาทิตย์ใช้ส่องแสงได้แค่ 1 วินาที - GIBOR BASRI ,มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8 นาที เปรียบเสมือนท่อลำเลียงพลังงาน ที่ส่งมาให้เราบนโลก ซึ่งถือว่า..แทบจะคงที่และต่อเนื่องมาเกือบ 5 พันล้านปีแล้ว และเมื่อมีองค์ประกอบด้านความเสถียรของแสง ความเสถียรของพลังงาน ตลอดหลายพันล้านปี ที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอันซับซ้อน สามารถก่อเกิดและเจริญเติบโตได้
ติดตามชมรายการโลกหลากมิติ วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2568 เวลา 22.00 - 23.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live